คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ตามลักษณะงานของลูกจ้างลูกจ้างต้องออกไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัดทุกเดือนเดือนละประมาณ25วันระหว่างออกไปปฏิบัติงานนั้นนายจ้างจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงอันได้แก่ค่าที่พักและค่าอาหารแก่โจทก์วันละ230บาทและมีลักษณะเป็นการเหมาจ่ายเพราะโจทก์ไม่ต้องแสดงใบเสร็จรับเงินเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานของลูกจ้างถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานส่วนเงินค่ารับรองวันละ15บาทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างที่ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดนั้นแม้จะมีจำนวนแน่นอนและเป็นการเหมาจ่ายแต่โดยลักษณะของเงินดังกล่าวเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่ารับรองลูกค้าของนายจ้างที่ลูกจ้างไปติดต่อด้วยจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการทำงานของลูกจ้างมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ทำ หน้าที่ เป็นพนักงานขาย และ เก็บ เงิน ได้ ค่าจ้าง คือ เงินเดือน ค่าครองชีพค่านายหน้า จาก การ ขาย เบี้ยเลี้ยง และ ค่ารับรอง ต่อมา จำเลย เลิกจ้างโจทก์ โดย โจทก์ ไม่ มี ความผิด จำเลย จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ จำนวนหนึ่ง ยัง ขาดอยู่ อีก 44,100 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย จ่ายเงิน ค่าชดเชยที่ ขาด อยู่ ดังกล่าว พร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์ ครบถ้วน แล้ว สำหรับเบี้ยเลี้ยง และ ค่ารับรอง มิใช่ ค่าจ้าง เพราะ มิใช่ เงิน ที่ นายจ้างให้ แก่ ลูกจ้าง เป็น การ ตอบแทน การ ทำงาน ตาม ปกติ แต่ เป็น เงินที่ โจทก์ จะ ได้ รับ จาก จำเลย ใน การ ทำงาน ใน เขต ต่างจังหวัด เพื่อเป็น ค่าใช้จ่าย สำหรับ ค่า ที่พัก โรงแรม ค่า อาหาร รวมทั้ง เป็นค่าใช้จ่าย สำหรับ รับรอง ลูกค้า ของ จำเลย ซึ่ง โจทก์ เลี้ยง รับรองใน การ ที่ โจทก์ เดินทาง ไป พบ ลูกค้า เพื่อ ขาย สินค้า และ เก็บ เงินจาก ลูกค้า ใน ต่างจังหวัด การ เดินทาง ไป ต่างจังหวัด เป็น วัน เวลาที่ ไม่ แน่นอน เพราะ ขึ้น อยู่ กับ คำสั่ง ของ จำเลย เบี้ยเลี้ยง และค่า รับรอง จึง เป็น ส่วนหนึ่ง ของ ค่าใช้จ่าย ของ บริษัท จำเลย มิใช่ค่าจ้าง โจทก์ ไม่ มี สิทธิ นำ เงิน ดังกล่าว มา รวม คำนวณ เป็นค่าชดเชย ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า เบี้ยเลี้ยง และ ค่ารับรอง เป็น เงิน ที่จำเลย จ่าย ให้ แก่ โจทก์ ใน ลักษณะ เหมาจ่าย มีจำนวน แน่นอน เพื่อตอบแทน การ ทำงาน ใน เวลา ทำงาน ปกติ ของ วัน ทำงาน ของ โจทก์ จึงเป็น ค่าจ้าง ต้อง นำ มา รวม คำนวณ เป็น ค่าชดเชย ด้วย พิพากษา ให้จำเลย ชำระ เงิน 44,100 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปีนับ แต่ วัน