คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การ สละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612ต้องทำ เป็นหนังสือมอบไว้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่คือ นายอำเภอตาม กฎกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2481และ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ หรือทำเป็น สัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา850ดังนั้นแม้ เจ้าพนักงานที่ดินมิใช่ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจดังกล่าวแต่เมื่อข้อความในเอกสารเป็นการ ประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ผู้รับผิดในฐานะ ผู้สละมรดกและจำเลยในฐานะ ผู้รับมรดกได้ลงชื่อไว้จึงเป็นการ สละมรดกโดยชอบ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บุตร ของ นาย โพธิ์ และ นาง เป๋ ส่วน จำเลย เป็น บุตร ของ นาง เจียน ซึ่ง เป็น บุตร ของ นาย โพธิ์ และ นาง ปาน เมื่อ ปี 2518 นาย โพธิ์ ถึงแก่ความตาย ขณะที่ นาย โพธิ์ และ นาง เป๋ อยู่กิน เป็น สามี ภรรยา กัน นาย โพธิ์ มี กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ร่วม กับ นาย ยิก ชวดละ คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1416 เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา ที่ดิน ดังกล่าว จึง เป็น สินสมรส ระหว่าง นาย โพธิ์และนางเป๋ ส่วน ที่ แยก สินสมรส ออก ไป แล้ว ตกเป็น มรดก ของ นาง เป๋ นายถั่ว โจทก์ และ จำเลย นาง เป๋ และ นาย ถั่ว ถึงแก่ความตาย ใน ปี 2530มรดก ของ นาง เป๋ และ นาย ถั่ว ตก ได้ แก่ โจทก์ เมื่อ ปี 2528 จำเลย ได้ พา นาง เป๋ นาย ถั่ว และ โจทก์ ไป แสดง เจตนา ที่ จะ ไม่รับ มรดก ใน ส่วน ของ นาย โพธิ์ ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด สมุทรสาคร แต่ ไม่ได้ ทำ ต่อ เจ้าพนักงาน ตาม ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ จึง ไม่ ถือว่า เป็น การ สละ มรดกโจทก์ มีสิทธิ ที่ จะ ได้รับ มรดก ที่ดิน เป็น เนื้อที่ 857.5 ตารางวา ขอให้บังคับ จำเลย จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1416 ส่วน ที่เป็น กรรมสิทธิ์ ของ นาย โพธิ์ เนื้อที่ 857.5 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ยอม ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดงเจตนา ของ จำเลย หาก กฎหมาย ไม่ เปิด ช่อง ขอให้ นำ ที่ดิน ดังกล่าวมา ประมูล ร่วมกัน ระหว่าง ทายาท ของ นาย โพธิ์ หาก ไม่สามารถ ตกลง กัน ได้ ขอให้ นำ ที่ดิน ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่งให้ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า นาย โพธิ์ ร่วม กับ นาย ยิก ซื้อ ที่พิพาท มา ตั้งแต่ นาย โพธิ์ อยู่กิน เป็น สามี ภรรยา กับ นาง ปาน ซึ่ง เป็น ยา ยของ จำเลย จึง เป็น สินสมรส ระหว่าง นาย โพธิ์ และ นาง ปาน เมื่อ นาง ปาน ถึงแก่ความตาย ที่ดิน ส่วน ของ นาง ปาน กึ่งหนึ่ง จึง ตกเป็น มรดก ของ จำเลย ด้วย โจทก์ กับ นาง เป๋ และ นาย ถั่ว เคย โต้เถียง กับ จำเลย เกี่ยวกับ ส่วนแบ่ง มรดก ใน ที่พิพาท แล้ว ได้ ตกลง ประนีประนอม ยอมความ กันโดย จำเลย ชำระ เงิน ตอบแทน แก่ โจทก์ นาง เป๋ และ นาย ถั่ว เมื่อ จำเลย ไป ขอรับ มรดก ที่ดิน ส่วน ของ นาย โพธิ์ ทั้งหมด โจทก์ กับ นาง เป๋ และ นาย ถั่ว จึง ได้ ไป แสดง เจตนา ด้วย ความสมัครใจ ทำ เป็น หนังสือ มอบ ไว้ แก่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด สมุทรสาคร ยอม ให้ ที่พิพาท ทั้งหมดตกเป็น มรดก แก่ จำเลย เป็น การแสดง เจตนา สละ มรดก อย่าง ชัดแจ้งและ บันทึก ดังกล่าว ยัง เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ยอม ให้ จำเลยรับโอน มรดก ใน ที่พิพาท ไป ทั้งหมด โดยชอบ ด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และ มาตรา 1750 ขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ และ จำเลย แถลงรับ ให้ ถือว่า ข้อเท็จจริง และ คำพิพากษา ใน คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 3520/2531 และ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 548/2530ของ ศาลชั้นต้น เป็น ส่วน หนึ่ง ของ การ วินิจฉัย คดี นี้ ตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2534 ของ ศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ ไม่ได้ โต้แย้ง กันใน ชั้นฎีกา รับฟัง ได้ว่า ที่พิพาท เป็น ของ นาย โพธิ์ เจ้ามรดก ซึ่ง ซื้อ มา เมื่อ ปี 2473 นาย โพธิ์ มี ภรรยา 2 คน ภรรยา คน แรก คือ นาง ปาน และ มี บุตร ด้วยกัน คือ นาง เจียน จำเลย เป็น บุตร นาง เจียน ต่อมา นาง ปาน ถึงแก่ความตาย นาย โพธิ์ ได้ นาง เป๋ เป็น ภรรยา จดทะเบียนสมรส กัน เมื่อ ปี 2484 มี บุตร ด้วยกัน คือ โจทก์ และ นาย ถั่ว นาย โพธิ์ ถึงแก่ความตาย เมื่อ ปี 2518 ใน ปี 2528 จำเลย ได้ ยื่น เรื่องราว ขอรับ มรดก ที่พิพาท ของ นาย โพธิ์ โดย พา โจทก์ นาง เป๋ และ นาย ถั่ว ไป แสดง เจตนา สละ มรดก ที่พิพาท ใน ส่วน ของ นาย โพธิ์ ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด สมุทรสาคร ตาม เอกสาร หมาย จ. 7มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า เอกสาร หมาย จ. 7 ที่ มอบ ให้ แก่ เจ้าพนักงานที่ดิน เป็น การ สละ มรดก ที่ ทำ เป็น หนังสือ มอบ ไว้ แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่และ เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1612 หรือไม่ โดย โจทก์ ฎีกา ว่า คำ ว่า พนักงาน เจ้าหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 หมายถึง นายอำเภอเท่านั้น การ มอบ เอกสาร หมาย จ. 7 ให้ แก่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จึง มิใช่การ ทำ หนังสือ สละ มรดก ที่ มอบ ไว้ แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และ เอกสาร หมาย จ. 7โจทก์ และ จำเลย ยัง ไม่ได้ ตกลง ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน คง เป็นเอกสาร ฝ่ายเดียว มี ลายมือชื่อ โจทก์ และ ทายาท อื่น ลงชื่อ ไว้ ไม่มีลายมือชื่อ ของ จำเลย ใน ฐานะ คู่สัญญา เอกสาร หมาย จ. 7 จึง ไม่ใช่สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1612 บัญญัติ ว่า การ สละ มรดก นั้น ต้อง แสดง เจตนา ชัดแจ้งเป็น หนังสือ มอบ ไว้ แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือ ทำ เป็น สัญญาประนีประนอม ยอมความ ดังนั้น การ สละ มรดก จึง กระทำ ได้ โดย ทำ เป็นหนังสือ มอบ ไว้ แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ อย่างหนึ่ง กล่าว คือ ทำ เป็นหนังสือ มอบ ไว้ แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตาม กฎกระทรวง มหาดไทย พ.ศ. 2481และ พนักงาน เจ้าหน้าที่ คือ นายอำเภอ ตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหาร ราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2495 ดังนั้น การ มอบ เอกสาร หมาย จ. 7ให้ แก่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จึง มิใช่ การ ทำ หนังสือ สละ มรดก ที่ มอบ ไว้แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612ส่วน อีก กรณี หนึ่ง นั้น โดย ทำ เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ โดย ต้อง มีลักษณะ เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 ใน คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 3520/2531ของ ศาลชั้นต้น ซึ่ง เป็น ฉบับ เดียว กับ เอกสาร ท้าย คำให้การ หมายเลข 1มี ข้อความ ว่า ข้าพเจ้า นาง เป๋ และล้ำเลิศ นายถั่ว และล้ำเลิศ นาง ยุพิน และล้ำเลิศ (โจทก์ ) นาง สมใจ นพเนตร นายสมพร นพเนตร นาย สมทรง นพเนตร ขอ ปฏิญาณ ตน และ ทำ บันทึก เป็น หลักฐาน ด้วย ความสัตย์ จริง ดัง ต่อไป นี้ ตาม ที่นาง บรรจง อ้อมน้อย (จำเลย )ได้ ยื่น ขอรับ มรดก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1416 ของ นาย โพธิ์ และล้ำเลิศ เจ้ามรดก ได้ แจ้ง ว่า มรดก ราย นี้ ไม่มี พินัยกรรม และ ขอ เป็นทายาทโดยธรรม ของ เจ้ามรดก นั้น ข้าพเจ้า นาง เป๋ และล้ำเลิศ นาย ถั่ว และล้ำเลิศ นางยุพิน และล้ำเลิศ ( โจทก์ ) นาง สมใจ นพเนตร นาย สมพร นพเนตร และนายสมทรง นพเนตร ใน ฐานะ ที่ เป็น ทายาท โดย ธรรม ของ เจ้ามรดก และ ผู้มีสิทธิ ตาม กฎหมาย ที่ จะ ได้รับ มรดกขอ ยืนยัน ว่า ข้าพเจ้า ไม่ประสงค์ จะ รับมรดก ที่ดิน แปลง ดังกล่าวโดย ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จดทะเบียน โอน มรดก แก่ ผู้ขอ ได้ โดย ข้าพเจ้าขอรับ รอง ว่า จะ ไม่ ใช้ สิทธิเรียกร้อง เกี่ยวกับ มรดก ที่ดิน แปลง ดังกล่าวและ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไม่ต้อง ส่ง ประกาศ รับมรดก ที่ดิน ราย นี้ ให้ แก่ข้าพเจ้า อีก แล้ว และ เพื่อ เป็น หลักฐาน จึง ได้ เซ็น ชื่อ หรือ พิมพ์ลาย นิ้วมือ ไว้ เป็น สำคัญ ต่อ พยาน 2 คน มี ลายพิมพ์ นิ้วมือ ของ โจทก์กับ ทายาท ที่ ระบุ ชื่อ ข้างต้น ใน ช่อง ผู้ ไม่รับ มรดก มี พยาน ลงชื่อ 2 คนและ มี จำเลย ลงชื่อ ใน ช่อง ผู้ขอรับมรดก เห็นว่า ข้อความ ใน เอกสาร ดังกล่าวเป็น การ ประนีประนอม ยอมความ ใน การ สละ มรดก ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 ประกอบ มาตรา 850 แล้วเพราะ โจทก์ ผู้รับผิด ใน ฐานะ ผู้ สละ มรดก และ จำเลย ใน ฐานะ ผู้รับมรดกได้ ลงชื่อ ไว้ แล้ว ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share