คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4850/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบ สิทธิครอบครองให้โจทก์มีสิทธิเพียง ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทไม่อาจสละหรือ โอนสิทธิครอบครองให้แก่ผู้อื่นได้การที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีผลตามกฎหมายโจทก์ย่อมมี อำนาจฟ้อง ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 3952 เนื้อที่ 10 ไร่3 งาน 50 ตารางวา ซึ่ง มี ข้อกำหนด ของ ทางราชการ ห้ามโอน เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2527 ตาม มาตรา 31แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน หลังจาก โจทก์ ได้รับ น.ส.3 ก. แล้วโจทก์ ได้ กู้ยืม เงิน จำเลย ทั้ง สอง จำนวน 25,000 บาท โจทก์ ได้ มอบน.ส.3 ก. ดังกล่าว ให้ จำเลย ทั้ง สอง ยึดถือ ไว้ และ ยอม ให้ จำเลย ทั้ง สองเข้า ทำกิน ใน ที่ดิน ต่าง ดอกเบี้ย ต่อมา ปลาย ปี 2534 โจทก์ นำ เงิน25,000 บาท ไป ชำระ แก่ จำเลย ทั้ง สอง และ ขอรับ น.ส.3 ก. และ ขอให้ส่งมอบ ที่ดิน คืน แก่ โจทก์ แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ทำให้ โจทก์ เสียหายขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร ออกจาก ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 3952 ดังกล่าว แก่ โจทก์ และ ให้ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ปี ละ 32,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร จะ ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ไม่เคย กู้ยืม เงิน จาก จำเลย ทั้ง สองความจริง โจทก์ ได้ นำ ที่ดิน ดังกล่าว ทำ สัญญาซื้อขาย ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สองใน ราคา 25,000 บาท จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ราคา แก่ โจทก์ ครบถ้วน ใน วัน ทำ สัญญาแล้ว และ โจทก์ ยอม ให้ จำเลย ทั้ง สอง เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดินดังกล่าว ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา พร้อม มอบ น.ส.3 ก. ของ ที่ดิน ให้ แก่ จำเลยทั้ง สอง ยึดถือ ไว้ และ ตกลง กัน ว่า โจทก์ จะ ไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน ดังกล่าวให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง เมื่อ ครบ กำหนด ห้ามโอน แล้ว จาก นั้น จำเลย ทั้ง สองครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ดังกล่าว โดย สงบ เปิดเผย และ ด้วย เจตนาเป็น เจ้าของ จน ถึง ปัจจุบัน เป็น เวลา 3 ปี เศษ และ ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ ตลอดมา จำเลย ทั้ง สอง มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาทโจทก์ ไม่เสีย หาย แต่อย่างใด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ก่อน ว่าหนังสือ สัญญา การ ซื้อ ขาย ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 ที่ จำเลย ทั้ง สอง อ้างว่าโจทก์ ได้ ตกลง ขาย ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง มีผล ใช้ บังคับ ตาม กฎหมาย หรือไม่แล้ว วินิจฉัย ว่า สัญญาซื้อขาย ตกเป็น โมฆะ โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องขับไล่ ได้พิพากษากลับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท ตาม ฟ้อง และห้าม เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป ให้ จำเลย ทั้ง สอง ส่งมอบ หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ของ ที่ดินพิพาท คืน แก่ โจทก์ คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ มี ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกาใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง จำเลย ทั้ง สอง คง ฎีกา ได้ แต่ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมายแต่ ใน การ วินิจฉัย ปัญหา เช่นว่า นี้ ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริงที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบ มาตรา 247ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีชื่อ เป็นผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )เลขที่ 3952 ตำบล ธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัด นครสวรรค์ เนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา ตาม สำเนา หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เอกสาร หมาย จ. 1 ซึ่ง มี ข้อความ ว่า ห้ามโอน10 ปี ตาม มาตรา 31 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน นับแต่ วันที่ 1 มิถุนายน2527 ปัจจุบัน จำเลย ทั้ง สอง เป็น ผู้ครอบครอง ทำกิน ใน ที่ดินพิพาทคดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ว่าการ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตลอดมา นั้น ทำให้ จำเลย ทั้ง สองได้ สิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377, 1378 โจทก์ จะ ฟ้องขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดินพิพาทไม่ได้ นั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้าบัญญัติ ใจความ ว่า ภายใน 10 ปี นับแต่ วันที่ ได้รับ โฉนด ที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตาม วรรคหนึ่ง ห้าม มิให้ บุคคล ตาม วรรคสอง(3) ผู้ ได้ มา ซึ่ง สิทธิ ใน ที่ดิน ดังกล่าว โอน ที่ดิน นั้น ให้ แก่ ผู้อื่นเว้นแต่ เป็น การ ตกทอด ทาง มรดก หรือ โอน ให้ แก่ ทบวง การเมือง องค์การของรัฐ บาลตาม กฎหมาย ว่าด้วย การ จัดตั้ง องค์การ ของรัฐ บาล รัฐวิสาหกิจที่ จัดตั้ง ขึ้น โดย พระราชบัญญัติ หรือ โอน ให้ แก่ สหกรณ์ เพื่อ ชำระหนี้โดย ได้รับ อนุมัติ จาก นายทะเบียน สหกรณ์ และ วรรคหก บัญญัติ ใจความ ว่าภายใน กำหนด ระยะเวลา ห้ามโอน ตาม วรรคห้า ที่ดิน นั้น ไม่อยู่ ใน ข่ายแห่ง การ บังคับคดี เห็น ได้ว่า ที่ดินพิพาท ที่ โจทก์ ได้รับ มา ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ ซึ่ง อยู่ ระหว่าง กำหนด ระยะเวลาห้ามโอน ภายใน 10 ปี นั้น เป็น ที่ดิน ที่ รัฐ ยัง ไม่ได้ มอบ สิทธิ ครอบครองให้ แก่ โจทก์ โจทก์ คง มีสิทธิ เพียง ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท เท่านั้นเมื่อ โจทก์ ไม่มี สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท จึง ไม่อาจ สละ หรือโอนสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377 หรือ มาตรา 1378 ให้ แก่ ผู้อื่น ได้ การ ที่ โจทก์ ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่มี ผล ตาม กฎหมาย จำเลย ทั้ง สอง ไม่มี สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาท เมื่อ โจทก์ ไม่ประสงค์ จะ ให้ จำเลย ทั้ง สองอยู่ ใน ที่ดินพิพาท อีก ต่อไป โจทก์ ย่อม มีอำนาจ ฟ้องขับไล่ จำเลย ทั้ง สองออกจาก ที่ดินพิพาท ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา มา ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share