แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การสละมรดก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมย่อมเสียไป และไม่มีทางแสดงเจตนา ให้สัญญานั้นกลับมีผลขึ้นได้อีกอย่างไร ฉะนั้น ถ้าเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ทายาทยังมีความตั้งใจสละมรดกอยู่เช่นเดิม ก็ต้องมีการแสดงเจตนาใหม่ให้ถูกต้องอีกชั้นหนึ่ง
โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาท เมื่อจำเลยไม่ยอมแบ่งที่พิพาทให้ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกให้แบ่งได้ และมีผลเท่ากับขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยอยู่ในตัวโดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้เพิกถอนทะเบียนอย่างใด
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายโลม เมื่อนายโลมตายแล้ว โจทก์จำเลยได้ทำหนังสือตกลงแบ่งมรดกของนายโลมคนละครึ่ง แต่ต่อมาจำเลยไม่ยอมแบ่งขอให้บังคับ
่จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งส่วนพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งสวนพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อการสละมรดกก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เป็นขัดการกับมาตรา ๑๖๑๙ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้ว การสละมรดกของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งทำก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมย่อมเสียไป และไม่มีทางแสดงเจตนา ให้สัญญานั้นกลับมีผลขึ้นได้อีกอย่างไร ฉะนั้น ถ้าเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ทายาทยังมีความตั้งใจสละมรดกอยู่เช่นเดิม ก็ต้องมีการแสดงเจตนาใหม่ให้ถูกต้องตามวิธีการตามมาตรา ๑๖๑๒ อีกชั้นหนึ่ง จึงจะผูกพันโจทก์ ฎีกาจำเลยข้อนี้ไม่มีเหตุผลที่จะฟังได้
ตามฎีกาข้อ ๒ ที่ว่า โจทก์ไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนการรับมรดกที่พิพาทของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องมรดกรายนี้นั้น เห็นว่า การจดทะเบียนรับมรดกก็เป็นการอ้างสิทธิในทรัพย์มรดก เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้มีสิทธิในที่พิพาทอันเป็นมรดกแต่ผู้เดียวทั้งหมด ลำพังการจดทะเบียนรับมรดกที่พิพาท ของจำเลยหาทำให้เกิดสิทธิในที่พิพาททั้งหมดอย่างใดไม่ เมื่อจำเลยไม่ยอมแบ่งที่พิพาทให้ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกให้แบ่งได้ และมีผลเท่ากับขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยอยู่ในตัวฎีกาจำเลยข้อนี้ตกไปเช่นเดียวกัน
พิพากษายืน