คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4989/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

หนังสือระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความตอนหนึ่งว่าโดยได้ตกลงที่จะมอบทรัพย์สินของข้าพเจ้าคือ”โรงน้ำแข็งพนม1″โดยข้าพเจ้าได้ตีราคารวมทั้งที่ดินสิ่งปลูกสร้างเป็นราคา3,500,000บาทสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้ไม่ใช่หนังสือให้หุ้นส่วนเมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา525สัญญาดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์

ย่อยาว

คดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ พิพากษา รวมกันโดย ให้ เรียก โจทก์ ที่ 1 ถึง โจทก์ ที่ 9 ใน สำนวน หลัง ว่า โจทก์ ที่ 1ถึง ที่ 9 ตามลำดับ และ เรียก โจทก์ สำนวน แรก ว่า โจทก์ ที่ 10 ให้ เรียกจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 ใน สำนวน หลัง ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 ตามลำดับและ เรียก จำเลย สำนวน แรก ซึ่ง เป็น จำเลยร่วม สำนวน หลัง ว่า จำเลย ที่ 7
สำนวน แรก โจทก์ ที่ 10 ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1ได้ เข้าหุ้น กับ จำเลย ที่ 7 ประกอบการค้า ตั้ง โรงงาน ผลิต น้ำแข็งใช้ ชื่อ ว่า โรงน้ำแข็ง พนม 1 บน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6780 ต่อมา จำเลย ที่ 7 ได้ แบ่ง หุ้น ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 9 กับ จำเลย ที่ 5จำเลย ที่ 7 ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 กับพวก อีก หลาย คน บุกรุก เข้า ไปใน โรงน้ำแข็ง พนม 1 ทำให้ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 เสีย กาย ให้ จำเลย ที่ 7 ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 10 ถึง วันฟ้อง จำนวน410,000 บาท และ ใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน วัน ละ 10,000 บาท นับแต่ วันฟ้องไป จนกว่า จำเลย ที่ 7 จะ เลิก เกี่ยวข้อง กับ โรงงาน ผลิต น้ำแข็ง ของโรงน้ำแข็ง พนม 1 พร้อม ทั้ง ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 410,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จำเลย ที่ 7 จะ ใช้ เงินให้ ครบถ้วน ให้ จำเลย ที่ 7 ถอน ชื่อ ออกจาก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 6780ตำบล พนม อำเภอพนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา โดย จดทะเบียน โอนสิทธิ คืน ให้ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 และ หุ้นส่วน คนอื่น ตาม ที่ปรากฏ ชื่อ ใน คำฟ้อง หาก จำเลย ที่ 7 ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษาของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 7 ให้ จำเลย ที่ 7 ถอน ชื่อออกจาก ใบ ทะเบียน การค้า ใบ ทะเบียน พาณิชย์ ใบอนุญาต ประกอบ กิจการโรงงาน และ โรงน้ำแข็ง พนม 1 และ โอน ใส่ ชื่อ โจทก์ ที่ 1หุ้นส่วน ผู้จัดการ โรงน้ำแข็ง พนม 1 หาก จำเลย ที่ 7 ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา
สำนวน แรก จำเลย ที่ 7 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 7 ไม่ได้ ทำละเมิด ต่อ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 เนื่องจาก โรงน้ำแข็ง พนม 1 และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6780 เป็น ของ จำเลย ที่ 7 จำเลย ที่ 7 ไม่ได้ แบ่ง หุ้นให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 9 กับ จำเลย ที่ 5 หนังสือ สัญญา ดังกล่าวจำเลย ที่ 7 ถูก หลอกลวง ให้ ลงชื่อ จำเลย ที่ 7 บอกล้าง แล้ว จึง เป็น โมฆะและ หาก สัญญา ดังกล่าว เป็น สัญญา ให้ อสังหาริมทรัพย์ สัญญา ดังกล่าวก็ ไม่สมบูรณ์ เพราะ ไม่ได้ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ขอให้ ยกฟ้อง
