คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อศาลเห็นว่าหากการแบ่งที่ดินแปลงพิพาทซึ่งโจทก์ทั้งสามและจำเลยเป็นเจ้าของรวมถึงกับต้องให้จำเลยรื้อบ้านที่เป็นของจำเลยและจำเลยได้อาศัยอยู่ตลอดมาเป็นเวลานานเกินกว่า10ปีออกไปอันเป็นการเดือดร้อนแก่จำเลยแล้วศาลย่อมใช้ดุลพินิจให้แบ่งที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยตรงที่บ้านจำเลยปลูกอาศัยอยู่ได้โดยไม่ให้เกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยได้รับส่วนแบ่งหาจำต้องสั่งให้ทำการประมูลหรือขายทอดตลาดที่ดินแปลงพิพาทแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ทุกกรณีไปไม่

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม และ จำเลย เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5636 โดย โจทก์ ที่ 1มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน เนื้อที่ 138.4 ตารางวา โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 และจำเลย มี กรรมสิทธิ์ คน ละ 69.2 ตารางวา ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ยังไม่มี การ แบ่งแยก เป็น ส่วนสัด โจทก์ ทั้ง สาม ประสงค์ จะ แบ่งแยก ให้ เป็นส่วนสัด แต่ จำเลย ไม่ยินยอม ขอให้ บังคับ จำเลย ไป ดำเนินการ จดทะเบียนแบ่งแยก กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าว โดย ให้ มี จำนวน เนื้อที่ และ อาณาเขตตาม แผนที่ สังเขป เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 7 แก่ โจทก์ ทั้ง สาม โดย ให้โจทก์ ทั้ง สาม และ จำเลย ออก ค่าใช้จ่าย และ ค่าธรรมเนียม ใน การ รังวัดแบ่งแยก กรรมสิทธิ์ ตาม อัตรา ส่วน ที่ ถือ กรรมสิทธิ์ หาก จำเลย ไม่ดำเนินการ ให้ นำ ที่ดิน ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่ง กันระหว่าง โจทก์ ทั้ง สาม กับ จำเลย ตาม อัตรา ส่วน ที่ ถือ กรรมสิทธิ์
จำเลย ให้การ ว่า ที่ดิน แปลง พิพาท เป็น กรรมสิทธิ์รวม ระหว่างโจทก์ ที่ 3 นาง เลื่อน นาย แฉล้ม ( บิดา จำเลย ) นาง เลี่ยม และ นาย อุบล ต่อมา เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ทุกคน ยกเว้น นาง เลี่ยม ได้ แบ่ง เขต การ ครอบครอง ที่ดิน ปลูก บ้าน ล้อม รั้ว โดย เจตนา ยึดถือ เอา เป็นกรรมสิทธิ์ ของ ตนเอง และ นาย แฉล้ม ก็ ได้ ครอบครอง ที่ดิน เนื้อที่ 102ตารางวา แล้ว ปลูก บ้าน เลขที่ 32 หมู่ ที่ 21 อยู่อาศัย ใน ที่ดินดังกล่าว โดย เจตนา ยึดถือ เอา เป็น กรรมสิทธิ์ ของ ตน เช่นกัน ซึ่ง ต่อมาจำเลย ได้ ครอบครอง ที่ดิน พร้อม บ้าน เลขที่ ดังกล่าว ต่อ จาก บิดา ติดต่อ กันมา โดย ความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ เกินกว่า 10 ปีจึง ได้ กรรมสิทธิ์ แล้ว ส่วน นาง เลี่ยม ไม่เคย มา ใช้ สิทธิ คัดค้าน การ ครอบครองปรปักษ์ ของ บุคคล ดังกล่าว และ ได้ หาย สาบสูญ ไป ถือว่านาง เลี่ยม สละ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน แปลง พิพาท ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ที่ 3 ถึงแก่กรรมโจทก์ ที่ 2 ทายาท ของ โจทก์ ที่ 3ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5636ตำบล บางระมาด (บาง พรม ฝั่ง เหนือ ) อำเภอ ตลิ่งชัน จังหวัด ธนบุรี ไป จดทะเบียน แบ่งแยก ให้ โจทก์ ที่ 1 ได้ กรรมสิทธิ์ เนื้อที่ 138.4ตารางวา ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3ได้ กรรมสิทธิ์ เนื้อที่ คน ละ 69.2 ตารางวาโดย ให้ โจทก์ ทั้ง สาม และ จำเลย ออก ค่าใช้จ่าย และ ค่าธรรมเนียม ใน การจดทะเบียน แบ่งแยก ตาม อัตรา ส่วน ที่ ถือ กรรมสิทธิ์ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ นำ ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่ง กันระหว่าง โจทก์ ทั้ง สาม กับ จำเลย ตาม อัตรา ส่วน ที่ ถือ กรรมสิทธิ์
