แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยเช่าบ้านพิพาทของโจทก์เป็นเวลา3ปีโดยไม่ได้ทำสัญญาเช่ากันไว้แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องต่อมาว่าสัญญาเช่าบ้านพิพาทที่จำเลยมีต่อโจทก์ได้ครบกำหนดแล้วและโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทอีกต่อไปการบรรยายฟ้องของโจทก์ในลักษณะนี้เป็นการบรรยายท้าวความย้อนให้จำเลยเข้าใจว่าเหตุที่จำเลยมีสิทธิเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์ในเบื้องแรกก็เนื่องมาจากโจทก์เคยให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทเป็นเวลา3ปีมาก่อนเท่านั้นเมื่อสัญญาเช่าบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวต่อไปคำฟ้องโจทก์มิใช่คำฟ้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์จึงมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา538แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ ประมาณ เดือน มกราคม 2528 จำเลย เช่าบ้าน เลขที่ 148/1 ของ โจทก์ มี กำหนด 3 ปี ค่าเช่า เดือน ละ 500 บาทโดย ไม่ได้ ทำ สัญญาเช่า กัน ไว้ ครบ กำหนด โจทก์ ไม่ประสงค์ ให้ จำเลยเช่า บ้าน อีก ต่อไป จึง บอกกล่าว ให้ จำเลย ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวารออก ไป จาก บ้าน โจทก์ หลาย ครั้ง แต่ จำเลย เพิกเฉย ทำให้ โจทก์ เสียหายหาก ให้ ผู้อื่น เช่า บ้าน จะ ได้ ค่าเช่า เดือน ละ 3,000 บาท ขอให้ บังคับจำเลย ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป จาก บ้าน เลขที่ 148/1ถนน สุรศักดิ์ 1 ตำบล ศรีราชา อำเภอ ศรีราชา จังหวัด ชลบุรี ของ โจทก์ และ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 3,000 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไปจาก บ้าน ของ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า บ้าน เลขที่ 148/1 เป็น ของ จำเลย ไม่เคย เช่า บ้านจาก โจทก์ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง และ ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ค่าเช่า บ้านไม่เกิน เดือน ละ 500 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย และ บริวาร ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จากบ้าน เลขที่ 148/1 ของ โจทก์ และ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์เดือน ละ 1,500 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย และ บริวารจะ ออก ไป จาก บ้าน หลัง ดังกล่าว ของ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ ใน ฐานะเจ้าของ กรรมสิทธิ์ บ้าน พิพาท ใช้ สิทธิ ติดตาม เอาคืน ซึ่ง ทรัพย์สินของ โจทก์ จาก จำเลย ผู้ ไม่มี สิทธิ จะ ยึดถือ ครอบครอง ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1336 แม้ โจทก์ จะ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย เคยเช่า บ้าน พิพาท ของ โจทก์ เป็น เวลา 3 ปี โดย ไม่ได้ ทำ สัญญาเช่า กัน ไว้แต่ โจทก์ ก็ บรรยายฟ้อง ต่อมา ว่า สัญญาเช่า บ้าน พิพาท ที่ จำเลย มี ต่อโจทก์ ได้ ครบ กำหนด แล้ว และ โจทก์ ไม่ประสงค์ จะ ให้ จำเลย เช่า บ้านพิพาท อีก ต่อไป การ บรรยายฟ้อง ของ โจทก์ ใน ลักษณะ นี้ เป็น การ บรรยายท้าวความ ย้อน ให้ จำเลย เข้าใจ ว่า เหตุ ที่ จำเลย มีสิทธิ เข้า ไป อาศัยอยู่ ใน บ้าน พิพาท ของ โจทก์ ใน เบื้องแรก ก็ เนื่องมาจาก โจทก์ เคย ให้จำเลย เช่า บ้าน พิพาท เป็น เวลา 3 ปี มา ก่อน เท่านั้น เมื่อ สัญญาเช่าบ้าน พิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ครบ กำหนด แล้ว จำเลย ก็ ไม่มี สิทธิที่ จะ อาศัย อยู่ ใน บ้าน หลัง ดังกล่าว อีก ต่อไป คำฟ้อง ของ โจทก์ มิใช่คำฟ้อง ขอให้ บังคับคดี ตาม สัญญาเช่า อสังหาริมทรัพย์ จึง มิได้ตกอยู่ใน บังคับ ของ มาตรา 538 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดัง ที่ จำเลย ฎีกา โจทก์ ย่อม มีอำนาจ ฟ้อง
พิพากษายืน