คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนที่ว่าจำเลยได้ ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและ ชั้นสอบสวนว่าได้ร่วมกับพวกลักรถยนต์ของผู้เสียหายเป็นเพียง พยานบอกเล่าไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยลำพังเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณาว่ามิได้กระทำความผิดและโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่น พยานหลักฐานของโจทก์จึง ไม่มีน้ำหนักให้ฟังว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกลักรถยนต์ของผู้เสียหายไป

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2536 เวลา กลางคืนก่อน เที่ยง จำเลย กับพวก อีก หลาย คน ที่ ยัง ไม่ได้ ตัว มา ฟ้อง ได้ ร่วมกันลัก รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน พ-3976 นครราชสีมา ราคา 409,084 บาทของ บริษัท สยามกลการ จำกัด ซึ่ง อยู่ ใน ความ ครอบครอง ดูแล รักษา ของ นาย ปรัชญ์ แสงจันทร์ ผู้เสียหาย ไป โดยทุจริต โดย ใน การ ลักทรัพย์ ดังกล่าว จำเลย กับพวก ได้ ใช้ รถยนต์ เป็น ยานพาหนะ เพื่อ สะดวก ใน การกระทำความผิด และ เพื่อ ให้ พ้น การ จับกุม เหตุ เกิด ที่ ตำบล กลางดง อำเภอ ปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา จำเลย เป็น คนเดียว กัน กับ จำเลย ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 848/2536 และ จำเลย ที่ 4 ใน คดีอาญา หมายเลขดำที่ 849/2536 ของ ศาลชั้นต้น ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335, 336 ทวิ , 83 และ นับ โทษ จำเลย ต่อ จาก โทษ ใน คดีอาญาหมายเลขดำ ที่ 848/2536 และ 849/2536 ของ ศาลชั้นต้น กับ ให้ จำเลยคืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ จำนวน 409,084 บาท แก่ ผู้เสียหาย ด้วย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ แต่ รับ ว่า เป็น บุคคล คนเดียว กับ จำเลย ใน คดีที่ โจทก์ ขอให้ นับ โทษ ต่อ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7) วรรคสาม , 336 ทวิ จำคุก6 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์แก่ การ พิจารณา คดี มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 3 ปี ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ จำนวน409,084 บาท แก่ ผู้เสียหาย ที่ โจทก์ ขอให้ นับ โทษ จำเลย ต่อ จาก โทษ ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 848/2536 และ 849/2536 นั้น เนื่องจาก คดี ดังกล่าวศาล ยัง มิได้ มี คำพิพากษา จึง มิอาจ นับ โทษ ต่อ ได้ ให้ยก คำขอ ส่วน นี้
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ เป็น ยุติ ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง มี คนร้ายลัก รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ นิสสันบิกเอ็ม หมายเลข ทะเบียน พ-3976นครราชสีมา ของ บริษัท สยามกลการ จำกัด ซึ่ง อยู่ ใน ความ ครอบครอง ดูแล รักษา ของ นาย ปรัชญ์ แสงจันทร์ ผู้เสียหาย ไป คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย เป็น คนร้าย ร่วม กับพวก ลักรถยนต์ ของ ผู้เสียหาย ไป ตาม ฟ้อง หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ โจทก์ มี นาย ปรัชญ์ ผู้เสียหาย นาย ปริญญ์ เร่งพัฒนวรกุล พี่ชาย ผู้เสียหาย นาง สุนิสา เร่งพัฒนวรกุล ภรรยา นาย ปริญญ์ พันตำรวจโท พรเทพ เพชรคง เจ้าพนักงาน ตำรวจ ผู้จับกุม จำเลย และ ร้อยตำรวจเอก ประคอง อึ้งสกุล พนักงานสอบสวน เบิกความ เป็น พยาน ซึ่ง ได้ความ จาก คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย และ นาย ปริญญ์และนางสุนิสา เพียง ว่า ผู้เสียหาย นาย ปริญญ์และนางสุนิสา ทราบ ว่า รถยนต์ ของ ผู้เสียหาย ที่นาย ปริญญ์ ยืม มา จอด อยู่ ที่ หน้า บ้าน ของ นาย ปริญญ์ หาย ไป ใน คืน เกิดเหตุ โดย ไม่ปรากฏ ว่า ผู้เสียหาย นาย ปริญญ์และนางสุนิสา ทราบ ว่า ผู้ใด เป็น คนร้าย ลัก รถยนต์ ของ ผู้เสียหาย พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ว่า จำเลยร่วม กับพวก เป็น คนร้าย ลัก รถยนต์ ของ ผู้เสียหาย ดังกล่าว คง มี แต่คำเบิกความ ของ พันตำรวจโท พรเทพและร้อยตำรวจเอกประคอง ว่า จำเลย ได้ ให้การรับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน ว่า ได้ ร่วม กับพวกลัก รถยนต์ ดังกล่าว ของ ผู้เสียหาย ไป ตาม บันทึก การ จับกุม เอกสาร หมาย จ. 1และ บันทึก คำให้การ เอกสาร หมาย จ. 10 ตามลำดับ โดย จำเลย ได้ นำ ชี้ที่เกิดเหตุ ประกอบ คำรับสารภาพ ตาม บันทึก การ นำ ชี้ ที่เกิดเหตุ ประกอบคำรับสารภาพ เอกสาร หมาย จ. 8 และ ภาพถ่าย หมาย ป.จ. 3 เห็นว่าคำให้การ รับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ดังกล่าวเป็น เพียง พยานบอกเล่า ไม่มี น้ำหนัก ให้ รับฟัง ได้ โดย ลำพัง เมื่อ จำเลยให้การ ปฏิเสธ ใน ชั้นพิจารณา ว่า มิได้ กระทำ ความผิด ตาม ฟ้อง และ โจทก์ไม่มี พยานหลักฐาน อื่น นอกจาก คำเบิกความ ประกอบ พยานเอกสาร ของพันตำรวจโท พรเทพและร้อยตำรวจเอกประคอง ดังกล่าว มา นำสืบ ให้ เห็นว่า จำเลย ได้ ร่วม กับพวก ลัก รถยนต์ ของ ผู้เสียหาย ไป ตาม ฟ้อง พยานหลักฐานของ โจทก์ จึง ไม่มี น้ำหนัก พอ ให้ ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ ร่วม กับพวก ลักรถยนต์ ของ ผู้เสียหาย ไป ตาม ฟ้อง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก ฟ้องโจทก์ นั้น ต้องด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา แล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share