แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ผู้ขับขี่ที่จะได้รับโทษหนักขึ้นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯวรรคสอง หมายถึง กรณีที่ขับขี่รถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่ปฏิบัติตามมาตรา78และเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตายมิใช่หมายถึงการขับขี่รถในทางก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตายแล้วผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา78
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ขับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน ย-2795สมุทรปราการ ด้วย ความประมาท ปราศจาก ความระมัดระวัง กล่าว คือจำเลย ได้ ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว จาก ถนน ซอย หมู่บ้านประชาสุขซิตี้ เข้า ถนน ประชาอุทิศ ทันที แล้ว เลี้ยว ขวา มุ่งหน้า ไป ทาง อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ โดย ไม่หยุด ให้ รถ ที่ กำลัง แล่น อยู่ บน ถนน ประชาอุทิศ ผ่าน ไป ก่อน เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ ที่ จำเลย ขับ เฉี่ยว ปาด หน้า ชน กับรถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร 7 ฝ-3035 ซึ่งนาย หนูกูล พุทไธสง ขับ มา ตาม ถนน ประชาอุทิศ เป็นเหตุ ให้ นาย หนูกูล ได้รับ อันตรายสาหัส และ ถึงแก่ความตาย หลัง เกิดเหตุ จำเลย ไม่แสดง ตัวและ แจ้งเหตุ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ที่ ใกล้เคียง นั้น ทันที ขอให้ ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 91 พระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160 จำเลย ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291, 91 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4),78, 157, 160 วรรคสอง เรียง กระทง ลงโทษ ฐาน ขับ รถยนต์ โดยประมาทเป็นเหตุ ให้ ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมายหลายบท ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่ง เป็น บทที่ มีโทษหนัก ที่สุด วางโทษ จำคุก 3 ปี ฐาน ไม่แจ้งเหตุ และ แสดง ตัว ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ จำคุก 4 เดือน รวม จำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลย ให้การรับสารภาพ มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78กึ่งหนึ่ง คง ลงโทษ จำคุก จำเลย 1 ปี 8 เดือน จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายใน เบื้องแรก ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา160 วรรคสอง นั้น ชอบ หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ. 2522 บัญญัติ เกี่ยวกับ ความผิด ฐาน ขับ รถ ใน ทาง ซึ่ง ก่อ ให้ เกิดความเสียหาย แก่ บุคคล หรือ ทรัพย์สิน ของ ผู้อื่น แล้ว ไม่หยุด รถ ให้ความ ช่วยเหลือ ตาม สมควร และ ไม่แจ้งเหตุ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ไว้ ตาม มาตรา 78 ซึ่ง มี บทลงโทษ ตาม มาตรา 160 บัญญัติ ไว้ ความ ว่า “ผู้ใด ไม่ปฏิบัติ ตาม มาตรา 78 ต้อง ระวางโทษ จำคุก ไม่เกินสาม เดือน หรือ ปรับ ตั้งแต่ สอง พัน บาท ถึง หนึ่ง หมื่น บาท หรือ ทั้ง จำทั้ง ปรับ ถ้า การ ไม่ปฏิบัติ ตาม มาตรา 78 เป็นเหตุ ให้ บุคคลอื่น ได้รับอันตรายสาหัส หรือ ตาย ผู้ ไม่ปฏิบัติ ตาม ต้อง ระวางโทษ จำคุก ไม่เกินหก เดือน หรือ ปรับ ตั้งแต่ ห้า พัน บาท ถึง สอง หมื่น บาท หรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ ” ผู้ขับขี่ ที่ จะ ได้รับ โทษหนัก ขึ้น ตาม มาตรา 160 วรรคสอง หมายถึงกรณี ที่ ขับขี่ รถ ใน ทาง ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ บุคคล หรือ ทรัพย์สินของ ผู้อื่น แล้ว ไม่ปฏิบัติ ตาม มาตรา 78 และ การ ไม่ปฏิบัติ ตาม นี้เป็นเหตุ ให้ บุคคลอื่น ได้รับ อันตรายสาหัส หรือ ตาย มิใช่ หมายถึงการ ขับขี่ รถ ใน ทาง ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย เป็นเหตุ ให้ บุคคลอื่น ได้รับอันตรายสาหัส หรือ ตาย แล้ว ผู้ขับขี่ ไม่ปฏิบัติ ตาม มาตรา 78 คดี นี้โจทก์ กล่าว บรรยายฟ้อง แต่เพียง ว่า เมื่อ จำเลย ก่อ ความเสียหาย แล้วจำเลย มิได้ แสดง ตัว และ แจ้งเหตุ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ใกล้เคียง ทันทีมิได้ บรรยาย อ้าง เหตุ ว่าการ ที่ จำเลย ไม่อยู่ ให้ ความ ช่วยเหลือ ตาม สมควรไม่แสดง ตัว และ แจ้งเหตุ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ใกล้เคียง ทันที โดยจำเลย ได้ หลบหนี ไป จาก ที่เกิดเหตุ อันเป็น การ ไม่ปฏิบัติ ตาม มาตรา 78นั้น เป็นเหตุ ให้ บุคคลอื่น ได้รับ อันตรายสาหัส หรือ ตาย ด้วย เหตุ นี้คดี จึง ไม่อาจ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคสอง ได้ แม้ จำเลย จะ มิได้ อุทธรณ์ ฎีกา ใน ปัญหา ดังกล่าวแต่เมื่อ ศาลฎีกา เห็นว่า ศาลล่าง ทั้ง สอง ปรับ บทลงโทษ และ วาง อัตราโทษจำเลย ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกา ย่อม มีอำนาจ แก้ไข ปรับ บท และ วาง อัตราโทษเสีย ใหม่ ให้ ถูกต้อง ได้ ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ขอให้ รอการลงโทษ จำคุกจำเลย นั้น เห็นว่า จำเลย ไม่เคย ต้องโทษ จำคุก มา ก่อน บิดา มารดา ผู้ตายได้รับ ค่าเสียหาย เป็น ที่ พอใจ แล้ว การ ให้ โอกาส แก่ จำเลย เพื่อ ประพฤติตน เป็น พลเมือง ดี ตาม ความ ประสงค์ ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ สังคม โดย รวมมาก กว่า การ จำคุก จำเลย ไว้ ฎีกา จำเลย ฟังขึ้น แต่ เพื่อ ให้ จำเลย หลา บจำเห็นควร ลงโทษ ปรับ ด้วย ” พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ให้ ปรับ จำเลย ฐาน ขับ รถยนต์ โดยประมาทเป็นเหตุ ให้ ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย 10,000 บาท อีก สถาน หนึ่งฐาน ไม่แสดง ตัว และ แจ้งเหตุ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ที่ ใกล้เคียง ทันทีจำคุก 2 เดือน และ ปรับ 2,000 บาท รวม โทษ จำคุก 3 ปี 2 เดือนและ ปรับ 12,000 บาท จำเลย รับสารภาพ มีเหตุ บรรเทา โทษ ปรานี ลดโทษจำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คง จำคุก 1 ปี 7 เดือนและ ปรับ 6,000 บาท โทษ ปรับ ไม่ชำระ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30 โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์