คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2484

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คำว่า “ไล่ต้อน” ตามมาตรา 340 (3) กฎหมายลักษณอาญาย่อมเกินความถึงจงเข้าไปหรือพาเข้าไปด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไล่ต้อนกระบือเข้ากับต้นข้างได้ความว่าจูงเข้าไปไม่เป็นการผิดกับฟ้อง

ย่อยาว

เมื่อสืบพะยานโจทก์ได้ ๔ ปากแล้วศาลชั้นต้นเห้นว่าคดีนี้ดจทก์ฟ้องว่าจำเลยปล่อยและไล่ต้อนกระบือเข้าไปในนาของผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงที่ดจทก์นำสืบนั้นว่าจำเลยจูงกระบือยืนอยู่ให้กินข้าวกล้าไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปล่อยหรือไล่ต้อนดังฟ้องเป็นเรื่องเข้าบทมาตรา ๓๒๔ แต่โทษตามมาตรา ๓๒๔ หนักกว่า ๓๔๐ เกินคำขอของโจทก์ลงโทษไม่ได้ และเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาต่างกับฟ้อง จึงสั่งงดสืบพะยานโจทก์แล้วตัดสินยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา ๓๔๐(๑) โดยโจทก์สืบไม่สมฟ้อง แต่ข้อที่ดจทก์ฟ้องว่าจำเลยไล่ต้อนกระบือเข้าไปในนาของผู้เสียหายขอให้ลงโทษตามมาตรา ๓๔๐ (๓) นั้น เห็นว่า คำที่ว่า “ไล่ต้อน” ตามมาตรา ๓๔๐(๓) น่าจะหมายความว่าพาเข้าไปนั้นเองซึ่งรวมทั้งจูงหรือขี่เข้าไปด้วย เมื่อได้ความดังนี้จะว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องย่อมไม่ได้ จึงให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาสืบพะยานโจทก์จำเลยต่อไป
จำเลยฎีกา ศาลฎีกาเห็นคำว่า “ไล่ต้อนปสุสัตว์” เข้าไปกินข้าวกล้าในนาตามมาตรา ๓๔๐(๓) แห่งกฎหมายอาญากินความถึงจูงหรือพาเข้าไปด้วย ฉะนั้นที่โจทก์นำพะยานสืบว่า จำเลยจูงกะบือเข้าไปกินข้าวในนาของผู้เสียหายจะเรียกว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบต่างกับที่กล่าวในฟ้องไม่ได้ จึงพิพากษายืน

Share