สำนวน หลัง โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 9 ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่าโจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 9 และ จำเลย ที่ 5 เป็น หุ้นส่วน ประกอบ กิจการผลิต และ จำหน่าย น้ำแข็ง ชื่อ ห้างหุ้นส่วน โรงน้ำแข็ง พนม 1 โดย จำเลย ที่ 7 ได้ โอนหุ้น ให้ หลังจาก โอนหุ้น ให้ แล้ว จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6และ ที่ 7 ได้ บุกรุก โรงน้ำแข็ง พนม 1 ทำให้ เสียหาย ทำให้ ขาด รายได้ ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 และ บริวาร ออกจาก บริเวณ สถานที่ ตั้งและ โรงงาน ผลิต น้ำแข็ง ของ ห้างหุ้นส่วน โรงน้ำแข็ง พนม 1 ห้าม ไม่ให้ เกี่ยวข้อง กับ สถานที่ ตั้ง โรงงาน และ กิจการ ของห้างหุ้นส่วน โรงน้ำแข็ง พนม 1 ของ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 9 ต่อไป และ ให้ ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 9ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 540,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 9 และ ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 9 เป็น เงิน วัน ละ 10,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่าจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 และ บริวาร ออกจาก สถานที่ ตั้ง และ เลิก เกี่ยวข้องกับ โรงงาน และ กิจการ ผลิต น้ำแข็ง ของ ห้างหุ้นส่วน โรงน้ำแข็ง พนม 1 ของ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 9
สำนวน หลัง จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่าโรงน้ำแข็ง พนม 1 เป็น กิจการ ของ จำเลย ที่ 7 แต่เพียง ผู้เดียว จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 7 จึง ไม่ได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ทั้ง เก้าเอกสาร การ แบ่ง ทรัพย์สิน จำเลย ที่ 7 ถูก หลอก ให้ ลงชื่อ จำเลย ที่ 7บอกล้าง แล้ว จึง เป็น โมฆะ หาก ฟัง ว่า เอกสาร ดังกล่าว สมบูรณ์เอกสาร ดังกล่าว เป็น สัญญา ให้ อสังหาริมทรัพย์ เมื่อ ไม่ได้ จดทะเบียนต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ จึง ไม่สมบูรณ์ ค่าเสียหาย ไม่มาก กว่า ที่โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ที่ 1 ถึงแก่กรรม นาง ผ่องศรี กาญจนเจริญ ผู้จัดการมรดก โจทก์ ที่ 1 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน และจำเลย ที่ 7 ถึงแก่กรรม นาง สำราญ หาญพันธ์พงษ์ ทายาท ของ จำเลย ที่ 7 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ที่ 4 ยื่น คำร้องขอ ถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นอนุญาต และ จำหน่ายคดี เฉพาะ โจทก์ ที่ 4 ออกจาก สารบบความ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 3 และ โจทก์ ที่ 5 ถึง ที่ 10 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 3 และ โจทก์ ที่ 5 ถึง ที่ 10 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อ กฎหมาย ว่า พิเคราะห์ แล้ว โจทก์ ที่ 1ถึง ที่ 3 และ โจทก์ ที่ 5 ถึง ที่ 10 ฎีกา ข้อ แรก ว่า สัญญา เอกสาร หมายจ. 