แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
หนังสือกระทรวงมหาดไทยเรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งของเทศบาลสุขาภิบาลและเมืองพัทยาเป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งเพื่อให้เทศบาลสุขาภิบาลและเมืองพัทยาถือเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้นมิใช่กฎหมายดังนั้นจะถือว่าผู้บังคับบัญชาทุกชั้นจะต้องร่วมรับผิดเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ได้จะต้องรับผิดเมื่อกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเท่านั้น
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ซึ่ง เคย ดำรง ตำแหน่ง รอง ปลัด และ รักษา การใน ตำแหน่ง ปลัดเทศบาล โจทก์ จำเลย ใน ฐานะ ผู้บังคับบัญชา ของ พนักงานจะ ต้อง รับผิด ทางแพ่ง ร่วม กับ ผู้บังคับบัญชา ทุก ระดับ ตาม หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0407/ว 569 ลงวันที่ 25 เมษายน 2532เรื่อง แนว ทางปฏิบัติ เกี่ยวกับ ความรับผิด ใน ทางแพ่ง ของ เทศบาลสุขาภิบาล และ เมือง พัทยา เมื่อ ต้น เดือน ตุลาคม 2528 ถึง วันที่ 13กรกฎาคม 2530 มี การทุจริต ที่ การเงิน ฝ่าย การประปา และ จำเลย ทำสัญญา รับสภาพหนี้ ต่อ โจทก์ แล้ว ผิดนัด ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงินจำนวน 1,016.47 บาท พร้อม ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ลงชื่อ รับสภาพหนี้ ด้วย ความ สำคัญผิดจำเลย ไม่ได้ เป็น ผู้กระทำผิด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 1,016.47 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า เจ้าหน้าที่การเงิน ฝ่าย การประปาของ โจทก์ เป็น ผู้ทุจริต เงิน ค่า น้ำประปา จำเลย ไม่มี ส่วน ร่วม หรือปฏิบัติ หน้าที่ บกพร่อง จน เกิด การทุจริต ขึ้น
วินิจฉัย ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า หนังสือ กระทรวงมหาดไทย ที่มท 0407/ว 569 ลงวันที่ 25 เมษายน 2532 เรื่อง แนว ทางปฏิบัติเกี่ยวกับ ความรับผิด ใน ทางแพ่ง ของ เทศบาล สุขาภิบาล และ เมือง พัทยาข้อ 1.4 ซึ่ง กำหนด ว่า “ใน กรณี ทุจริต ให้ พิจารณา ว่า ผู้บังคับบัญชาชั้น เหนือ ควบคุม เจ้าหน้าที่ ที่ กระทำ ทุจริต นั้น ทุก ชั้น รวมทั้งหัวหน้า ฝ่ายบริหาร ของ หน่วย การ บริหาร ราชการ ส่วน ท้องถิ่น เป็นผู้รับผิด ใน ทางแพ่ง นอกเหนือ ไป จาก ผู้รับผิด ทางแพ่ง ตาม ระเบียบ ราย อื่นด้วย ” นั้น เป็น เรื่อง ที่ กระทรวงมหาดไทย ได้ กำหนด หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับความรับผิด ใน ทางแพ่ง เพื่อ ให้ เทศบาล สุขาภิบาล และ เมือง พัทยาถือ เป็น แนว ปฏิบัติ เท่านั้น หนังสือ ดังกล่าว มิใช่ กฎหมาย ดังนั้นจะ ถือว่า ผู้บังคับบัญชา ทุก ชั้น จะ ต้อง ร่วมรับผิด เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชา กระทำ ทุจริต โดย เด็ดขาด ไม่ได้ เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ แล้ว ว่า จำเลย ไม่มี ส่วน ร่วม ใน การทุจริต หรือ ปฏิบัติ หน้าที่บกพร่อง จน เกิด การทุจริต ขึ้น จำเลย จึง ไม่ต้อง ร่วมรับผิดหนังสือ รับสภาพหนี้ จึง ปราศจาก หนี้ ที่ จะ รับ สภาพ และ ไม่มี ผลบังคับ แก่ กัน
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์