คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินส่วนของผู้ตายด้วยเจตนาเป็นเจ้าของก่อนผู้ตายถึงแก่ความตายที่ดินยังคงเป็น มรดกของผู้ตายจำเลยจึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนของผู้ตายโดยการ ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ คู่ความในคดีก่อนจึงเป็น บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมิได้ครอบครองที่ดินส่วนของผู้ตายโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10ปีคำสั่งศาลในคดีก่อนที่ว่าที่ดินส่วนของผู้ตายเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองจึงไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2) จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทส่วนของผู้ตายทั้งหมดโดยการครอบครองทั้งๆที่จำเลยมิได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง10ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้นจนศาลหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองแล้วจำเลยนำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่นจำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605วรรคหนึ่ง แม้จำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของผู้ตายมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเลยอันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตามบุตรของจำเลยซึ่งเป็น ผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตายย่อม สืบมรดกของผู้ตายเสมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1607 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึง ไม่มี ประเด็นเรื่อง อายุความในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง จำเลย นาย จวม รุจิรัตน์ เป็น บุตร ของ นาย บุญช่วย หรือ ช่วย รุจิรัตน์หรือรุจิรัก นาย จวม ซึ่ง ถึงแก่ความตาย ไป ก่อน นาย บุญช่วย มี บุตร 3 คน โจทก์ ที่ 1 จำเลย และ นาย บุญช่วย ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม กัน ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2505ตำบล บ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา โดย โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ถือ กรรมสิทธิ์คน ละ 7 ไร่ 60 ตารางวา นาย บุญช่วย ถือ กรรมสิทธิ์ 14 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา นาย บุญช่วย ถึงแก่ความตาย จำเลย นำ ความเท็จ ไป ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาลชั้นต้น ให้ มี คำสั่ง ว่า จำเลย ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ส่วนของ นาย บุญช่วย ที่ มี อยู่ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2505 ดังกล่าว โดย การ ครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ จำเลย ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย โดย การ ครอบครอง จำเลย นำ คำสั่ง ของ ศาล ไป จดทะเบียน การ ได้ มา ซึ่งกรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ส่วน ดังกล่าว เป็น ชื่อ ของ จำเลย ความจริง ที่ดินส่วน ดังกล่าว เป็น มรดก ของ นาย บุญช่วย โจทก์ ที่ 1 และ จำเลยร่วม กัน ครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าว แทน ทายาท ของ นาย บุญช่วย คนอื่น ๆ การกระทำ ของ จำเลย เป็น การ ปิดบัง ทรัพย์มรดก มาก กว่า ส่วน ที่ ตน จะ ได้รับจึง ต้อง ถูก กำจัด มิให้ ได้รับ มรดก เลย ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้นและ ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน เพิกถอน การ จดทะเบียน การ ได้ มา โดยการ ครอบครอง ซึ่ง กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย หาก จำเลย ไม่ยอม ไป จดทะเบียน เพิกถอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทนการแสดง เจตนา ของ จำเลย และ พิพากษา ว่า จำเลย ถูก กำจัด มิให้ได้รับ มรดก ของ นาย บุญช่วย ให้ โจทก์ ทั้ง สอง และ ทายาท ของ นาย จวม ได้รับ มรดก ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย
