คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มมีบันทึกถึง ป. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่าควรเลิกจ้างโจทก์และขอให้ ป. ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชาหามีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีไม่เมื่อ ป. มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติแต่ขอเป็นการส่วนตัวให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่ซึ่งเป็นข้อแนะนำในเชิงให้ทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ถูกเลิกจ้างจึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามคำแนะนำหรือไม่ก็ได้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ซึ่ง เป็น นายจ้าง เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่เป็นธรรมจึง ขอให้ บังคับ จำเลย จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า 16,855บาท เงิน ประกัน การ ทำงาน 3,000 บาท เงิน ค่าบริการ 3,000 บาทค่าจ้าง ค้างจ่าย 2,226 บาท ค่าชดเชย 57,240 บาท ค่าเสียหายที่ เกิดจาก การ เลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม 50,000 บาท
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า จำเลย เป็น ลูกจ้าง โจทก์ ตั้งแต่ วันที่15 สิงหาคม 2531 ได้รับ ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย เดือน ละ 9,540 บาทระหว่าง วันที่ 2 ถึง วันที่ 10 พฤษภาคม 2536 โจทก์ ไม่ได้ มา ทำงาน ให้กับ จำเลย ตาม ปกติ โดย อ้างว่า ป่วย เจ็บ ตาม ระเบียบ เอกสาร หมาย จ. 2นาย แพทริค เฮอเซ่ ซึ่ง เป็น ผู้จัดการ ฝ่าย อาหาร และ เครื่องดื่ม น่า จะ มีสิทธิ ลงโทษ โจทก์ ตาม ข้อ 21 ฉ. หรือ ช. ได้ และ ถึง แม้ จำเลยอ้างว่า นาย แพทริค จะ ไม่มี อำนาจ เลิกจ้าง ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ แต่ จาก ข้อเท็จจริง ที่ รับฟัง ได้ ปรากฏว่า เมื่อ นาย แพทริค ทำ บันทึก ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2536 ถึง นาย ประภัทร สุทธาเวช ผู้จัดการ ฝ่าย บุคคล แล้ว โจทก์ ได้ มา ทำงาน ใน วันที่ 11 พฤษภาคม 2536 ก็ ถูกนาย ประภัทร ปฏิเสธ ไม่ให้ ทำงาน ต่อไป โดย ขอให้ โจทก์ ลาออก เพื่อ พัก รักษา ตัว เมื่อ หาย ดี แล้ว จึง ค่อย กลับ เข้า มา ทำงาน ใหม่โดย ไม่ ฟัง คำขอ ร้องขอ งโจทก์ ที่ ให้ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ต่อไปตาม บันทึก ของ นาย แพทริค และ การ ปฏิบัติ ของ นาย ประภัทร เป็น การ เลิกจ้าง โจทก์ แล้ว ตั้งแต่ วันที่ 8 พฤษภาคม 2536 และ เป็น การ ยืนยันอีก ครั้ง ใน วันที่ 11 พฤษภาคม 2536 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย มิได้บอกกล่าว ล่วงหน้า การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย มิได้ บอกกล่าว ล่วงหน้าและ เหตุ ที่ เลิกจ้าง โดย อ้างว่า ขาดงาน ติดต่อ กัน เกินกว่า 3 วัน โดยไม่ได้ รับ อนุญาต เป็น เรื่อง ที่ จำเลย เข้าใจผิด คิด เอา เอง การ ขาดงานของ โจทก์ เป็น กรณี ที่ มีเหตุ สมควร เนื่องจาก การ เจ็บป่วย แม้ การ ลา จะเป็น การ ลา โดย ไม่ชอบ ก็ ยัง ไม่เป็นเหตุ ที่ จำเลย จะ เลิกจ้าง โจทก์ โดยไม่ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า หรือ ค่าชดเชย เป็นการ เลิกจ้าง ที่ ไม่เป็นธรรม จำเลย ต้อง จ่าย ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เห็นสมควร ให้ จำเลย จ่าย ค่าเสียหาย ค่าจ้าง ค้างจ่าย เงิน ค่า ประกันและ เงิน ค่าบริการ ให้ แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า จำนวน 16,854 บาท ค่าเสียหาย จำนวน50,000 บาท ค่าชดเชย จำนวน 57,240 บาท ค่าจ้าง ค้างจ่าย 2,226 บาทค่าบริการ 3,000 บาท และ ให้ จำเลย คืนเงิน ประกัน การ ทำงาน 3,000 บาทแก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่านาย แพทริค เฮอเซ่ และ นาย ประภัทร