5 มี ข้อความ ระบุ ชัดแจ้ง ว่า เป็น การ ให้ หุ้นส่วน ใน โรงน้ำแข็ง พนม 1 มิใช่ เป็น การ ให้ ที่ดิน และ โรงงาน น้ำแข็ง ข้อ นี้ โจทก์ ที่ 1 เบิกความเป็น พยาน ชั้น ไต่สวน คำร้องขอ คุ้มครอง ชั่วคราว ว่า โรงน้ำแข็ง นี้โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 7 ร่วมกัน สร้าง มา ตั้งแต่ ปี 2508 การ เข้า เป็นหุ้นส่วน กัน ใช้ เป็น เงินสด ออก เงินสด ครั้งแรก เท่าใด จำ ไม่ได้ต่อมา ได้ มี การ เพิ่ม ทุน ขยาย กิจการ โดย ใช้ ผล กำไร มา เพิ่ม ทุนนอกจาก นี้ โจทก์ ที่ 1 ยัง หา ทุน มา เพิ่ม อีก โดย ไป กู้ยืม คนอื่น มา ลงทุนการ เข้าหุ้น กัน นี้ เป็น ของ โจทก์ ที่ 1 ครึ่ง หนึ่ง ของ จำเลย ที่ 7ครึ่ง หนึ่ง นาง ผ่องศรี ภริยา โจทก์ ที่ 1 เบิกความ ตอบ ทนายจำเลย ถาม ค้าน ว่า เมื่อ มี การ ตั้ง โรงน้ำแข็ง พนม 1 เสร็จ แล้ว จึง ได้ มี การ ขาย หุ้น ใน โรงน้ำแข็ง อรัญประเทศ แต่ ไม่ใช่ ขาย เพื่อ นำ เงิน มา ตั้ง โรงน้ำแข็ง พนม 1 โดย หุ้น ทั้ง ของ จำเลย ที่ 1 และ ลูก ๆ ขาย ไป พร้อม กับ นำ เงิน ที่ ขาย ได้ ไป ใช้ หนี้ นาย อมร ซึ่ง เป็น หนี้ ของ จำเลย ที่ 7 โดย เมื่อ ขาย แล้ว ได้ นำ ส่วน ซึ่ง เป็น หุ้น ของ โจทก์ ที่ 1มา ลง หุ้น ใน โรงน้ำแข็ง พนม 1 เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 7ที่ ลง ใน โรงน้ำแข็ง พนม 1 นั้น ประมาณ 6-7 แสน บาท ส่วน ของ โจทก์ ที่ 1 ประมาณ 6-7 แสน บาท เห็นว่า พยานโจทก์ ดังกล่าว เบิกความเลื่อนลอย ไม่เป็น ที่ แน่นอน ว่า โจทก์ ที่ 1 ลง หุ้น เท่าใด แน่ และ ขัด กับคำฟ้อง โจทก์ ที่ 1 เพราะ โจทก์ ที่ 1 บรรยายฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 ออก เงินลงทุน ครั้งแรก 200,000 บาท จำเลย ที่ 7 ออก เงิน ลงทุน ทั้งหมด700,000 บาท และ ตกลง กัน ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้ ออก แรงงานใน การ ดำเนินการ ก่อสร้าง โรงงาน และ จัดการ กิจการ ทั้งหมดพยานโจทก์ ที่ 1 จึง ไม่มี น้ำหนัก น่าเชื่อ และ ตาม หนังสือ สัญญา แบ่งทรัพย์สิน เอกสาร หมาย จ. 5 ซึ่ง จำเลย ที่ 7 เป็น ผู้ทำ ขึ้น และ โจทก์เป็น ฝ่าย อ้าง เป็น พยาน มี ข้อความ ตอนหนึ่ง ว่า “โดย ได้ ตกลง ที่ จะ มอบทรัพย์สิน ของ ข้าพเจ้า คือ “โรงน้ำแข็ง พนม 1 ” โดย ข้าพเจ้า ได้ ตีราคา รวมทั้ง ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เป็น ราคา 3,500,000 บาท ” เห็นว่า ตามเอกสาร หมาย จ. 5 มี ข้อความ ชัดเจน ว่า โรงน้ำแข็ง พนม 1 เป็น ของ จำเลย ที่ 7 ซึ่ง เจือสม กับ พยาน จำเลย ทั้ง เจ็ด ที่ นำสืบว่า โรงน้ำแข็ง พนม 1 เป็น ของ จำเลย ที่ 7 แต่เพียง ผู้เดียว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 7 เป็น เจ้าของ โรงน้ำแข็ง พนม 1 แต่เพียง ผู้เดียว โจทก์ ที่ 1 มิได้ เป็น หุ้นส่วน ด้วย ฉะนั้น หนังสือสัญญา เอกสาร หมาย จ. 5 จึง เป็น สัญญา แบ่ง ทรัพย์สิน ซึ่ง เป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้ ไม่ใช่ หนังสือ ให้ หุ้นส่วน สัญญา ดังกล่าว จึงไม่สมบูรณ์ เพราะ ไม่ได้ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ฎีกา โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 3และ โจทก์ ที่ 5 ถึง ที่ 10 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น และ เมื่อ วินิจฉัย ดังกล่าวแล้ว ก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ข้อ อื่น ต่อไป เพราะ ไม่ทำ ให้ ผล คดีเปลี่ยนแปลง
พิพากษายืน

Share