เลิกจ้าง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ได้ ความ ว่า บริษัทจำเลย มี สำนักงาน อยู่ ที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์ ทำ หน้าที่ พนักงานขายและ เก็บ เงิน จาก ลูกค้า ของ จำเลย ซึ่ง อยู่ ใน เขต ต่างจังหวัด โดยโจทก์ ต้อง ออก ไป ทำงาน ต่างจังหวัด เดือน หนึ่ง ประมาณ 25 วัน ระหว่างที่ ออก ไป ทำงาน ต่างจังหวัด โจทก์ จ่าย เบี้ยเลี้ยง อัน ประกอบ ด้วยค่า ที่พัก วันละ 130 บาท ค่าอาหาร วันละ 100 บาท และ ค่า รับรอง วันละ15 บาท ยกเว้น วัน เดินทาง กลับ โจทก์ จะ ไม่ มี สิทธิ ได้ ค่า ที่พักขณะ ที่ โจทก์ อยู่ กรุงเทพมหานคร โจทก์ จะ ไม่ ได้ รับ เบี้ยเลี้ยงและ ค่ารับรอง จาก จำเลย
สำหรับ ปัญหา ที่ ว่า เบี้ยเลี้ยง อัน ได้ แก่ ค่า ที่พัก และ ค่าอาหาร ที่ จำเลย จ่าย ให้ แก่ โจทก์ เป็น ค่าจ้าง หรือไม่ นั้น ศาลฎีกาเห็น ว่า ตาม ลักษณะ งาน ของ โจทก์ โจทก์ จะ ต้อง ออก ไป ปฏิบัติ งานที่ ต่างจังหวัด ทุก เดือน เดือนละ ประมาณ 25 วัน ซึ่ง ระหว่าง ออกปฏิบัติ งาน ใน ต่างจังหวัด จำเลย จะ จ่าย เบี้ยเลี้ยง ให้ แก่ โจทก์วันละ 230 บาท ซึ่ง เงิน ดังกล่าว นี้ มี จำนวน แน่นอน และ มี ลักษณะเป็น การ เหมาจ่าย เพราะ โจทก์ ไม่ ต้อง แสดง ใบเสร็จรับเงิน วันใดโจทก์ จ่าย ค่า ที่พัก และ ค่า อาหาร ไม่ ถึง 230 บาท ก็ ไม่ ต้อง คืนเงิน ส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่ จำเลย หรือ หาก วันใด จ่าย เกินไป ก็ จะเบิก ส่วน ที่ เกิน จาก จำเลย ไม่ ได้ เบี้ยเลี้ยง ที่ จำเลย จ่าย ให้แก่ โจทก์ วันละ 230 บาท จึง เป็น การ จ่าย เพื่อ ตอบแทน การ ทำงาน ในเวลา ทำงาน ปกติ ของ วัน ทำงาน ของ โจทก์ ที่ ต้อง ออก ปฏิบัติ งานต่างจังหวัด เดือน ละ ประมาณ 25 วัน เป็น ประจำ ทุก เดือน ถือ ได้ ว่าเป็น ค่าจ้าง ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จึง ต้อง นำ มา รวม คำนวณ เป็น ค่าชดเชย ด้วย ส่วน ค่า รับรองวันละ 15 บาท ที่ จำเลย จ่าย ให้ แก่ โจทก์ นั้น แม้ จะ มี จำนวน แน่นอนและ มี ลักษณะ เป็น การ เหมาจ่าย แต่ โดย ลักษณะ แล้ว เงิน ดังกล่าวจำเลย จ่าย ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ เป็น ค่า รับรอง ลูกค้า ของ จำเลย ที่โจทก์ ไป ติดต่อ ด้วย จึง เป็นเงิน ที่ จำเลย จ่าย เพื่อช่วย ค่าใช้จ่ายใน การ ทำงาน ของ โจทก์ หา ใช่ จ่าย เพื่อ ตอบแทน การ ทำงาน ของ โจทก์ไม่ ย่อม ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น ค่าจ้าง ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ดังกล่าว มา แล้ว ข้างต้น ไม่ ต้อง นำ มา รวมคำนวณ เป็น ค่าชดเชย ด้วย โจทก์ คง ได้ รับ ค่าชดเชย เพียง 41,400 บาทอุทธรณ์ ของ จำเลย เฉพาะ ค่า รับรอง ฟัง ขึ้น ส่วน เบี้ยเลี้ยง ฟังไม่ ขึ้น
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย จำนวน 41,400 บาท แก่โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง.

Share