คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4740/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289วรรคแรกไม่มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองว่าจะต้องฟ้องร้องบังคับจำนองก่อนหรือจะต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาจึงจะขอรับชำระหนี้ได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าโจทก์และผู้รับจำนองจะต้องเป็นบุคคลฐานะเดียวกันไม่ได้หากผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยมีที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้จำนองเป็นประกันผู้ร้องย่อมอาศัยอำนาจแห่งการจำนองขอให้ศาลขายที่ดินโดยปลอดจำนองเพื่อนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่นได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 2,398,612.08 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,800,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ภายใน กำหนด 2 ปี นับแต่วัน ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษาโจทก์ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ของ จำเลยเพื่อ ขายทอดตลาด
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง เป็น ผู้รับจำนอง ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง เป็น ทรัพย์ ของ จำเลย ที่ โจทก์ นำยึด ไว้ ผู้ร้องกับ โจทก์ เป็น นิติบุคคล เดียว กัน และ เป็น เจ้าหนี้ ของ จำเลย ตาม คำพิพากษาโดย ศาล พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม2528 ให้ จำเลย ชำระหนี้ โจทก์ 2,398,612.08 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,800,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ จำเลย ไม่ชำระ หนี้ ให้ ยอดหนี้ ที่ ผู้ร้องขอรับ ชำระหนี้ ตาม คำร้อง กับ ยอดหนี้ ตาม คำพิพากษา ตามยอม เป็น ยอดหนี้เดียว กัน คิด ถึง วัน ยื่น คำร้อง เป็น เงิน 4,565,062.08 บาท ผู้ร้องใน ฐานะ เจ้าหนี้ จำนอง มีสิทธิ เหนือ ทรัพย์สิน ที่ โจทก์ นำยึด ไว้ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ จำนอง จำนวน 4,565,062.08 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,800,000 บาท นับ ถัด จากวันที่ ยื่น คำร้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ โดย ขอรับ ชำระหนี้ ก่อน โจทก์ และเจ้าหนี้ ราย อื่น ขอให้ งด การ ขายทอดตลาด จนกว่า ศาล จะ มี คำสั่ง คำร้องและ ใน การ ประกาศ ขายทอดตลาด ครั้ง ต่อไป ขอให้ ขาย โดย ปลอด จำนอง
จำเลย ยื่น คำร้องคัดค้าน ว่า จำเลย ไม่เคย นำ ที่ดิน ไป จำนองเพื่อ ประกัน เงินกู้ ผู้ร้อง ไม่มี สิทธิ ขอรับ ชำระหนี้ ใน ฐานะ เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง เนื่องจาก ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289เป็น กรณี ที่ ผู้ร้อง เป็น บุคคลภายนอก ไม่ใช่ โจทก์ ยื่น ขอรับ ชำระหนี้และ ผู้ร้อง ไม่มี สิทธิ ขอให้ ศาล สั่ง ให้ ขายทอดตลาด ที่ดิน โดย ปลอด จำนองเนื่องจาก ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ ให้ ทำได้ และ การ บังคับจำนอง ต้อง ทำเป็น คำฟ้อง ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดีขายทอดตลาด ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง โดย ปลอด จำนอง โดย ให้ ชำระ เงินจาก การ ขายทอดตลาด ดังกล่าว แก่ ผู้ร้อง ก่อน เจ้าหนี้ อื่น จำนวน4,565,062.08 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน1,800,000 บาท นับแต่ วันที่ 21 สิงหาคม 2534 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องของ ผู้ร้อง
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 วรรคแรก บัญญัติ ว่า “ถ้า บุคคล ใด ชอบ ที่ จะ บังคับ การ ชำระหนี้เอา จาก ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ตาม คำพิพากษา ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดีได้ ยึด ไว้ หรือ ชอบ ที่ จะ ได้ เงิน ที่ ขาย หรือ จำหน่าย ทรัพย์สิน เหล่านั้นโดย อาศัย อำนาจ แห่ง การ จำนอง ที่ อาจ บังคับคดี ได้ ก็ ดี หรือ อาศัย อำนาจแห่ง บุริมสิทธิ ก็ ดี บุคคล นั้น อาจ ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล ที่ ออกหมายบังคับคดี ให้ เอา เงิน ที่ ได้ มา นั้น ชำระหนี้ ตน ก่อน เจ้าหนี้ อื่น ๆ “ตาม บทบัญญัติ นี้ ไม่มี ข้อจำกัด สิทธิ ของ ผู้รับจำนอง ว่า จะ ต้อง ฟ้องร้องบังคับจำนอง ก่อน หรือ จะ ต้อง เป็น เจ้าหนี้ จำนอง ตาม คำพิพากษา จึง จะขอรับ ชำระหนี้ ได้ ทั้ง ไม่มี บทบัญญัติ ใด ระบุ ว่า โจทก์ และ ผู้รับจำนองจะ ต้อง เป็น บุคคล ฐานะ เดียว กัน ไม่ได้ หาก ผู้ร้อง เป็น เจ้าหนี้ของ จำเลย ผู้เป็น ลูกหนี้ ตาม คำพิพากษา โดย มี ที่ดิน ที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ ยึด ไว้ จำนอง เป็น ประกัน ผู้ร้อง ย่อม อาศัย อำนาจ แห่งการ จำนอง ขอให้ ศาล ขาย ที่ดิน โดย ปลอด จำนอง เพื่อ นำ เงิน ที่ ขาย ได้ชำระหนี้ แก่ ผู้ร้อง ก่อน เจ้าหนี้ อื่น ได้ แล้ว วินิจฉัย ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า จำเลย ได้ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน เป็น ประกัน เงินกู้ ต่อ ผู้ร้องจริง ผู้ร้อง จึง ชอบ ที่ จะ ใช้ สิทธิ ขอรับ ชำระหนี้ จำนอง ก่อน เจ้าหนี้ราย อื่น ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ได้
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น

Share