สุทธาเวช ผู้จัดการ ฝ่าย บุคคล ไม่มี อำนาจ เลิกจ้าง ผู้ที่ มีอำนาจ ใน การ เลิกจ้าง ได้ คือ นาย จตุพร สิหนาทกถากุล กรรมการ ผู้จัดการ และ นาย เดวิด ผู้จัดการ ใหญ่ เท่านั้น บันทึก ของ นาย แพทริค ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2536 ถึง นาย ประภัทร มิใช่ หนังสือ บอกเลิก การจ้าง การ ที่นาย ประภัทร ปฏิเสธ ไม่ให้ โจทก์ ทำงาน โดย ขอให้ โจทก์ ลาออก เพื่อ รักษา ตัว แล้ว ค่อยกลับ เข้า ทำงาน ใหม่ เป็น การกระทำ โดย ปราศจาก อำนาจ ไม่ผูกพัน ผู้สั่ง จ้างถือไม่ได้ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ได้ สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าเสียหาย ค่าชดเชย ค่าจ้าง ค้างจ่ายเงิน ค่าบริการ และ เงิน ประกัน การ ทำงาน นั้น เห็นว่า ตาม คำแปล บันทึกของ นาย แพทริค ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2536 ถึง นาย ประภัทร ผู้จัดการ ฝ่าย บุคคล ของ จำเลย มี ข้อความ ว่า “โปรด ดำเนินการ พิจารณา เลิกจ้างนาย ประดิษฐ์ ผลทาน หมายเลข 241 ผู้ช่วยผู้จัดการ แผนก จัดเลี้ยง ด้วย เหตุผล ขาดงาน ตั้งแต่ วันที่ 2 พฤษภาคม 2536 ถึง 8 พฤษภาคม 2536โดย มิได้ แจ้ง ให้ ผู้จัดการ ฝ่าย อาหาร และ เครื่องดื่ม ทราบ อีก ทั้ง ใน การปฏิบัติ หน้าที่ มักจะ หยุดงาน อยู่ เสมอ ให้ มีผล วันที่ 8 พฤษภาคม 2536″เป็น เรื่อง ที่นาย แพทริค มี ความเห็น ว่า ควร เลิกจ้าง โจทก์ และ ได้ ขอให้ นาย ประภัทร ดำเนินการ พิจารณา อีก ขั้นตอน หนึ่ง ตามลำดับ ของ การ บังคับบัญชา หา ได้ มีผล เป็น การ สั่ง หรือ บอกกล่าว เลิกจ้าง โจทก์ ทันทีไม่ นาย ประภัทร ยัง มี หน้าที่ จะ ต้อง ดำเนินการ พิจารณา หาก เห็นชอบ ด้วย แล้ว ก็ ต้อง ดำเนินการ บอกกล่าว เลิกจ้าง โจทก์ เป็น ขั้นตอน ต่อไป ตามระเบียบ ข้อบังคับ และ วิธี ปฏิบัติ ของ จำเลย ส่วน การ ที่นาย ประภัทร มิได้ ดำเนินการ บอกกล่าว เลิกจ้าง โจทก์ ตาม ขั้นตอน ปฏิบัติ แต่ กลับ ขอให้ โจทก์ลาออก เพื่อ พัก รักษา ตัว ก่อน เมื่อ หาย ดี แล้ว จึง ค่อย กลับ เข้า มา ทำงานใหม่ ดัง ที่ ศาลแรงงานกลาง ฟัง มา นั้น เห็น ได้ว่า เป็น เรื่อง ที่นาย ประภัทร พิจารณา แล้ว ดำเนินการ ไป ตาม ความเห็น ของ นาย ประภัทร เอง ใน เชิง ไม่ต้อง การ มี การ เลิกจ้าง โจทก์ และ เป็น ข้อ แนะนำ ใน เชิงให้ ทาง เลือก ที่ จะ เป็น ผล ดี แก่ โจทก์ เพื่อ หลีกเลี่ยง มิให้ โจทก์ ต้องถูก เลิกจ้าง กรณี เช่นว่า นี้ จึง เป็น สิทธิ ของ โจทก์ จะ ปฏิบัติ ตาม ที่นาย ประภัทร แนะนำ หรือไม่ ก็ ได้ เมื่อ ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า นาย ประภัทร ได้รับ มอบหมาย จาก จำเลย ให้ ทำการ แทน ใน การ แนะนำ โจทก์ ดังกล่าว จึง เป็น การกระทำ โดย ความ สัมพันธ์ ส่วนตัว ระหว่างนาย ประภัทร กับ โจทก์ ถือไม่ได้ว่า เป็น การกระทำ ของ จำเลย เมื่อ ยัง มิได้ มี การ บอกเลิก จ้าง โจทก์ ตาม ขั้นตอน ปฏิบัติ ตาม ระเบียบ ข้อบังคับของ จำเลย จึง ยัง คง ถือไม่ได้ว่า จำเลย ได้ เลิกจ้าง โจทก์ แล้ว จำเลยจึง ไม่ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าเสียหาย และค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ ข้อ วินิจฉัย ของ ศาลแรงงานกลาง ใน ส่วน นี้ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา อุทธรณ์ ของ จำเลย ใน ข้อ นี้ ฟังขึ้นส่วน ประเด็น เรื่อง ค่าจ้าง ค้างจ่าย ค่าบริการ ตาม คำขอ โจทก์ และ เงินประกัน การ ทำงาน นั้น จำเลย มิได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ เป็น อย่างอื่น จึง ต้องจ่าย ให้ แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง ดัง ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย อุทธรณ์จำเลย ใน ส่วน นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหาย และ ค่าชดเชย แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง

Share