แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้วแม้โจทก์ที่2จะมิได้ฟ้องจำเลยที่1และที่2ทันทีหลังจากที่จำเลยที่1จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามก็หาทำให้โจทก์ที่2เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่1และที่2ไปไม่การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยที่1และที่2จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ที่2จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียลเต็ลแล็ปปิดารี่จำกัดและมีชื่อภาษาอังกฤษว่าORIENTALCAPIDARYCOMPANYLIMITEDส่วนจำเลยที่1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2530โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่จำกัดมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าORIENTALGEMESLAPIDARYCOMPANYLIMITEDแม้ชื่อของโจทก์ที่2มีสองคำส่วนชื่อของจำเลยที่1มีสามคำก็ตามแต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เป็นคำเดียวกันคือคำว่า”โอเรียนเต็ล”และ”ORIENTAL”ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่2กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่1นั้นแม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่2สะกดว่า”แล็ปปิดารี่”ส่วนของจำเลยที่1สะกดคำว่า”แล็ปปิดารี่”ก็ตามแต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ”LAPIDARY”ชื่อของโจทก์ที่2และจำเลยที่1คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่1มีคำว่า”เจมส์”อยู่ตรงกลางโดยชื่อของโจทก์ที่2ไม่มีคำกล่าวเท่านั้นบุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่2และชื่อของจำเลยที่1ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกันโจทก์ที่2และจำเลยที่1ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกันทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกันโดยจำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่2เป็นเวลาถึง10ปีการกระทำของจำเลยที่1โดยจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่2ซึ่งจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420และจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ที่2นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่2จากการที่จำเลยที่1ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่2เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่2ได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มก่อกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้วอันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้นเมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้วบริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420ต่อไป
ย่อยาว
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหาย 6,096,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ระงับหรือยุติการใช้ชื่อ “บริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่ จำกัด” ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเป็นชื่อสถานประกอบการค้า ให้จำเลยทั้งสี่ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อบริษัทหรือจดทะเบียนเพิกถอนการใช้ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1ทะเบียนเลขที่ 1668/2530 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการจดทะเบียนเพิกถอนการใช้ชื่อบริษัท
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริต และขาดอายุความ ชื่อของโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ไม่เหมือนหรือคล้ายกัน ทั้งสถานที่ตั้งของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ก็อยู่คนละแห่ง โจทก์ทั้งสองจึงไม่เสียหาย ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดของจำเลยที่ 1 โดยใช้ชื่อที่มีส่วนคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 1 แต่ไม่พ้องและคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2 พร้อมมีหนังสือยืนยันการใช้ชื่อว่าหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบเองทั้งสิ้น จำเลยที่ 4จึงยอมจดทะเบียนนิติบุคคลให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และที่ 4ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่เสียหายฟ้องโจทก์ขาดอายุความและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115 ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 240,000 บาท ห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อ”บริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่ จำกัด” ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเป็นชื่อสถานประกอบการค้า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 1 หรือจดทะเบียนเพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ทะเบียนเลขที่ 1668/2530หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย คำขออื่นให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้เป็นยุติว่าเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2498 โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญใช้ชื่อว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บริษัทโอเรียนเต็ลจิวเว็ลรี่ ต่อมาเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโอเรียนเต็ลจิวเว็ลรี่ใช้ชื่อภาษาต่างประเทศว่า ORIENTAL JEWELRY REGISTEREDORDINARY PARINERSHIP โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่า บริษัทโอเรียนเต็ล แล็ปปิดารี่จำกัด โดยใช้ชื่อภาษาต่างประเทศว่า ORIENTAL LAPIDARYCOMPANY LIMITED เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2520 และจำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท”โอเรียนเต็ลเจมส์แลบิดารี่” จำกัด โดยใช้ชื่อภาษาต่างประเทศว่าORIENTAL GEMS LAPIDARY COMPANY LIMITED เมื่อวันที่ 9 เมษายน2530 โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของจำเลยที่ 1
ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า เมื่อโจทก์ที่ 2 เห็นว่าชื่อของจำเลยที่ 1 เหมือนหรือคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2โจทก์ที่ 2 ต้องใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ปฎิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1115 หลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่โจทก์ที่ 2 เพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการจนกระทั่งจำเลยที่ 1 ได้เปิดกิจการและลงทุนในการดำเนินการเสียเงินไปเป็นจำนวนมากแล้ว จึงเพิ่งนำคดีมาฟ้อง เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2เป็นคดีนี้นั้น เห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1115วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าหากว่าชื่อบริษัทซึ่งตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิพ้องกับชื่อบริษัทซึ่งได้จดทะเบียนแล้วก็ดีหรือคล้ายคลึงกับชื่อเช่นกล่าวนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ก็ดีท่านว่าบุคคลผู้ที่มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เริ่มก่อการบริษัทก็ได้ และจะร้องขอให้ศาลสั่งบังคับเพื่อเปลี่ยนชื่อนั้นเสียใหม่ก็ได้” โดยไม่มีบทบัญญัติบังคับให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นได้จดทะเบียนแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์ที่ 2 ซึ่งอ้างว่าชื่อจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2เป็นผู้เริ่มก่อการเหมือนหรือคล้ายคลึงกับชื่อของโจทก์ที่ 2ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว มิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2ในทันทีหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบิกษาแล้วก็ตามก็หาทำให้โจทก์ที่ 2เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1115 ไปไม่ โจทก์ที่ 2 ยังคงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดโจทก์ที่ 