คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2495

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การรวมทุนกันประกอบกิจการมี และสวนยาง อีกนัยหนึ่ง ก็คือ การร่วมกันมีที่ดินสวนยางหรือทำเป็นสวนยาง เพื่อแสวงหาดอกผลธรรมดาจากสวนยางนั้น แม้จะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ (โดยมิได้จดทะเบียน) ก็ตาม ความสัมพันธ์เช่นนี้ จะต้องบังคับตามกฎหมายอันว่าด้วยกรรมสิทธิรวมในอสังหาริมททรัพย์นั้น จะบังคับตามกฎหมายเรื่องหุ้นส่วนแต่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะทรัพย์สินอันเป็นประธานที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมีอยู่ร่วมกัน คือที่ดินสวนยาง
และส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไป แก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้ว ภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานนะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการ อันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยได้ตกลงขายสิทธิและทรัพย์สินต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนโหฮอง และเฮียบฮองให้แก่โจทก์เป็นราคาเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท และได้รับเงินล่วงหน้าไปแล้ว ๕๐๐๐ บาท อีก ๕๐๐๐ บาทโจทก์สัญญาจะชำระให้เมื่อโอนที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสร็จแล้ว ภายหลังจำเลยปฏิเสธสัญญา จึงขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในหุ้นส่วนของจำเลยที่มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนโหฮองและเฮียบฮองตามสัญญา ให้จำเลยจัดการโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา และรับเงินอีก ๕๐๐๐ บาทไป ถ้าจัดการโอนไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหาย ๑๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ย
นายตันเซ่งเงี๊ยบในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยปฏิเสธสัญญาที่โจทก์อ้าง และกล่าวแก้ต่อไปว่าจำเลยได้ซื้อสิทธิในหุ้นส่วนของนายเอี๊ยวของกี่ แล้วขายให้นายตันเซ่งเงี๊ยบหมดทั้งสิทธิในหุ้นส่วนเดิมของจำเลย และที่ซื้อมาใหม่นั้น และมอบสิทธิโดยสิ้นเชิงให้แก่นายตันเซ๋งเงี๊ยบ แล้วนายตันเซ่งเงี๊ยบร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี เพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
คู่ความรับกันว่า นายเอี๊ยวซุยต้องจำเลยได้ทำสัญญาหับโจทก์ตามอ้างจริง แต่ภายหลังได้ทำสัญญากับนายตันเซ่งเงี๊ยบผู้ร้องสอดดังอ้างอีก จึงขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงว่าสัญญาแต่ละฉบับนี้มีผลใช้ได้เพียงไรหรือไม่
ปรากฏว่า นายเอี๋ยวเองกี่ ผู้ถือหุ้นส่วนคนหนึ่งได้วายชนม์ลงแล้ว หุ้นส่วนรายนี้จึงต้องเลิกตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้น พิจารณาแล้วพิพากษาว่า สิทธิของจำเลยในห้างหุ้นส่วน+++มาแต่แรก ในส่วนที่เกี่ยวด้วย
อสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์นอกตราจองเป็นของนายตั้นเซ่งเงี๊ยบผู้ร้องสอดโดยเด็ดขาด ส่วนสิทธิในชหส
ของจำเลยที่เกี่ยวด้วยที่ดินตราจอง โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้รับโอนสิทธิยิ่งกว่าผู้ร้อง แต่ไม่อาจบังคับให้ได้ เพราะทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนได้ขายทอดตลาดไปแล้ว โจทก์อาจได้รับช่วงสิทธิของจำเลยในเมื่อมีการแบ่งปันทรัพย์ส่วนข้อเรียกค่าเสียหาย โจทก์นำสืบไม่ได้ และจำเลยผิดนัด เรียกไม่ได้
โจทก์ และ ผู้ร้องสอดอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ และให้ยกอุทธรณ์ผู้ร้องสอด
โจทก์และผู้ร้องสอดฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฎว่า ที่เรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ(มิได้จดทะเบียน) นั้น ก็คือการรวมทุนกันประกอบกิจการมี และทำสวนยางอีกนัยหนึ่ง เพื่อแสวงหาดอกผลธรรมดาจากสวนยางนั้น ความสัมพันธ์เช่นนี้จึงต้องบังคับตามกฎหมายอันว่าด้วยกรรมสิทธิรวมในอสังหาริมทรัพย์นั้น จะบังคับตามกฎหมายเรื่องหุ้นส่วนแต่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะทรัพย์สินอันเป็นประธานที่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีอยู่รวมกันในกรณีนี้ ก็คือที่ดินสวนยาง และสิ่งปลูกสร้างรวมกัน ๖ แปลง แม้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๓๖๑ จำเลยย่อมจำหน่ายส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์ได้แต่การทำนิติกรรมจำหน่ายนั้น ก็ย่อมจะต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายอันว่าด้วยการนั้น เช่นเดียวกัน ส่วนของจำเลยในที่นี้ ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมกันในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกัน คดีนี้นิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยมิได้จดทะเบียนไว้แต่อย่างใด และปรากฎว่าต่อมาจำเลยได้ขายส่วนแห่งการเป็นเจ้าของรวมของจำเลยให้ผู้ร้องสอดอีก โดยได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไปแล้ว ซึ่งโจทก์ก็ไม่มีข้อกล่าวว่า ผู้ร้องสอดไม่สุจริต คดีของโจทก์จึงไม่มีทางชนะได้ ที่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเสียจึงชอบแล้ว
ส่วนข้อที่ผู้ร้องสอด ขอให้ศาลแสดงด้วยว่า ผู้ร้องสอดเป็นผู้มีสิทธิในส่วนของจำเลยในทรัพย์สินหุ้นส่วนรายนี้นั้น ปรากฎว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยนายตันเซ่งเงี๊ยบเป็นผู้รับมอบอำนาจของจำเลย เข้ามาสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยโดยดี แต่แล้วนายตันเซ่งเงี๊ยบได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาว่าทรัพย์พิพาทนั้นจำเลยได้ขายให้แก่ตนแล้ว การร้องสอดนี้ เพื่อให้มีผลยกฟ้องโจทก์ ศาลพอบังคับให้ได้ แต่ถ้าเพื่อที่จะให้ศาลบังคับนายตันเซ่งเงี๊ยบในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้นศาลจะบังคับให้หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่นายตันเซ่งเงี๊ยบเป็นความกับนายตันเซ่งเงี๊ยบเอง อันอาจจะเกิดความเสียหายแก่สิทธิในทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่นายตันเซ่งเงี๊ยบอาจเรียกเข้ามาในคดีได้ ที่ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดว่าเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการ อันเป็นกรณีที่ตัวแทนำม่อาจทำแทนได้นั้น จึงชอบแล้ว
จึงพิพากษาให้ยกฎีกาโจทก์และผู้ร้องสอดเสีย

Share