คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ติดต่อซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเพื่อใช้ในราชการโดยโจทก์ได้รับรถยนต์จากผู้ขายมาใช้ก่อนในวันเกิดเหตุจำเลยยืมรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์ไปใช้และเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญายืมใช้คงรูปเมื่อรถยนต์คันที่จำเลยยืมไปใช้เกิดความเสียหายแม้โจทก์จะได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้ซ่อมหรือเจ้าของรถยนต์นั้นแล้วหรือไม่ก็ตามถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูปเกิดขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง. คำฟ้องของโจทก์กล่าวว่าจำเลยยืมรถยนต์คันเกิดเหตุไปจากโจทก์ต่อมาเกิดอุบัติเหตุชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของบุคคลอื่นรถยนต์คันดังกล่าวเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างที่โจทก์ดูแลและทดลองใช้อยู่โจทก์ชำระเงินค่าซ่อมให้เจ้าของรถแล้วจำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ตามคำฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา643ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นเลยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ยืม รถยนต์ ปิคอัพ ไป จาก โจทก์ ต่อมา เกิดอุบัติเหตุ ชน กับ รถยนต์ บรรทุก สิบล้อ ของ บุคคล อื่น โจทก์ แจ้ง ให้ห้างหุ้นส่วน จำกัด โตโยต้า ศรีสะเกษ เจ้าของ รถยนต์ ทราบ เจ้าของได้ นำ รถยนต์ ไป ซ่อม ที่ อู่ ของ ตน และ เรียก ค่าเสียหาย จาก โจทก์เพราะ รถยนต์ ดังกล่าว เกิด ความเสียหาย ขึ้น ใน ขณะ ที่ เจ้าของ รถมอบ ให้ โจทก์ ดูแล และ ทดลอง ใช้ อยู่ โจทก์ ชำระ เงิน ให้ ไป ครบถ้วนแล้ว จำเลย มี หน้าที่ ต้อง รับผิด ชดใช้ เงิน คืน แก่ โจทก์ ขอ ให้ศาล พิพากษา บังคับ จำเลย ใช้ เงิน ให้ แก่ โจทก์ จำนวน 40,000 บาท
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ มี อำนาจฟ้อง รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ไม่ ใช่ของ โจทก์ โจทก์ มิได้ ชำระ ค่าเสียหาย ให้ เจ้าของ รถ หาก โจทก์ ชำระไป ก็ โดย ความ สมัครใจ ของ โจทก์ เอง จึง ไม่ มี สิทธิ เรียกร้อง จากจำเลย จำเลย ไม่ เคย ยืม รถยนต์ ไป จาก โจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ เงิน ให้ โจทก์ 30,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ ได้ ชำระ ค่าซ่อม รถยนต์ ให้ แก่ผู้ซ่อม หรือ เจ้าของ รถ จึง ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง พิพากษา กลับ ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ว่า โจทก์ มีอำนาจฟ้อง หรือไม่ ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า โจทก์ ติดต่อ ซื้อ รถยนต์บรรทุก คัน เกิดเหตุ เพื่อ ใช้ ใน ราชการ โจทก์ ได้ รับ รถยนต์ จากห้างหุ้นส่วน จำกัด โตโยต้า ศรีสะเกษ ผู้ขาย มา ใช้ ก่อน ใน วันเกิดเหตุ จำเลย ยืม รถยนต์ คัน ดังกล่าว จาก โจทก์ ไป ใช้ และ เกิดอุบัติเหตุ ได้ รับ ความเสียหาย ศาลฎีกา เห็นว่า คดีนี้ โจทก์ ฟ้อง ให้จำเลย รับผิด ตาม สัญญา ยืมใช้ คงรูป เมื่อ รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ยืมไป ใช้ เกิด ความ เสียหาย แม้ โจทก์ จะ ได้ ชำระ ค่าซ่อม รถยนต์ ให้แก่ ผู้ซ่อม หรือ เจ้าของ รถยนต์ นั้น แล้ว หรือไม่ ก็ ตาม ถือ ได้ แล้วว่า มี ข้อโต้แย้ง สิทธิ ตาม สัญญา ยืมใช้ คงรูป เกิด ขึ้น แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ จึง มี อำนาจฟ้องอย่างไร ก็ ตาม ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย ใน ปัญหา ต่อไป โดย ไม่ ต้องย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา พิพากษา ใหม่ ว่า จำเลย ต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ตาม ฟ้อง หรือไม่ ใน การ ยืมใช้ คงรูป นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 บัญญัติ ว่า ‘ทรัพย์สิน ซึ่งยืม นั้น ถ้า ผู้ยืม เอา ไป ใช้ การ อย่างอื่น นอกจาก การ อัน เป็นปกติ แก่ ทรัพย์สิน นั้น หรือ นอกจาก การ อัน ปรากฏ ใน สัญญา ก็ ดีเอา ไป ให้ บุคคล ภายนอก ใช้สอย ก็ ดี เอา ไป ไว้ นานกว่า ที่ ควรจะ เอา ไว้ ก็ ดี ท่าน ว่า ผู้ยืม จะ ต้อง รับผิด ใน เหตุ ทรัพย์สินนั้น สูญหาย หรือ บุบสลาย ไป อย่างหนึ่ง อย่างใด แม้ ถึง จะ เป็น เพราะเหตุ สุดวิสัย’ เห็นว่า คำฟ้อง ของ โจทก์ กล่าวว่า จำเลย ยืม รถยนต์คัน เกิดเหตุ ไป จาก โจทก์ ต่อมา เกิด อุบัติเหตุ ชน กับ รถยนต์ บรรทุกสิบล้อ ของ บุคคล อื่น รถยนต์ คัน ดังกล่าว เกิด ความเสียหาย ขึ้น ในระหว่าง ที่ โจทก์ ดูแล และ ทดลอง ใช้ อยู่ โจทก์ ชำระ เงิน ค่าซ่อมให้ เจ้าของ รถ แล้ว จำเลย มี หน้าที่ ต้อง รับผิด ชดใช้ เงิน คืน แก่โจทก์ ตาม คำฟ้อง ดังกล่าว ไม่ ปรากฏ เหตุใด ตาม กฎหมาย ที่ จะ ทำ ให้จำเลย ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น เลย ดังนั้นจำเลย จึง ไม่ ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์
พิพากษา ยืน.

Share