คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่86(พ.ศ.2536)เรื่องเปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ได้ประกาศกำหนดให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ประกาศฉบับดังกล่าวนี้ได้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่51และฉบับที่71ที่เกี่ยวกับ อีเฟดรีนแล้วหลังจากที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่86มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่27พฤษภาคม2536แล้วดังนั้นไม่ว่า อีเฟดรีนจะมีโครงสร้างทางเคมีอยู่ในรูปใดหรือวัตถุตำรับใดหากมี อีเฟดรีนผสมอยู่แล้วให้ถือว่าวัตถุตำรับนั้นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ตามมาตรา59แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 จำเลยที่1มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเป็นจำนวนมากรวมทั้งมีถุงพลาสติกขนาดเล็กเพื่อไว้บรรจุแบ่งขายเป็นจำนวนมากเช่นกันแสดงว่าจำเลยที่1มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นการขายตามกฎหมาย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อ จิต และ ประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4, 6, 13 ทวิ , 62, 89, 106, 116และ ริบ ถุงพลาสติก ของกลาง
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ปฏิเสธ ส่วน จำเลย ที่ 3 หลบหนีศาลชั้นต้น มี คำสั่ง จำหน่ายคดี เฉพาะ จำเลย ที่ 3 ชั่วคราว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง , 89 จำคุก 5 ปี คำให้การ รับสารภาพ ในชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ที่ 1 เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณามีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 3 ปี 4 เดือน ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 ริบของกลาง
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ในคำพิพากษา ศาลชั้นต้น อนุญาต ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 86(พ.ศ. 2536) เรื่อง เปลี่ยนแปลง ประเภท วัตถุ ออกฤทธิ์ตาม ความใน พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518ได้ ประกาศ กำหนด ให้ อีเฟดรีน เป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2เอกสาร หมาย จ. 5 ประกาศ ฉบับ ดังกล่าว นี้ ได้ ยกเลิก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 51 และ ฉบับที่ 71 ที่ เกี่ยวกับ อีเฟดรีน แล้ว หลังจาก ที่ ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 86 มีผล ใช้ บังคับตั้งแต่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2536 แล้ว ดังนั้น ไม่ว่า อีเฟดรีน จะ มี โครงสร้าง ทาง เคมี อยู่ ใน รูป ใด หรือ วัตถุ ตำ รับ ใด หาก มี อีเฟดรีน ผสม อยู่ แล้ว ก็ ให้ ถือว่า วัตถุ ตำ รับ นั้น เป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2ตาม มาตรา 59 แห่ง พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 จาก การ ตรวจ พิสูจน์ ของกลาง วัตถุ กลม แบน (สี ชมพู )จำนวน 180 เม็ด เป็น อีเฟดรีนไฮโดรคลอไรด์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 4ของกลาง จำนวน นี้ จัด เป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 ซึ่ง บุคคล ใด มีไว้ใน ครอบครอง จึง มี ความผิด ตาม กฎหมาย เมื่อ ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่าจำเลย ที่ 1 มี วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 ไว้ ใน ครอบครอง เป็น จำนวน มากรวมทั้ง มี ถุงพลาสติก ขนาด เล็ก เพื่อ ไว้ บรรจุ แบ่ง ขาย เป็น จำนวน มากเช่นกัน แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 มี วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 ไว้ ในครอบครอง เพื่อ ขาย อันเป็น การ ขาย ตาม กฎหมาย
พิพากษายืน

Share