คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เดิม ว. เป็นภริยาของ ส. มีบุตรด้วยกัน3คนคือจำเลยที่2ที่3และที่4ต่อมา ส. กับ ว. จดทะเบียนหย่ากันจากนั้น ว. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่1ต่อมา ว. ถึงแก่กรรมโดยก่อนถึงแก่กรรม ว. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจากบริษัท ธ. ศาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกของ ว. ต่อมาจำเลยที่1ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์และจำเลยที่2และที่4ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่2และที่4เท่ากับจำเลยที่2และที่4ชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไปแล้วเท่ากับกึ่งหนึ่งของราคาที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งมีราคา317,000บาทจึงเหลือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาอีกเพียงกึ่งหนึ่งคือเพียง158,500บาทแม้จำเลยที่2และที่4ฎีกาขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายทั้งหมดก็เท่ากับราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

คดี สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ รวม พิจารณา พิพากษาเข้า ด้วยกัน โดย ให้ เรียก โจทก์ และ จำเลย ใน สำนวน หลัง ตาม ที่ เรียกโจทก์ และ จำเลย ดังกล่าว ใน สำนวน แรก
สำนวน แรก โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด เลขที่ 113937 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง บ้าน เลขที่ 81/66 โดย ซื้อ มาจาก จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2530 เดิม ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง มี จำเลย ทั้ง สี่ เป็น ผู้ครอบครอง และ อาศัย อยู่ หลังจากที่ โจทก์ ซื้อ แล้ว จำเลย ทั้ง สี่ ไม่ยอม ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป ตาม ที่ขอผัด ผ่อน โจทก์ ได้ บอกกล่าว แล้วแต่ จำเลย ทั้ง สี่ เพิกเฉย ขอให้ ขับไล่จำเลย ทั้ง สี่ ออกจาก บ้าน เลขที่ 81/66 และ ส่งมอบ บ้าน ดังกล่าว ให้ โจทก์ใน สภาพ เรียบร้อย หาก จำเลย และ บริวาร ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สี่ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน 6,000 บาท และ ค่าเสียหาย เดือน ละ 2,000 บาทนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สี่ จะ ขนย้าย ทรัพย์สิน ออกจากอาคาร ดังกล่าว และ ส่งมอบ ให้ แก่ โจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อย ให้ จำเลย ทั้ง สี่ชดใช้ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 6,000 บาทนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สี่ จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย สมชายกับนางวัชรี ต่อมา นาง วัชรี หย่า กับ นาย สมชาย แล้ว จดทะเบียนสมรส กับ จำเลย ที่ 1 นาง วัชรี ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 113937 พร้อม บ้าน เลขที่ 81/66 จาก บริษัท ธนโรจน์เอสเตท จำกัด โดย ใช้ ทรัพย์สิน ที่ เก็บ สะสม ใน ขณะที่ อยู่กิน กับ นาย สมชาย ที่ดิน และ บ้าน จึง เป็น สินเดิม (สินส่วนตัว ) ของ นาง วัชรี มิใช่ สินสมรส ระหว่าง นาง วัชรี กับ จำเลย ที่ 1 และ เมื่อ นาง วัชรี ตาย ที่ดิน และ บ้าน ดังกล่าว จึง เป็น มรดก ตก แก่ จำเลย ที่ 2ที่ 3 และ ที่ 4 จำเลย ที่ 1 ไม่มี สิทธิ ใน ที่ดิน และ บ้าน ไม่ว่าใน ฐานะ ใด ๆ การ ที่ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก โอน ที่ดิน และ บ้านตาม ฟ้อง เป็น ของ ตน แต่เพียง ผู้เดียว โดย กล่าวเท็จ ปกปิด ข้อเท็จจริงต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน มิได้ ใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4ใน ฐานะ ทายาท ของ ผู้ตาย ด้วย การ โอน จึง เป็น โมฆะ โจทก์ รับโอน ที่ดินและ บ้าน โดย ไม่สุจริต โดย ฉ้อฉล และ รู้ อยู่ ว่า เป็น ทาง ให้ จำเลย ที่ 2ที่ 3 และ ที่ 4 ซึ่ง เป็น ทายาท นาง วัชรี ผู้ตาย และ เป็น ผู้ อยู่ ใน ฐานะ ที่ จะ จดทะเบียน สิทธิ ของ ตน ได้ ก่อน เสียเปรียบ โจทก์ จึง ไม่มีอำนาจฟ้อง และ โจทก์ ไม่เสีย หาย หาก เสียหาย ก็ ไม่เกิน 1,000 บาทขอให้ ยกฟ้อง
สำนวน หลัง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ใน สำนวน แรก เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลยที่ 1 และ โจทก์ ใน สำนวน แรก เป็น จำเลย โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดีอย่าง คนอนาถา มี ใจความ ทำนอง เดียว กับ คำให้การ จำเลย ที่ 2 ที่ 4ใน สำนวน แรก ขอให้ เพิกถอน การ ซื้อ ขาย ที่ดิน และ บ้าน ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ จำเลย ที่ 2 และ ให้ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาง วัชรี โอน ที่ดิน และ บ้าน ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตามหรือไม่ สามารถ โอน ให้ ได้ ขอให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ใจความ ทำนอง เดียว กับ ฟ้อง สำนวน แรก ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย ทั้ง สี่ ออกจาก อาคารสิ่งปลูกสร้าง เลขที่ 81/66 แขวง ทุ่งสองห้อง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และ ส่งมอบ คืน แก่ โจทก์ ใน สภาพ ที่ เรียบร้อย ให้ จำเลยทั้ง สี่ ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 4,500 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง (25 มิถุนายน 2530)จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ1,500 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สี่ จะ ออกจากอาคาร เลขที่ ดังกล่าว พิพากษายก ฟ้องโจทก์ (จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4)สำนวน คดี หมายเลขดำ ที่ 22063/2530 ของ ศาลชั้นต้น คำขอ โจทก์นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 อุทธรณ์ โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดีอย่าง คนอนาถา
