คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510มาตรา73(4)ได้บัญญัติให้สิทธิผู้ถือประทานบัตรมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลในกรณีที่มีผู้โต้แย้งหรือขัดขวางสิทธิในการทำเหมืองแร่ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องว่าบริเวณที่ดินที่อยู่ในเขตประทานบัตรของจำเลยบางส่วนเป็นทางสาธารณะเท่ากับเป็นการโต้แย้งสิทธิในการทำเหมืองแร่ของจำเลยแล้วจำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งขอให้ศาลบังคับตามคำขอในปัญหานี้ได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย เปิด ทางสาธารณประโยชน์ และ รื้อ แผง รั้ว ลวดหนาม ปรับ ถม ทาง สาธารณประโยชน์ให้ กลับคืน สู่ สภาพ เดิม และ ร้องขอ คุ้มครอง ชั่วคราว ก่อน พิพากษาให้ จำเลย รื้อถอน ลวดหนาม และ ปรับ ถม แนว คันดิน ที่ ปิด กั้น และ ห้าม มิให้จำเลย ปิด กั้น จนกว่า คดี จะ ถึงที่สุด
จำเลย ให้การ และ ยื่น คำร้องขอ แก้ไข คำให้การ โดย ฟ้องแย้งขอให้ โจทก์ ดำเนินการ รื้อถอน บริเวณ ที่ดิน ที่ โจทก์ อ้างว่า เป็น ทางสาธารณประโยชน์ และ ปรับ ถม กลับคืน สภาพ เดิม
ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น นาย สังวรณ์ เวกอรุณ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น ไต่สวน คำร้อง แล้ว มี คำสั่ง ให้ จำเลย รื้อ ลวดหนามและ เสา คอนกรีต ที่ กั้น ทางพิพาท และ ถม คันดิน ให้ อยู่ ใน สภาพ เดิม ชั่วคราวจนกว่า จะ มี คำสั่ง เป็น อย่างอื่น และ ห้าม โจทก์ กระทำการ ใด ๆกับ ทางพิพาท ดังกล่าว โดย ให้ โจทก์ วางเงิน ประกัน ค่าเสียหายจำนวน 5,000 บาท ก่อน ออกหมาย ส่วน ที่ จำเลย ยื่น คำร้องขอ แก้ไขคำให้การ และ ฟ้องแย้ง ให้ โจทก์ ปรับ ถม ทางพิพาท ให้ กลับคืน สู่ สภาพ เดิมนั้น เห็นว่า แม้ จำเลย จะ ได้รับ ประทานบัตร ทำเหมืองแร่ หิน ปูนใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ และ มี หน้าที่ ดูแล รักษา สภาพ ป่า หาก มี ผู้กระทำผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ โดย ไม่ปรากฏ ว่า ทำให้ จำเลยได้รับ ความเสียหาย โดยตรง แล้ว รัฐ เท่านั้น เป็น ผู้เสียหาย จำเลย จึงไม่มี อำนาจฟ้อง แย้ง ยกฟ้อง แย้ง ของ จำเลย คืน ค่าขึ้นศาล ให้ จำเลย ไป
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย มีอำนาจ ฟ้องแย้ง ขอให้ ศาล บังคับให้ โจทก์ รื้อถอน บริเวณ ที่ โจทก์ อ้างว่า เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ และ ทำการถม ถนน ให้ กลับคืน สู่ สภาพ เดิม หรือไม่ ว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลย เป็น เรื่องเดียว กับ ฟ้องเดิม โดย กล่าวอ้าง ว่า โจทก์ กับพวก ได้ บุกรุก เข้า ไป ในป่าสงวนแห่งชาติ ที่ จำเลย ได้รับ ประทานบัตร ทำเหมืองแร่ หิน ปูนและ นำ รถแทรกเตอร์ ทำการ ขุดดิน ลูกรัง ใน บริเวณ ช่องเขา ในป่าสงวนแห่งชาติ นำ รถเกรดไถ คันดิน ลูกรัง ทำ เป็น ถนน ฝัง ท่อระบายน้ำซึ่ง เป็น พื้นที่ ที่ จำเลย ได้รับ ประทานบัตร ทำเหมืองแร่ ดังกล่าวการกระทำ ของ โจทก์ เป็น การ ละเมิด ต่อ จำเลย ทำให้ จำเลย ได้รับความเสียหาย แม้ ฟ้องแย้ง ของ จำเลย จะ อ้างว่า จำเลย ได้รับ ประทานบัตรทำเหมืองแร่ หิน ปูน ครั้งนี้ ทางราชการ ได้ วาง เงื่อนไข ให้ จำเลยมี หน้าที่ รับผิดชอบ ดูแล มิให้ มี การ ตัด ไม้ ทำลาย ป่า ใน เขต ประทานบัตรและ บริเวณ ใกล้เคียง แต่ ใน ความผิด ดังกล่าว ปรากฏว่า จำเลย ได้ แจ้งให้ เจ้าพนักงาน ป่าไม้ ทราบ เรื่อง แล้ว และ ได้ แจ้งความ ร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวน ให้ ดำเนินคดี แก่ ผู้ลักลอบ เข้า ไป ตัด ไม้ ทำลาย ป่า ในเขต ป่าสงวนแห่งชาติ และ เป็น เขต ที่ จำเลย ได้รับ ประทานบัตร แล้ว โดย จำเลยมิได้ ฟ้องร้อง เอง จำเลย ได้ ฟ้องแย้ง เฉพาะ การ ที่ โจทก์ โต้แย้ง สิทธิของ จำเลย โดย การ ทำ ถนน ใน ที่ดิน ที่ จำเลย ได้รับ ประทานบัตร ทำเหมืองแร่หิน ปูน ซึ่ง ตาม พระราชบัญญัติ แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 73(4) ได้ บัญญัติให้สิทธิ ผู้ถือ ประทานบัตร มีสิทธิ นำ คดี ขึ้น สู่ ศาล ใน กรณี ที่ มีผู้โต้แย้ง หรือ ขัดขวาง สิทธิ ใน การ ทำเหมือง ดังนั้น เมื่อ โจทก์ ฟ้อง ว่าบริเวณ ที่ดิน ที่อยู่ ใน เขต ประทานบัตร ของ จำเลย บางส่วน เป็น ทางสาธารณะ เท่ากับ เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ใน การ ทำเหมืองแร่ ของ จำเลย แล้วจำเลย มีอำนาจ ฟ้องแย้ง ขอให้ ศาล บังคับ ตาม คำขอ ใน ปัญหา นี้ ได้
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ศาลชั้นต้น รับคำ ฟ้องแย้ง ของ จำเลยนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share