คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้ เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีก เห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่ ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำ แม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมาย คนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้ เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 (1)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้อักษรโรมันว่า “HIPEX” ใช้กับสินค้าของโจทก์ จำเลยยื่นคำขอเลขที่ ๓๔๘๑๑ ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษร HYPEX ต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวก ๘ ซึ่งต่อมาจำเลยขอแก้ไขสำหรับใช้แก่สินค้าเครื่องรับวิทยุ ฯลฯ โจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนยกคำคัดค้าน โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาล ศาลยกฟ้องอ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยไม่คล้ายคลึง ทำให้ประชาชนหลงผิดได้ คดีอยู่ระหว่างฎีกา ต่อมาวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๐๗ โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เลขที่ ๕๑๕๗๗ ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วยคำ “HIPEX” ประกอบด้วยภาพลวดลาย สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก ๘ คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ นายทะเบียนสั่งให้โจทก์ไปตกลงกับจำเลยหรือนำคดีมาสู่ศาล โจทก์เห็นว่าใช้เครื่องหมายการค้า HIPEX มาก่อน ขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ ๕๑๕๗๗ สำหรับสินค้าจำพวก ๘ ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฯลฯ
จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๐๕ โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ ๔๖๑๘๑ โดยใช้คำว่า HIPEX ในสินค้าจำพวก ๘ สำหรับสินค้าเครื่องรับวิทยุ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๐๕ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๓๓๕๐/๒๕๐๖ ของศาลแพ่งตามที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง ในคดีแพ่งดังกล่าว โจทก์แถลงรับว่าไม่เคยทำการค้าขายสินค้าจำพวกที่ ๘ เลย ครั้นศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องของโจทก์แล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์กลับฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๔๕๗๕/๒๕๐๖ ขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า HIPEX ตามคำขอเลขที่ ๔๖๑๘๑ สำหรับสินค้าจำพวกที่ ๘ ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนตามคำขอที่ ๔๖๑๘๑ ของโจทก์ ในที่สุดศาลได้พิพากษายกฟ้องอีก โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ ๕๑๕๗๗ สำหรับสินค้าจำพวกที่ ๘ ซึ่งเป็นเครื่องหมายคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ ๔๖๑๘๑ และให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน ประเด็นแห่งคดีนี้จึงเป็นเช่นเดียวกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๓๓๕๐/๒๕๐๖ และ ๔๔๗๕/๒๕๐๖ อันศาลได้พิพากษายกฟ้องไปแล้ว คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า คดีของโจทก์ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้น เกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๗๓ (๑) พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ ๔๔๗๕/๒๕๐๖ นั้น เป็นเรื่อง +++

Share