จำเลย ให้การ ว่า นาย เจิม ไวภารา ตา ของ โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ได้ จดทะเบียน การ ให้ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2505 ตำบล บ้านโพ อำเภอ บางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย คน ละ 7 ไร่ 60 ตารางวา ส่วน ที่ เหลือ อีก 14 ไร่ 1 งาน40 ตารางวา (ที่ ถูก น่า จะ เป็น 14 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา ) เป็นของ นาย บุญช่วย ต่อมา จำเลย แต่งงาน นาย บุญช่วย ยก ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย ให้ จำเลย จำเลย ครอบครอง ทำนา ใน ที่ดิน ดังกล่าว ตลอดมา จน กระทั่ง นาย บุญช่วย ถึงแก่ความตาย โดย ไม่ได้ นำ ไป จดทะเบียน การ ให้ จำเลย ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาลชั้นต้น ใน ปี 2527 ให้ มีคำสั่ง ว่า จำเลย ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย โดย การ ครอบครอง โจทก์ ที่ 1 เบิกความ เป็น พยาน ยืนยัน การ ครอบครองของ จำเลย ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย โดย การ ครอบครอง โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้องคดี นี้ เกินกว่า1 ปี นับแต่ นาย บุญช่วย ถึงแก่ความตาย ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สอง ขาดอายุความ มรดก แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ว่า ให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน การ ได้ มา ซึ่งกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย ใน โฉนด เลขที่ 2505ตำบล บ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ของ จำเลย ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน เพิกถอน การ จดทะเบียน กรรมสิทธิ์ ดังกล่าวหาก จำเลย ไม่ยอม ไป จดทะเบียน ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดงเจตนา ของ จำเลย ให้ กำจัด จำเลย มิให้ รับมรดก ของ นาย บุญช่วย และ ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ที่ดิน มรดก ส่วน ของ นาย บุญช่วย ที่ มี อยู่ ใน โฉนด เลขที่ 2505 คน ละ 1 ใน 4 ส่วน คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้เป็น ยุติ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง จำเลย และ นาย จวม รุจิรัตน์ เป็น บุตร ของ นาย บุญช่วยหรือช่วย รุจิรัตน์หรือรุจิรัก นาย จวม ซึ่ง ถึง แก่ ความตาย ไป ก่อน นาย บุญช่วย มี บุตร 3 คน โจทก์ ที่ 1 จำเลย และ นาย บุญช่วย ถือ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2505 ตำบล บ้านโพ อำเภอ บางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา ตาม ใบแทน โฉนด ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 3 ร่วมกันโดย นาย บุญช่วย ถือ กรรมสิทธิ์ 14 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา โจทก์ ที่ 1และ จำเลย ถือ กรรมสิทธิ์ คน ละ 7 ไร่ 60 ตารางวา ทั้งนี้ โดยนาย เจิม ไวภารา ตา ของ โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ยก ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย ให้ นาย บุญช่วย ใน ปี 2484 และ ยก ที่ดิน ส่วน ของ โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ให้ โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ใน ปี 2487 ขณะ โจทก์ ที่ 1และ จำเลย อายุ 7 ปี และ 13 ปี ตามลำดับ นาย บุญช่วย ถึงแก่ความตาย เมื่อ วันที่ 29 มิถุนายน 2519 ตาม มรณบัตร เอกสาร หมาย จ. 2 โดยมิได้ ทำ พินัยกรรม ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่154/2527 ของ ศาลชั้นต้น ว่า ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ของ นาย บุญช่วย ใน โฉนด เลขที่ 2505 ตำบล บ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย โดย การ ครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ตาม คำร้องขอ ของ จำเลยจำเลย ได้ นำ คำสั่งศาล ดังกล่าว ไป จดทะเบียน ลงชื่อ จำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย ใน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 2505แล้ว