จำเลย อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ได้รับ ส่วนแบ่ง ใน ที่ดินแปลง พิพาท ทาง ด้าน ทิศเหนือ และ ทิศตะวันออก ซึ่ง มี บ้าน ของ จำเลยปลูก อยู่ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย มี ว่าคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ที่ พิพากษา ให้ จำเลย ได้รับ ส่วนแบ่ง ใน ที่ดินแปลง พิพาท ทาง ด้าน ทิศเหนือ และ ทิศตะวันออก ซึ่ง มี บ้าน ของ จำเลยปลูก อยู่ ตาม จำนวน ส่วนสัด ที่ เป็น ของ จำเลย นั้น ชอบ ด้วย กฎหมายหรือไม่ โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ว่า เมื่อ ศาลอุทธรณ์ รับฟัง ว่า โจทก์ทั้ง สาม และ จำเลย ต่าง มี กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน แปลง พิพาท และ ยัง ไม่มีการ ตกลง แบ่ง กัน แล้ว ศาลอุทธรณ์ จะ วินิจฉัย ว่า เพื่อ ไม่ให้ จำเลยได้รับ ความเสียหาย ใน การ ที่ ต้อง รื้อ บ้าน ที่ จำเลย อยู่อาศัย ซึ่งปลูก อยู่ ใน ที่ดิน แปลง พิพาท ด้าน ทิศเหนือ และ ทิศตะวันออก จึง ให้จำเลย ได้รับ ส่วนแบ่ง ที่ดิน ใน ที่ดิน แปลง พิพาท ตาม จำนวน ส่วนสัดที่ เป็น ของ จำเลย ตรง ที่ บ้าน จำเลย อยู่อาศัย นั้น หาได้ไม่ เพราะโจทก์ ทั้ง สาม และ จำเลย ไม่ได้ ตกลง กัน เช่นนั้น คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์จึง ไม่ชอบ เห็นว่า เมื่อ รับฟัง ได้ว่า นาย แฉล้ม อยู่คำ บิดา จำเลย ได้ เข้า ปลูก บ้าน ใน ที่ดิน แปลง พิพาท และ อยู่อาศัย ใน บ้าน ดังกล่าว ตลอดมาจน ถึงแก่กรรม จาก นั้น จำเลย ก็ ได้ เข้า รับมรดก ที่ดิน แปลง พิพาท และอาศัย อยู่ ใน บ้าน หลัง ดังกล่าว ตลอดมา เช่นนี้ แล้ว แม้ โจทก์ ทั้ง สามและ จำเลย จะ ตกลง กัน ไม่ได้ ว่า จะ แบ่ง ให้ ใคร ได้ ส่วนแบ่ง ตรง ไหนใน ที่ดิน แปลง พิพาท ก็ ตาม เมื่อ ศาล เห็นว่า หาก การ แบ่ง นั้น ถึง กับ ต้องให้ จำเลย รื้อ บ้าน ที่ เป็น ของ จำเลย และ จำเลย ได้ อาศัย อยู่ ตลอดมา เป็นเวลา นาน เกินกว่า 10 ปี ออก ไป อันเป็น การ เดือดร้อน แก่ จำเลย แล้วศาล ย่อม ใช้ ดุลพินิจ ให้ แบ่ง ที่ดิน แปลง พิพาท ให้ แก่ จำเลย ตรง ที่ บ้านจำเลย ปลูก อาศัย อยู่ นั้น ได้ โดย ให้ ไม่เกิน กว่า จำนวน เนื้อที่ดินที่ จำเลย ได้รับ ส่วนแบ่ง หา จำต้อง สั่ง ให้ ทำการ ประมูล หรือ ขายทอดตลาด ที่ดิน แปลง พิพาท แล้ว เอา เงิน แบ่ง ให้ โจทก์ ทั้ง สาม และ จำเลยตาม ส่วน ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364ทุก กรณี ไป ไม่ ดังนั้น เมื่อ ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า หาก ให้ เอา ที่ดินแปลง พิพาท ประมูล ขาย หรือ ขายทอดตลาด แล้ว เอา เงิน แบ่ง ให้ โจทก์ ทั้ง สามและ จำเลย ตาม ส่วน แล้ว จำเลย อาจจะ ต้อง รื้อ บ้าน ออก ไป เป็น การ เดือดร้อนแล้ว ศาลอุทธรณ์ ย่อม มีอำนาจ พิพากษา ให้ จำเลย ได้ ส่วนแบ่ง ทาง ด้านทิศเหนือ และ ทิศตะวันออก ของ ที่ดิน แปลง พิพาท ได้ คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share