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน สัญญาซื้อขาย ที่ดินโฉนด เลขที่ 113937 และ บ้าน เลขที่ 81/66 แขวง ทุ่งสองห้อง เขต บางเขน กรุงเทพมหานคร ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ โจทก์ เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ให้ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของนาง วัชรี สมแก้วหรือทวีบุญ จดทะเบียน โอน ที่ดิน และ บ้าน ดังกล่าว เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของจำเลย ที่ 1 ยกฟ้อง โจทก์ สำนวน คดี หมายเลขแดง ที่ 25979/2531 ของศาลชั้นต้น เฉพาะ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 นอกจาก ที่ แก้ คง เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ฎีกา โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่างคนอนาถา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี ที่ โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ก็ มิได้ ฎีกา คดี จึง เป็น ยุติ ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ คง มี คดี ขึ้น มา สู่ ศาลฎีกา เฉพาะ สำนวน หลัง ที่จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 เป็น โจทก์ ฟ้อง ให้ เพิกถอน สัญญาซื้อขาย ที่ดินและ บ้าน พิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติตาม ที่ คู่ความ มิได้ ฎีกา โต้แย้ง คัดค้าน ว่า นาง วัชรี สมแก้ว เป็น ภริยา ของ นาย สมชาย สมแก้ว มี บุตร ด้วยกัน 3 คน จำเลย ที่ 2ที่ 3 และ ที่ 4 นาย สมชายกับนางวัชรี จดทะเบียน หย่า กัน เมื่อ ปี 2519ต่อมา นาง วัชรี จดทะเบียนสมรส กับ จำเลย ที่ 1 เมื่อ ปี 2523เดือน กุมภาพันธ์ 2528 นาง วัชรี ได้ ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน และ บ้าน พิพาท จาก บริษัท ธนโรจน์เอสเตท จำกัด ใน ราคา 317,000 บาท ครั้น ใน เดือน กันยายน 2528 นาง วัชรี ถูก รถยนต์ ชน เสียชีวิต ศาล มี คำสั่ง แต่งตั้ง ให้ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง วัชรี ต่อมา ปี 2530 จำเลย ที่ 1 ขาย ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ให้ โจทก์ เห็นว่าเมื่อ นาง วัชรี ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดก ของ นาง วัชรี จึง ตก ได้ แก่ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น สามี จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ซึ่ง เป็น บุตร คนละ ส่วน เท่า ๆ กัน แต่ ปรากฏว่า ตาม สำนวน คดี หมายเลขแดง ที่ 25980/2531ของ ศาลชั้นต้น ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1กับ โจทก์ ขอให้ เพิกถอน สัญญาซื้อขาย ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้ เพิกถอน สัญญาซื้อขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 113973 และบ้าน เลขที่ 81/66 แขวง ทุ่งสองห้อง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ โจทก์ เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4ให้ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาง วัชรี สมแก้วหรือทวีบุญ จดทะเบียน โอน ที่ดิน และ บ้าน ดังกล่าว เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4ฎีกา ขอให้ เพิกถอน สัญญาซื้อขาย ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ โจทก์ ทั้งหมด เมื่อ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ชนะคดี ตาม คำพิพากษาของ ศาลอุทธรณ์ ไป แล้ว 2 ส่วน เท่ากับ กึ่งหนึ่ง ของ ราคา ที่ดิน และบ้าน พิพาท จึง เหลือ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา อีก เพียง กึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่ดิน และ บ้าน พิพาท มี ราคา 317,000 บาท ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา จึง เหลือ เพียง 158,500 บาท เมื่อ ราคา ทรัพย์สินหรือ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน 200,000 บาทห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่านาง วัชรี ได้ ทำ สัญญา ซื้อ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ใน ปี 2518 ขณะ จดทะเบียน สมรส กับ จำเลย ที่ 1 แล้ว นาง วัชรี จะ นำ เงิน ที่ ไหน มา ชำระ ค่าที่ดิน และ บ้าน พิพาท ไม่ใช่ ข้อสำคัญ ทั้ง ทรัพย์ ราย นี้ ได้ จดทะเบียน จำนองจะ ต้อง ผ่อนชำระ แก่ ธนาคาร ซึ่ง จะ ต้อง นำ เงิน ของ จำเลย ที่ 1 และนาง วัชรี ร่วมกัน หา ได้ ใน ระหว่าง เป็น สามี ภริยา ผ่อนชำระ แก่ ธนาคาร อีก ระยะ หนึ่ง จึง ได้ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท โดย สมบูรณ์ เมื่อ จำเลย ที่ 1และ นาง วัชรี ได้ ทำ สัญญา ซื้อ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท มา ระหว่าง เป็น เป็น สามี ภริยา แม้ จะ ทำ สัญญาซื้อขาย ใน นาม ของ นาง วัชรี แต่เพียง ผู้เดียว ก็ ตาม ก็ ต้อง ถือว่า เป็น สินสมรส ดังนั้น ที่ จำเลย ที่ 2และ ที่ 4 ฎีกา ว่า ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ไม่เป็น สินสมรส ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ นาง วัชรี แต่ เป็น สินส่วนตัว ของ นาง วัชรี จึง เป็น ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงต้องห้าม ฎีกา ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว ที่ ศาลชั้นต้นสั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย ให้ ”
พิพากษายก ฎีกา จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4

Share