คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาดังกล่าวและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเมื่อสัญญาดังกล่าวยังไม่เลิกกันแม้ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจะอ้างอิงสัญญาฉบับเดียวกันแต่มูลฟ้องเกิดจากเหตุคนละคราวกันถือว่ามิใช่เรื่องเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย และ สามี จำเลย ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความกับ โจทก์ และ ภริยา โจทก์ ตกลง ว่า จำเลย จะ ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนด เลขที่ 55 ให้ โจทก์ ภายใน กำหนด 7 วัน นับแต่ วัน ทำ สัญญาหาก ฝ่าฝืน ยอม ให้ โจทก์ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ได้ และ ยอม ให้ ปรับ เป็น เงิน200,000 บาท ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เอกสาร ท้ายฟ้อง ข้อ 3และ ข้อ 8 แต่ จน บัดนี้ จำเลย ก็ ยัง ไม่ได้ ดำเนินการ ให้ โจทก์ บอกกล่าวให้ จำเลย ปฏิบัติ ตาม สัญญา แล้ว จำเลย ก็ เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ไปยื่น คำขอ และ จดทะเบียน โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 55 ให้ โจทก์ หาก จำเลยฝ่าฝืน ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่ได้ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา แต่ โจทก์มี ข้อ ขัดข้อง ใน การ รับโอน จึง ยัง ไม่ได้ โอน ที่ดินพิพาท กัน ฟ้องโจทก์เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 146/2534 ของ ศาลชั้นต้นที่ โจทก์ เคย ฟ้อง จำเลย โดย อาศัย มูลฟ้อง เรื่อง ผิดสัญญา ประนีประนอมยอมความ เช่นเดียวกัน ซึ่ง ปัจจุบัน อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ขอให้ ยกฟ้อง
เมื่อ โจทก์ นำพยาน เข้าสืบ หมด แล้ว จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ ชี้ขาดเบื้องต้น ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ฟ้องโจทก์ ใน คดี นี้ เป็น ฟ้องซ้อนกับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 146/2534 ของ ศาลชั้นต้น หรือไม่ ศาลชั้นต้นสอบ โจทก์ แล้ว เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ ให้ งดสืบพยาน จำเลยแล้ว ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 146/2534 พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง ที่ ให้ งดสืบพยาน จำเลย และ อุทธรณ์ คำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1 และ คู่ความ ไม่ฎีกา โต้แย้ง ว่า เมื่อ วันที่ 12ตุลาคม 2524 จำเลย และ สามี กับ โจทก์ และ ภริยา โจทก์ ได้ ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ เอกสาร หมาย จ. 1 ตกลง กัน ว่า จำเลย จะจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ ภายใน 7 วัน นับแต่วัน ทำ สัญญา หาก ผิดสัญญา ยอม ให้ เรียก ค่าเสียหาย และ ปรับ เป็น เงิน200,000 บาท ต่อมา วันที่ 18 เมษายน 2533 โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ชำระเบี้ยปรับ 200,000 บาท อ้างว่า จำเลย ผิดสัญญา ไม่ จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ ปรากฏ ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 146/2534 ของ ศาลชั้นต้นศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง คดี อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของศาลอุทธรณ์ ภาค 1 โจทก์ จึง ได้ ฟ้อง เป็น คดี นี้ ขอให้ จำเลย จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาท โดย อ้างว่า จำเลย ผิดสัญญา ประนีประนอม ยอมความฉบับ ดังกล่าว มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ว่า ฟ้องโจทก์ คดี นี้เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 146/2534 ของ ศาลชั้นต้นหรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า คดี ก่อน โจทก์ ฟ้อง อ้างว่า จำเลยผิดสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ไม่ไป จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่โจทก์ ภายใน 7 วัน จำเลย ต้อง รับผิด ชำระ เบี้ยปรับ 200,000 บาทให้ แก่ โจทก์ ตาม สัญญา ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 200,000 บาทส่วน คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง อ้าง ถึง การ ผิดนัด ผิดสัญญา ของ จำเลย ใน คดี ก่อนและ จำเลย ยัง คง เพิกเฉย ไม่ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้ แก่ โจทก์ ตาม สัญญา โจทก์ จึง บอกกล่าว ให้ จำเลย ติดต่อ โจทก์ เพื่อดำเนินการ ตาม สัญญา ดังกล่าว แต่ จำเลย ก็ เพิกเฉย อีก จะ เห็น ได้ว่าแม้ ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง คดี จะ อ้างอิง สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เอกสาร หมายจ. 1 ฉบับ เดียว กัน ก็ ตาม แต่ มูลฟ้อง เกิดจาก เหตุ คน ละ คราว กัน ซึ่งถือได้ว่า มิใช่ เรื่อง เดียว กัน กล่าว คือ คดี ก่อน โจทก์ อ้างว่า จำเลยผิดนัด ไม่ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ภายใน7 วัน นับแต่ วัน ทำ สัญญา แต่ คดี นี้ โจทก์ อ้างว่า จำเลย ผิดนัดไม่ ดำเนินการ ตาม สัญญา ดังกล่าว ตาม คำบอกกล่าว ต่อมา ของ โจทก์ ทั้งนี้เพราะ ไม่ปรากฏ ว่า มี การ ตกลง เลิกสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังกล่าวจำเลย ก็ ยัง คง มี หนี้ ที่ จะ ต้อง โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ตาม สัญญา ดังนั้น ฟ้องโจทก์ คดี นี้ จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 146/2534 ของ ศาลชั้นต้น ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายกฟ้อง โจทก์ โดย วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ ต้องห้าม ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 173 วรรคสาม (1) นั้น ไม่ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น อนึ่ง คดี นี้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งงดสืบพยาน จำเลย แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์ โดย ไม่ได้ วินิจฉัย ใน ประเด็นแห่ง คดี จึง ไม่ชอบ ด้วย วิธีพิจารณา ความ ศาลฎีกา เห็นสมควร ให้ ย้อนสำนวนไป ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการ สืบพยาน จำเลย ให้ สิ้น กระแสความแล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ให้ ศาลชั้นต้นดำเนิน กระบวนพิจารณา สืบพยาน จำเลย ต่อไป แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี

Share