คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ตกลงซื้อใบยาสูบแห้งจากจำเลยโดยโจทก์จ่ายเงินทดรองให้จำเลยก่อนเมื่อจำเลยขายใบยาสูบแห้งให้โจทก์แล้วให้โจทก์หักราคาใบยาสูบชำระหนี้ได้จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่งโจทก์จำเลยได้ทำสัญญามีข้อความว่ายอดหนี้ที่ค้างโจทก์ให้จำเลยแบ่งชำระหนี้ได้เป็นงวดๆรวม3งวดโดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยจากจำเลยหลังจากนั้นมาจำเลยขายใบยาสูบให้โจทก์อีกหลายครั้งเมื่อโจทก์หักเงินครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยยังคงค้างชำระหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่งหลังจากนั้นจำเลยไม่ได้ขายใบยาสูบให้โจทก์อีกเลยดังนี้สัญญาให้จำเลยแบ่งชำระหนี้เป็นงวดๆเป็นนิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของโจทก์และจำเลยอันมีผลผูกพันให้จำเลยชำระเงินทดรองล่วงหน้าซึ่งยังคงค้างโจทก์อยู่ตามฤดูการผลิตใบยาสูบการที่จำเลยละเลยไม่ชำระเงินทดรองจ่ายล่วงหน้าให้โจทก์ให้ครบถ้วนจึงเป็นการผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินทดรองล่วงหน้าให้โจทก์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดนั้นเป็นการเกินคำขอที่ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142และเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองและแก้ให้ถูกต้องได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ตกลง นำ ใบ ยาสูบ แห้ง ที่ ผลิต ได้ มา ขาย ให้แก่ โจทก์ โดย ขอให้ โจทก์ จ่ายเงิน ทดรอง เป็น ค่าซื้อ ใบ ยาสูบ แห้ง ล่วงหน้าให้ แก่ จำเลย ก่อน เมื่อ นำ ใบ ยาสูบ แห้ง มา ขาย ให้ แก่ โจทก์ แล้วจำเลย ยินยอม ให้ โจทก์ หักเงิน ค่า ใบ ยาสูบ แห้ง ชำระ เงินทดรอง ที่ จำเลยรับ ไป และ ยอม ให้ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ใน เงินทดรอง ที่ จำเลยรับ ไป ใน อัตรา ร้อยละ 18.5 ต่อ ปี ตั้งแต่ วันที่ จำเลย รับ เงิน ไป จากโจทก์ โจทก์ จ่ายเงิน ทดรอง ให้ จำเลย เป็น เงิน 2,500,000 บาทเมื่อ จำเลย ได้รับ เงินทดรอง ไป แล้ว จำเลย นำ ใบ ยาสูบ แห้ง มา ขาย ให้ แก่โจทก์ หลาย ครั้ง เมื่อ หักเงิน ทดรอง แล้ว จำเลย เป็น หนี้ โจทก์ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2528 เป็น เงิน ทั้งสิ้น 1,715,688.47 บาท ขอให้บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 1,715,688.47 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 18.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,425,509.20 บาท นับ ถัด จากวันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ติดต่อ ซื้อ ใบ ยาสูบ แห้ง จาก จำเลย โดยจ่ายเงิน ทดรอง ล่วงหน้า ให้ จำนวน 2,500,000 บาท ต่อมา ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2524 ถึง เดือน มิถุนายน 2525 จำเลย ขาย ใบ ยาสูบ แห้งให้ โจทก์ เป็น เงิน 1,581,340 บาท เมื่อ หักหนี้ เงินทดรอง ที่ จำเลยรับ มา แล้ว จำเลย เป็น หนี้ โจทก์ 918,660 บาท หนี้ จำนวน ดังกล่าวโจทก์ ไม่ คิด ดอกเบี้ย จำเลย ต่อมา ตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน 2526 ถึงเดือน เมษายน 2527 โจทก์ ซื้อ ใบ ยาสูบ แห้ง จาก จำเลย เป็น เงิน2,391,549 บาท โจทก์ หักหนี้ เงินทดรอง ไว้ 377,210.92 บาทตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน 2527 ถึง เดือน มิถุนายน 2528 โจทก์ ซื้อใบ ยาสูบ แห้ง จาก จำเลย เป็น เงิน 694,710 บาท โจทก์ หัก ชำระหนี้เงินทดรอง 173,677.50 บาท จำเลย จึง ยัง คง เป็น หนี้ โจทก์367,771.58 บาท ต่อมา โจทก์ ไม่เคย ขอ ซื้อ ใบ ยาสูบ แห้ง จาก จำเลยอีก และ ไม่ได้ บอกเลิก สัญญา โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน367,771.60 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน 70,941.60 บาท นับ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2529 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2529 และ ของ ต้นเงิน 367,771.60 บาท นับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ จำเลย ทำ สัญญา มี ข้อความ ว่า ยอดหนี้ที่ จำเลย ค้าง โจทก์ อยู่ นั้น โจทก์ ให้ จำเลย แบ่ง ชำระหนี้ เป็น 3 งวดโดย โจทก์ ไม่ คิด ดอกเบี้ย สัญญา ดังกล่าว เป็น นิติกรรม ซึ่ง เกิดขึ้นโดย การแสดง เจตนา ของ โจทก์ และ จำเลย อัน มีผล ผูกพัน ให้ จำเลย ชำระ เงินทดรอง ล่วงหน้า ซึ่ง ยัง ค้าง โจทก์ อยู่ ตั้งแต่ ปี 2524 เป็น เงิน 918,660บาท จำเลย ชำระ งวด แรก ใน ฤดู การ ผลิต ใบ ยาสูบ 26/27 เป็น เงิน325,000 บาท ชำระ งวด ที่ สอง ใน ฤดู การ ผลิต ใบ ยาสูบ 27/28 เป็น เงิน296,830 บาท และ ชำระ งวด ที่ สาม ใน ฤดู การ ผลิต ใบ ยาสูบ28/29 เป็น เงิน 296,830 บาท ใน วงเงิน 918,660 บาท โจทก์ จะ ไม่ คิดดอกเบี้ย เห็น ได้ว่า ตาม สัญญา ดังกล่าว ได้ กำหนด เวลา ชำระหนี้ ไว้ เป็นงวด ๆ ตาม ฤดู การ ผลิต ใบ ยาสูบ เมื่อ จำเลย ละเลย เสีย ไม่ได้ชำระ เงินทดรองล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ ให้ ครบถ้วน อันเป็น การ ผิดสัญญา ใน กรณี ผิดสัญญาสิทธิ ของ คู่สัญญา ที่ จะ บังคับ เอา แก่ คู่สัญญา ฝ่าย ที่ ผิดสัญญาประการ หนึ่ง ก็ คือ บังคับ ให้ คู่สัญญา ปฏิบัติการ ชำระหนี้ ตาม มูลหนี้ นั้นกรณี นี้ โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงินทดรอง ล่วงหน้าให้ แก่ โจทก์ ได้
แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน367,771.60 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน 70,941.60 บาท นับแต่ วันที่ 1 มกราคม 2529 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2529 และ ของ ต้นเงิน 367,771.60 บาท นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 นั้น เป็น การ เกิน ไป กว่า คำขอ ให้ จำเลยใช้ ดอกเบี้ย นับ ถัด จาก วันฟ้อง (วันที่ 27 กรกฎาคม 2531) ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ปัญหา ข้อ นี้ แม้ จำเลยมิได้ ยกขึ้น ฎีกา แต่ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบเรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้เองเห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง โดย ให้ จำเลย ใช้ ดอกเบี้ย นับ ถัด จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน367,771.60 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับ ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share