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย เป็น ข้อ แรก ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า ที่ดินพิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย โดย การ ครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มิใช่ เป็น มรดก ของนาย บุญช่วย หรือไม่ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ทั้ง สอง มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ฟังได้ ว่า จำเลย มิได้ ครอบครอง ที่ดินส่วน ของ นาย บุญช่วย ใน โฉนด เลขที่ 2505 ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ก่่อนนาย บุญช่วย ถึงแก่ความตาย ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย ใน โฉนด เลขที่ 2505 จึง เป็น มรดก ของ นาย บุญช่วย โดย จำเลย ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ส่วน ของ นาย บุญช่วย ดังกล่าว โดย การ ครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ฎีกา ของ จำเลยข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ใช่ บุคคลภายนอก คำสั่ง ของศาลชั้นต้น ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 154/2527 ว่า ที่ดิน ส่วน ของนาย บุญช่วย ใน โฉนด เลขที่ 2505 ตำบล บ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย โดย การ ครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ย่อม ผูกพัน โจทก์ทั้ง สอง นั้น เห็นว่า โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ใช่ คู่ความ ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 154/2527 ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ทั้ง สอง จึง เป็น บุคคลภายนอกดังนั้น เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง สามารถ พิสูจน์ ได้ว่า ที่ดิน ส่วน ของนาย บุญช่วย ใน โฉนด เลขที่ 2505 ดังกล่าว เป็น มรดก ของ นาย บุญช่วย จำเลย มิได้ ครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าว โดย สงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนาเป็น เจ้าของ ติดต่อ กัน เป็น เวลา 10 ปี คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าวจึง ไม่ผูกพัน โจทก์ ทั้ง สอง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า การ ที่ จำเลย นำ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ไป จดทะเบียนการ ได้ มา ซึ่ง กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ส่วน ของ นาย บุญช่วย ใน โฉนด เลขที่ 2505 ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ไม่เป็น การ ยักย้าย หรือ ปิดบังทรัพย์มรดก อัน จะ เป็นเหตุ ให้ จำเลย ถูก กำจัด มิให้ ได้ มรดก นั้น เห็นว่าเมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ดังกล่าว ข้างต้น แล้ว ว่า ที่ดินพิพาท เนื้อที่14 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา เป็น มรดก ของ นาย บุญช่วย โดย นาย บุญช่วย มี บุตร 4 คน คือ โจทก์ ทั้ง สอง จำเลย และ นาย จวม แต่ นาย จวม ถึงแก่ความตาย ก่อน นาย ช่วย โดย นาย จวม มี บุตร 3 คน นาย บุญช่วย ถึงแก่ความตาย โดย มิได้ ทำ พินัยกรรม จำเลย จึง มีสิทธิ ได้ ส่วนแบ่ง ใน ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น มรดก ของ นาย บุญช่วย เพียง 1 ใน 4ส่วน คือ 3 ไร่ เศษ เท่านั้น เมื่อ จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล มี คำสั่งแสดง ว่า จำเลย มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ส่วน ของ นาย บุญช่วย ทั้งหมด โดย การ ครอบครอง ทั้ง ๆ ที่ จำเลย มิได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท โดย สงบและ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ เป็น เวลา ถึง 10 ปี ก่อน จำเลยยื่น คำร้องขอ เช่นนั้น แล้ว จำเลย นำพยาน หลักฐาน มา ไต่สวน ใน คดีดังกล่าว จน ศาลชั้นต้น หลงเชื่อ และ มี คำสั่ง ว่า จำเลย มี กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาท ส่วน ของ นาย บุญช่วย ใน โฉนด เลขที่ 2505 โดย การ ครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว จำเลยนำ คำสั่งศาล ชั้นต้น นั้น ไป จดทะเบียน การ ได้ มา ซึ่ง กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท จึง ถือได้ว่า จำเลย ได้ ยักย้าย หรือ ปิดบัง ทรัพย์มรดก มาก กว่า ส่วนที่ ตน จะ ได้ โดย ฉ้อฉล หรือ รู้ อยู่ ว่า ตน ทำให้ เสื่อม ประโยชน์ ของ ทายาทคนอื่น จำเลย จึง ต้อง ถูก กำจัด มิให้ ได้รับ มรดก เลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 วรรคหนึ่ง ฎีกา ของ จำเลยข้อ นี้ จึง ฟังไม่ขึ้น อีก เช่นกัน
ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ที่ 1 เบิกความ เป็น พยาน ใน คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 154/2527 ของ ศาลชั้นต้น ยืนยัน ว่า จำเลย ครอบครองที่ดิน ของ นาย บุญช่วย โดย สงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ เกินกว่า 10 ปี โดย เจตนา ให้ หลาน และ ทายาท อื่น ของ นาย บุญช่วย ไม่ได้ รับมรดก ด้วย โจทก์ ที่ 1 ย่อม ต้อง ได้รับ ผล ใน ลักษณะคดี ใน ฐานพยาน เท็จ ไม่ได้ รับมรดก ที่ดิน ใน กรณี พิพาท นี้ ด้วย นั้น เห็นว่า เป็นข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ต้องห้าม ไม่ให้ ฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย และ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า คดี ของ โจทก์ทั้ง สอง ขาดอายุความ แล้ว นั้น ปรากฏว่า ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง โดย ไม่ได้ วินิจฉัย ปัญหา เรื่อง ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง ขาดอายุความ หรือไม่ เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ จำเลย ก็ ไม่ได้ ยก ปัญหาเรื่อง ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง ขาดอายุความ ตั้ง เป็น ประเด็น ไว้ ใน คำแก้อุทธรณ์จึง ไม่มี ประเด็น เรื่อง อายุความ ใน ชั้นอุทธรณ์ ที่ จำเลย ฎีกา ว่าฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง ขาดอายุความ จึง เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กันมา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ทั้ง ไม่ใช่ ปัญหาข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เช่นกันศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย เป็น ข้อ สุดท้าย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สองว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลย ยักย้าย หรือ ปิดบัง ทรัพย์มรดก โดยฉ้อฉล และ รู้ อยู่ ว่า ทำให้ เสื่อม ประโยชน์ ของ ทายาท อื่น จำเลย ต้องถูก กำจัด มิให้ ได้รับ มรดก แต่ จำเลย มี บุตร บุตร ของ จำเลย จึง สืบ มรดกต่อไป เหมือน หนึ่ง ว่า จำเลย ตาย แล้ว ตาม นัย แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1607 เป็น การ ไม่ชอบ เพราะจำเลย ถูก กำจัด ไม่ให้ รับมรดก หลัง เจ้ามรดก ตาย มิใช่ ถูก กำจัด ไม่ให้รับมรดก ก่อน เจ้ามรดก ตาย จำเลย รวมทั้ง ผู้สืบสันดาน ของ จำเลยจึง ไม่อาจ สืบ มรดก ของ นาย บุญช่วย ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1607 ต้อง อยู่ ภายใต้ บังคับ แห่ง มาตรา 1639 จะ นำ บทบัญญัติมาตรา 1607 มา ใช้ ไม่ได้ ที่ดิน มรดก ส่วน ของ นาย บุญช่วย ใน โฉนด เลขที่ 2505 จึง ต้อง แบ่ง เป็น 3 ส่วน ตาม ฟ้อง นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 บัญญัติ ให้ ผู้สืบสันดานของ ทายาท ที่ ถูก กำจัด มิให้ รับมรดก รับมรดก แทนที่ ทายาท นั้น ได้ ใน กรณี ที่ทายาท นั้น ถูก กำจัด มิให้ รับมรดก ก่อน เจ้ามรดก ตาย เท่านั้น ก็ ตามแต่ มาตรา 1607 บัญญัติ ว่า “การ ถูก กำจัด มิให้ รับมรดก นั้น เป็น การเฉพาะตัว ผู้สืบสันดาน ของ ทายาท ที่ ถูก กำจัด สืบ มรดก ต่อไป เหมือน หนึ่งว่า ทายาท นั้น ตาย แล้ว ” โดย มิได้ บัญญัติ ว่า ผู้สืบสันดาน ของ ทายาทที่ ถูก กำจัด มิให้ รับมรดก สืบ มรดก ต่อไป ได้ เฉพาะ ใน กรณี ที่ ทายาท นั้นถูก กำจัด มิให้ รับมรดก ก่อน เจ้ามรดก ตาย เท่านั้น ดังนั้นแม้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ ยักย้าย หรือ ปิดบัง ทรัพย์มรดก ของนาย บุญช่วย เจ้ามรดก มาก กว่า ส่วน ที่ ตน จะ ได้ และ ต้อง ถูก กำจัด มิให้ ได้รับ มรดก ของ นาย บุญช่วย เลย อันเป็น การ ถูก กำจัด มิให้ ได้รับ มรดก หลัง เจ้ามรดก ตาย ก็ ตาม บุตร ของ จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้สืบสันดานของ จำเลย ทายาท ผู้ ถูก กำจัด มิให้ รับมรดก ของ นาย บุญช่วย ย่อม สืบ มรดก ของ นาย บุญช่วย ต่อไป ได้ เหมือน หนึ่ง ว่า จำเลย ตาย แล้ว ตาม บทบัญญัติ แห่ง มาตรา 1607 และ บทบัญญัติ มาตรา 1607 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หา ได้ อยู่ ภายใต้ บังคับ ของ มาตรา 1639ตาม ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา ไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ที่ดิน มรดก ส่วน ของ นาย บุญช่วย ที่ มี อยู่ ใน โฉนด เลขที่ 2505 คน ละ 1ใน 4 ส่วน นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share