คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ขณะที่จำเลยที่1และที่2ยื่นคำร้องขอถอนทนายความนั้นศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์แล้วคดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้มีอำนาจสั่งคำร้องคือศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้อง จำเลยที่1และที่2แต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนเป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ15ว่าด้วยตัวแทนมาตรา797และย่อมมีสิทธิขอถอนทนายความซึ่งเป็นแทนเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827วรรคหนึ่งหากทนายความเสียหายอย่างไรชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่คู่ความที่ตั้งตนเป็นทนายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827วรรคสอง ขณะที่จำเลยที่1ยื่นคำร้องขอถอนทนายความเป็นเวลาที่จำเลยที่1ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางถอนชื่อออกจากทะเบียนอันถือได้ว่าบริษัทได้เลิกแล้วแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249ก็บัญญัติว่าให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีจำเลยที่2และที่6เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251,1252กับมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1259ตราบใดที่ยังไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีจำเลยที่1ขึ้นมาใหม่จำเลยที่1และที่6ในฐานะผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนทนายความแทนจำเลยที่1ได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6ชำระหนี้ และ บังคับจำนอง ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง หก ชำระหนี้พร้อม ดอกเบี้ย และ บังคับจำนอง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 อุทธรณ์คดี อยู่ ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ยื่นคำร้อง ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2533 ว่า ไม่ประสงค์ จะ ให้ นาย โกสุมภ์ ตาละโสภณ เป็น ทนายความ ขอ ถอน นาย โกสุมภ์ จาก การ เป็น ทนาย ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2
นาย โกสุมภ์ ตาละโสภณ ทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ยื่น คำคัดค้าน ว่า การ ขอ ถอน ทนายความ ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ทำให้ ทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เสียเปรียบ เพราะ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ได้ ทำ หนังสือ ยก ผลประโยชน์ ใด ๆ ที่ เกิดจาก การ ประนีประนอม ยอมความกับ ธนาคาร อาคาร สงเคราะห์ ไว้ ให้ กับ ทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 1 และที่ 2 ถอน นาย โกสุมภ์ ตาละโสภณ ออกจาก การ เป็น ทนายความ ได้ ส่วน กรณี ทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 มี ข้อเรียกร้อง กับ ตัวความ อย่างไรให้ ไป ดำเนินคดี กับ ตัวความ เป็น อีก คดี หนึ่ง ต่างหาก
ทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ขณะที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ ถอน ทนายความ นั้น ปรากฎ ว่า สำนวน เรื่อง นี้ อยู่ ใน อำนาจ ของศาลอุทธรณ์ แล้ว ผู้มีอำนาจ สั่ง คำร้อง ควร เป็น ศาลอุทธรณ์ เห็นว่าคดี นี้ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์ และ ได้ ส่ง สำนวน ไป ศาลอุทธรณ์ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2533 ฉะนั้น คดี จึง อยู่ ระหว่าง การ พิจารณา ของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้น จึง ไม่มี อำนาจ สั่ง คำร้อง แต่ ปรากฎ ว่า เมื่อทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำสั่ง ที่ศาลชั้นต้น สั่ง อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ถอน ทนายความ ได้ จึง เป็นกรณี ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ถอนทนายความ แล้ว ไม่มี เหตุ ที่ ศาลฎีกา จะ พิพากษา ให้ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่งเกี่ยวกับ เรื่อง นี้ อีก ทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ว่า ศาล ไม่ควรอนุญาต ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ถอน ทนายความ เห็นว่า จำเลย ที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิ แต่งตั้ง ทนายความ ให้ ว่าความ และ ดำเนิน กระบวนพิจารณาแทน ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60ซึ่ง เป็น การ แต่งตั้ง ตัวแทน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15ว่าด้วย ตัวแทน มาตรา 797 และ การ แต่งตั้ง ผู้ใด เข้า เป็น ทนายความขึ้น อยู่ กับ ความ ไว้ วาง ใน ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น สำคัญ ฉะนั้นจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ย่อม มีสิทธิ จะ ขอ ถอน ทนายความ ซึ่ง เป็น ตัวแทนเมื่อใด ก็ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคหนึ่งหาก ทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เสียหาย อย่างไร ทนายจำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ชอบ ที่ จะ ว่ากล่าว เอา แก่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ตาม ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคสอง ให้สิทธิ ไว้ทนายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ข้อ สุดท้าย ว่า ขณะที่ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ ถอน ทนายความ เป็น เวลา ที่ บริษัท จำเลย ที่ 1ถูก นายทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท กลาง ถอน ชื่อ ออกจาก ทะเบียน แล้วจำเลย ที่ 2 และ ที่ 6 ไม่สามารถ กระทำการ ใด ๆ ใน นาม จำเลย ที่ 1 ได้เห็นว่า แม้ บริษัท จำเลย ที่ 1 จะ ถูก ถอน ชื่อ ออกจาก ทะเบียน อัน ถือได้ว่าบริษัท ได้ เลิก แล้ว ก็ ตาม แต่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249ก็ บัญญัติ ว่า ให้ พึง ถือว่า ยัง คง อยู่ ตราบ เท่า เวลา ที่ จำเป็น เพื่อการ ชำระ บัญชี จำเลย ที่ 2 และ ที่ 6 เป็น กรรมการ บริษัท ผู้มีอำนาจกระทำการ แทน จำเลย ที่ 1 ย่อม เข้า เป็น ผู้ชำระบัญชี และ มีอำนาจ อยู่เช่น เดิม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251, 1252 กับมีอำนาจ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 ทั้ง เป็นผู้ ลง ลายมือ และ ประทับตรา จำเลย ที่ 1 แต่งตั้ง ทนายจำเลย ที่ 1 เป็นทนายความ ตราบใด ที่ ยัง ไม่มี การ ตั้ง ผู้ชำระบัญชี จำเลย ที่ 1 ขึ้น มา ใหม่จำเลย ที่ 2 และ ที่ 6 ใน ฐานะ ผู้ชำระบัญชี ย่อม มีอำนาจ ยื่น คำร้องขอ ถอนทนายความ แทน จำเลย ที่ 1 ได้
พิพากษายืน

Share