คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่คิดถึงวันฟ้องให้โจทก์10,000บาทเมื่อรวมกับราคาที่ดินพิพาทอีก30,000บาทคดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์40,000บาทส่วนค่าเสียหายปีละ40,000บาทที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์หลังจากวันฟ้องนั้นเป็นค่าเสียหายในอนาคตจะนำไปรวมเป็นทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ด้วยไม่ได้คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ก่อสร้าง รั้ว คอนกรีต และ ฝา ห้องแถว รุกล้ำเข้า มา ใน ที่ดิน ของ โจทก์ เป็น เนื้อที่ 6 ตารางวา ราคา 30,000 บาทเป็นเหตุ ให้การ ก่อสร้าง ตึกแถว ของ โจทก์ ซึ่ง ได้ ลงมือ ก่อสร้างไป บ้าง แล้ว ไม่สามารถ กระทำ ต่อไป ได้ ขอให้ พิพากษา ว่า ที่ดินพิพาทเป็น ของ โจทก์ ให้ จำเลย รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ให้ จำเลย และ บริวารออก ไป จาก ที่ดินพิพาท มิให้ เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป ให้ จำเลย ใช้ ค่าจ้าง ช่างและ ค่าแรงงาน 20,000 บาท ค่า วัสดุ ก่อสร้าง 20,000 บาท แก่ โจทก์ให้ จำเลย ใช้ ค่าขาดประโยชน์ อันควร ได้ จาก ธุรกิจ ห้าง สรรพ สินค้าเดือน ละ 30,000 บาท และ ค่า วัสดุ ก่อสร้าง ที่ เพิ่มขึ้น ปี ละ 90,000 บาทนับแต่ วันที่ 1 มกราคม 2534 จนกว่า จำเลย จะ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้างและ ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ซื้อ ที่ดิน แปลง ดังกล่าวพร้อม ห้องแถว มา แล้ว ครอบครอง โดย สงบ เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของติดต่อ กัน ตลอดมา เป็น เวลา 18 ปี แล้ว โดย มิได้ ก่อสร้าง เพิ่มเติมจำเลย จึง ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท โฉนด ที่ดิน ของ โจทก์ ส่วน ที่ ออกทับ ที่ดินพิพาท ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ มิได้ เสียหาย ดัง ฟ้องขอให้ ยกฟ้อง และ พิพากษา ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ จำเลย ห้าม โจทก์และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง ใน ที่ดินพิพาท ให้ เพิกถอน หรือ แก้ไขโฉนด ที่ดิน ของ โจทก์ เฉพาะ ส่วน ที่ ออก ทับ ที่ ของ จำเลย 6 ตารางวาและ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน เพิกถอน หรือ แก้ไข โฉนด ที่ดิน เลขที่ 1982ของ จำเลย ให้ มี เนื้อที่ 57.2 ตารางวา
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ โจทก์ จำเลย มิได้ครอบครอง มา เป็น เวลา 10 ปี เศษ หาก แต่ เพิ่ง บุกรุก ภายหลัง ที่ มีการ รังวัด เพื่อ ออก โฉนด ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ที่ดินพิพาท ตาม ที่ แรเงา สีแดง ใน แผนที่ท้ายฟ้อง เอกสาร หมาย จ. 3 ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1995ตำบล ประทาย อำเภอประทาย จังหวัด นครราชสีมา เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ให้ จำเลย และ บริวาร ออก ไป และ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ออก ไปจาก ที่ดินพิพาท ห้าม จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาทอีก ต่อไป ให้ จำเลย ชำระ เงิน 10,000 บาท แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ชำระ เงินแก่ โจทก์ ปี ละ 40,000 บาท นับแต่ วันที่ 1 มกราคม 2534 จนกว่า จำเลยจะ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท แต่ ต้อง ไม่เกิน 6 เดือนนับแต่ วัน คดีถึงที่สุด ยกฟ้อง แย้ง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กันใน ชั้นอุทธรณ์ ใน ส่วน ที่ โจทก์ ฟ้อง จำนวน 40,000 บาท จึง ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง พิพากษายก อุทธรณ์
จำเลย ฎีกา ว่า ทุนทรัพย์ ใน ชั้นอุทธรณ์ รวมเป็น เงิน 80,000 บาทไม่ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ประเด็น ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ที่ จำเลยฎีกา ข้อ เดียว ว่า ค่าเสียหาย ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ ปี ละ40,000 บาท ซึ่ง เป็น ค่าเสียหาย ใน อนาคต จะ นำ ไป คำนวณ เป็น ทุนทรัพย์ใน ชั้นอุทธรณ์ ด้วย หรือไม่ เห็นว่า ตาม คำฟ้อง โจทก์ และ คำขอบังคับใน ส่วน ค่าเสียหาย ที่ คิด ถึง วันฟ้อง ซึ่ง สามารถ คำนวณ เป็น ทุนทรัพย์และ โจทก์ ต้อง เสีย ค่าขึ้นศาล ตาม ตาราง 1 ข้อ 1(ก) มี เพียง 40,000 บาทเท่านั้น ค่าเสียหาย นอกจาก นั้น เป็น ค่าเสียหาย ใน อนาคต ซึ่ง โจทก์ต้อง เสีย ค่าขึ้นศาล เพียง 100 บาท ตาม ตาราง 1 ข้อ 4 คดี นี้ ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย ที่ คิด ถึง วันฟ้อง ให้ โจทก์ เพียง10,000 บาท ทุนทรัพย์ ใน ชั้นอุทธรณ์ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ ค่าเสียหายจึง มี เพียง 10,000 บาท เท่านั้น เมื่อ รวมกับ ราคา ที่ดินพิพาท อีก30,000 บาท แล้ว คดี ใน ส่วน ฟ้อง ของ โจทก์ จึง มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กันใน ชั้นอุทธรณ์ ตาม อุทธรณ์ จำเลย 40,000 บาท ส่วน ค่าเสียหาย ปี ละ40,000 บาท ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ แก่ โจทก์ นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 ซึ่ง เป็น วัน หลังจาก วันฟ้อง นั้น เป็น ค่าเสียหายใน อนาคต จะ นำ ไป รวมเป็น ทุนทรัพย์ ชั้นอุทธรณ์ ด้วย ไม่ได้ เมื่อ ทุนทรัพย์หรือ ราคา ทรัพย์สิน ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ มี ไม่เกิน 50,000 บาทคดี จึง ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก อุทธรณ์จำเลย ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share