2 มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1และที่ 2 ว่าชื่อของโจทก์ที่ 2 และของจำเลยที่ 1 เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้มหาชนหลงผิดหรือไม่ ในปัญหานี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ที่ 2 ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2520 โดยใช้ชื่อว่าบริษัท”โอเรียนเต็ล แล็ปปิดารี่” และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า ORIENTALLAPIDARY COMPANY LIMITED ส่วนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2530 โดยใช้ชื่อว่าบริษัท”โอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่” จำกัด มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ORIENTAL GEMS LAPIDARY COMPANY LIMITEDโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างประกอบธุรกิจทำการค้าเครื่องประดับอัญมณีโดยโจทก์ที่ 2 ประกอบธุรกิจการค้าเช่นนั้นมาก่อนจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 10 ปี สำนักงานใหญ่ของโจทก์ที่ 2 ตั้งอยู่ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีสาขาอยู่นอกเขตดังกล่าวด้วยส่วนสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานครศาลฎีกาได้พิเคราะห์ชื่อของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเปรียบเทียบกันแล้ว เห็นว่า แม้ชื่อของโจทก์ที่ 2 มีสองคำส่วนชื่อของจำเลยที่ 1 มีสามคำก็ตาม แต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 เป็นคำคำเดียวกันคือ คำว่า “โอเรียนเต็ล” และ”ORIENTAL” ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่ 2 กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่ 1 นั้นแม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกัน โดยคำท้ายของชื่อโจทก์ที่ 2 สะกดว่า “แล็ปปิดารี่” และคำท้ายของชื่อจำเลยที่ 1สะกดว่า “แลปิดารี่” ก็ตาม แต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ “LAPIDARY”ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของนาย “ยรรยง พวงราช” รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกรมทะเบียนการค้าที่เบิกความเป็นพยานจำเลยที่ 1 และ ที่ 2ว่าชื่อนิติบุคคลซึ่งอ่านเป็นภาษาต่างประเทศเช่นคำว่า แลปิดารี่และคำว่าแล็ปปิดารี่นั้น ในภาษาไทยสะกดต่างกัน แต่ภาษาต่างประเทศใช้ศัพท์คำเดียวกันถือว่าทั้งสองคำนั้นเป็นคำคำเดียวกัน จึงเห็นได้ว่าชื่อของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 คงมีข้อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่ 1 มีคำว่า “เจมส์” อยู่ตรงกลางโดยชื่อของโจทก์ที่ 2 ไม่มีคำดังกล่าวเท่านั้น บุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่ 2 และชื่อของจำเลยที่ 1 ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกันเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้าเช่นเดียวกันทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกันโดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าดังกล่าวหลังจากโจทก์ที่ 2 เป็นเวลาถึง 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และใช้ชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2 เช่นนั้นจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่ 2ให้คล้ายคลึงกับชื่อของโจทก์ที่ 2 จนน่าจะลวงให้มหาชนไปได้จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 และจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเป็นข้อสุดท้ายตามที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 หรือไม่ ในปัญหานี้ เห็นว่าเมื่อคดีฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการค้าอัญมณีเหมือนกับโจทก์ที่ 2 ซึ่งประกอบธุรกิจการค้าเช่นนี้มาก่อนจำเลยที่ 1 ถึงประมาณ 10 ปีและชื่อของจำเลยที่ 1 คล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2จนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้อันเป็นการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายนั้น ให้แก่โจทก์ที่ 2 ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 นำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 2 เสียหายเท่าใด จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 นั้น เห็นว่า แม้โจทก์ที่ 2นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่ 2 จากการที่จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2 ดังกล่าวเป็นจำนวนแน่นอนเพียงใด ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2ได้ตามที่เห็นสมควร ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงินจำนวนปีละ 120,000 บาทนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าเหมาะสมแล้ว แต่โดยที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะค่าเสียหายสำหรับส่วนที่ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับจากวันฟ้องขึ้นไปซึ่งยังไม่ขาดอายุความเท่านั้นจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2เป็นเงินเพียง 120,000 บาท ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้นเห็นว่า ที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เริ่มก่อการจำเลยที่ 1รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าหากว่าชื่อบริษัทซึ่งตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิพ้องกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วก็ดี หรือพ้องกับชื่อซึ่งตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนแล้วก็ดี หรือคล้ายคลึงกับชื่อเช่นกล่าวนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้ที่มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เริ่มก่อการบริษัทก็ได้” ซึ่งค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มก่อการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้ที่มีส่วนได้เสียตามมาตราดังกล่าวนั้นหมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลแล้วหรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้ว อันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทหลังในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทหลังที่ตั้งชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นเพราะในช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังไม่มีนิติบุคคลซึ่งใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกที่จะเป็นผู้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเช่นนั้นได้จึงจำเป็นต้องให้ผู้เริ่มก่อการบริษัทหลังนั้นเป็นผู้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังซึ่งใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้น เมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้วบริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 ต่อไป ดังนั้นเมื่อปรากฎว่าที่โจทก์ที่ 2ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เริ่มก่อการจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น โจทก์ที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 2ใช้ค่าเสียหายนับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2530 ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จนถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยมิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เริ่มก่อการจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายนับตั้งแต่วันจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของจำเลยที่ 1 จนถึงวันที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลให้แก่โจทก์ที่ 2 เลย จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1115 แต่อย่างใด
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 120,000 บาท และให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในเรื่องค่าเสียหาย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์