คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5049/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสิบสามคนเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯเพราะผู้กล่าวหาทั้งสิบสามคนเป็นกรรมการสหภาพแรงงานผู้มีบทบาทในการยื่นข้อเรียกร้องเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องกับโจทก์อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าข้อความในจดหมายข่าวและแถลงการณ์เป็นการจงใจทำให้โจทก์เสียหายและเป็นการดูหมิ่นหมิ่นประมาทโจทก์และผู้บังคับบัญชาหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า การ ที่ โจทก์ เลิกจ้าง ลูกจ้าง ของ โจทก์ ไม่เป็นการกระทำ อัน ไม่เป็นธรรม ตาม ที่ จำเลย ทั้ง สิบ สาม ซึ่ง เป็น คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัย ขอให้ พิพากษา เพิกถอน คำสั่ง ที่ 41/2537ฉบับ ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2537 ของ จำเลย ทั้ง สิบ สาม
จำเลย ทั้ง สิบ สาม ให้การ ว่า ได้ วินิจฉัยชี้ขาด ข้อกล่าวหาของ ผู้กล่าวหา ไป ตาม ข้อเท็จจริง และ เหตุผล ตาม อำนาจ หน้าที่ ที่ กฎหมายกำหนด ให้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ที่ โจทก์อุทธรณ์ ว่า เอกสาร ที่ ผู้กล่าวหา ทั้ง สิบ สาม คน ทำ ขึ้น และ แจกจ่าย คือจดหมาย ข่าว ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 มี ข้อความ เป็น การ ยุยง ให้ ลูกจ้าง อื่นเฉื่อยงาน จึง เป็น การ จงใจ ทำให้ โจทก์ เสียหาย และ แถลงการณ์ ตามเอกสาร หมาย จ. 3 และ จ. 4 มี ข้อความ เป็น การ ดูหมิ่น หมิ่นประมาทโจทก์ และ ผู้บังคับบัญชา จึง เป็น การกระทำ ที่ ฝ่าฝืน ข้อบังคับเกี่ยวกับ การ ทำงาน ใน กรณี ร้ายแรง โจทก์ จึง มีสิทธิ เลิกจ้างผู้กล่าวหา ทั้ง สิบ สาม คน ได้ ไม่ใช่ การกระทำ อัน ไม่เป็นธรรม นั้นเห็นว่า ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่าการ ที่ โจทก์ เลิกจ้างผู้กล่าวหา ทั้ง สิบ สาม คน เป็น การกระทำ อัน ไม่เป็นธรรม ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก็ โดย ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริงเป็น ที่ ยุติ ว่า โจทก์ เลิกจ้าง ผู้กล่าวหา ทั้ง สิบ สาม คน เพราะ เหตุ ที่ผู้กล่าวหา ทั้ง สิบ สาม คน เป็น กรรมการ สหภาพแรงงาน ผู้ มี บทบาท ใน การยื่น ข้อเรียกร้อง เจรจา ต่อรอง ข้อเรียกร้อง กับ โจทก์ ดังนั้น ปัญหาที่ ว่า ข้อความ ใน จดหมาย ข่าว เอกสาร หมาย จ. 5 เป็น การ จงใจ ทำให้ โจทก์เสียหาย หรือไม่ และ ข้อความ ใน แถลงการณ์ เอกสาร หมาย จ. 3 และ จ. 4เป็น การ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท โจทก์ และ ผู้บังคับบัญชา หรือไม่ ไม่ว่าจะ วินิจฉัย ไป ใน ทาง ใด ก็ ไม่มี ผล ทำให้ คำวินิจฉัย ของ ศาลแรงงานกลางที่ ว่า การ ที่ โจทก์ เลิกจ้าง ผู้กล่าวหา ทั้ง สิบ สาม คน เป็น การกระทำอัน ไม่เป็นธรรม ดังกล่าว ต้อง เปลี่ยนแปลง ไป อุทธรณ์ ของ โจทก์ข้อ นี้ จึง ไม่เป็น สาระ แก่ คดี อันควร ได้รับ การ วินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบ ด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก อุทธรณ์ โจทก์

Share