คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนที่ตั้งเขตศาลและวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาค(ฉบับที่2)พ.ศ.2536มาตรา4บัญญัติว่าบรรดาคดีทีได้อุทธรณ์ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแล้วแต่กรณีซึ่งคดีนั้นค้างพิจารณาอยู่คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่29กรกฎาคม2536คดีนี้ปรากฎว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่26พฤษภาคม2536ก่อนพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์เท่านั้นศาลอุทธรณ์ภาค1ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโจทก์เพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่าแต่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะเพราะขัดต่อมาตรา26แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้ชอบแล้วส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้ศาลบังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ต่อมีกำหนด3ปีนับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุดและให้จำเลยมีสิทธิต่อสัญญาเช่าได้คราวละ3ปีตลอดไปนั้นเห็นพ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมที่่โจทก์ฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมแต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องแย้งศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)

ย่อยาว

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์บริเวณย่านสถานีรถไฟอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรีมีกำหนดการเช่า 1 ปี ในอัตราค่าเช่าปีละ 46,384 บาท ต่อมาจำเลยเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ที่ดินโดยยังไม่่ได้รับอนุญาตจากโจทก์โจทก์จึงแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาเช่าใหม่ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์จึงบอกเลิกการเช่าและให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ ให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเงิน268,757 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ และชำระค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่าปีละ 43,824 บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะมอบที่ดินคืนโจทก์
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะพลเอกวิมล วงศ์วานิช ประธานกรรมการของโจทก์ขาดคุณสมบัติของกฎหมายจึงไม่มีอำนาจเสนอแต่งตั้งนายสมหมาย ตามไท เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยรวมทั้งคณะรัฐมนตรีไม่เคยลงมติแต่งตั้งเช่นนั้น นายสมหมาย เองก็ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายเช่นเดียวกันจึงไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง โดยได้เช่าใช้ประโยชน์ติดต่อจากบิดาจำเลย เมื่อหมดสัญญาก็ได้เช่าต่ออีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 31ธันวาคม 2530 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย และไม่มีสิทธิคิดค่าปรับที่เปลี่ยนแปลง ลักษณะการใช้ประโยชน์ตามฟ้อง เพราะจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา ปี 2535 บริษัท ส. เทียนทอง จำกัด ได้ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าเป็นผู้เช่าที่ดินนี้จากโจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลได้พิพากษายกฟ้องไปแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าบริษัทดังกล่าวขอให้ยกฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งแต่งตั้งพลเอกวิมลวงศ์วานิช กับนายสมหมาย ตามไทย เป็นโมฆะ ไม่ให้บุคคลทั้งสองเกี่ยวข้องกับการรถไฟแห่งประเทศไทย และขอให้บังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดิน ต่อมีกำหนด 3 ปี นับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุดกับให้จำเลยมีสิทธิต่อสัญญาเช่าได้คราวละ 3 ปี ตลอดไป
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การจำเลย ส่วนฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงไม่รับฟ้องแย้ง คืนค่าขั้นศาลทั้งหมดให้จำเลย
จำเลย อุทธรณ์ คำสั่ง ที่ ไม่รับฟ้อง แล้ว
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน ที่ตั้งเขตศาลและวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536 มาตรา 4บัญญัติว่า บรรดาคดีที่ได้อุทธรณ์ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแล้วแต่กรณี ซึ่งคดีนั้นค้างพิจารณาอยู่ คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2536 คดีนี้ปรากฎว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2536 ก่อนพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์เท่านั้นศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์เพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า แต่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า คำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้ศาลบังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ต่อมีกำหนด 3 ปี นับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุด และให้จำเลยมีสิทธิต่อสัญญาเช่าได้คราวละ 3 ปี ตลอดไปนั้น เป็นฟ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องแย้ง ศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2)ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น แต่ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งและคืนค่าขึ้นศาลส่วนนี้แก่จำเลยนั้น เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินมีกำหนด 3 ปี นับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุดเสีย ค่าขึ้นศาลเกี่ยวกับฟ้องแย้งส่วนนี้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

Share