คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยพูดโต้ตอบกับพลตำรวจม.ในระหว่างพลตำรวจม.ตรวจดูรถแท็กซี่คันที่จำเลยกับพวกนั่งมาเมื่อพลตำรวจม.บอกจำเลยว่าหัวหน้าด่านตรวจคือร้อยตำรวจโทปรีชาและพูดต่อไปว่าถ้าหากจำเลยสงสัย(ว่าเป็นด่านตรวจรถที่ตั้งขึ้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ให้ไปสอบถามหัวหน้าด่านได้จำเลยพูดว่า’แค่ร้อยตำรวจโทนั้นกระจอกไม่อยากคุยด้วยหรอก’ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยพูดกับพลตำรวจม.ว่าจำเลยไม่อยากพูดคุยกับหัวหน้าด่านตรวจที่มียศแค่ร้อยตำรวจโทเพราะจำเลยเห็นว่าหัวหน้าด่านตรวจมียศต่ำไปจำเลยหาได้เจาะจงสบประมาทโจทก์ร่วมว่าเป็นคนต่ำต้อยหรือเลวแต่อย่างใดไม่คำพูดดังกล่าวจึงเป็นคำพูดที่ไม่สุภาพเท่านั้นหาใช่เป็นคำด่าหรือเป็นการสบประมาทเหยียดหยามโจทก์ร่วมให้ได้รับความอับอายแต่ประการใดไม่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา136.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136 ให้ ปรับ 1,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า คำกล่าว ของ จำเลย เป็น คำพูด ที่ ไม่ สุภาพ ไม่เป็น การ ดูหมิ่น พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ หา ว่า จำเลย กล่าวคำ ดูหมิ่นร้อยตำรวจโท ปรีชา ดัง ฟ้อง นั้น ตาม ข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ นำสืบ ปรากฎว่า จำเลย ได้ พูด โต้ตอบ กับ พลตำรวจ มณฑล ใน ระหว่าง พลตำรวจ มณฑลตรวจ ดู รถ แท็กซี่ คัน ที่ จำเลย กับ พวก นั่ง มา เมื่อ พลตำรวจ มณฑลบอก จำเลย ว่า หัวหน้า ด่านตรวจ คือ ร้อยตำรวจโท ปรีชา และ พูด ต่อไปว่า ถ้า หาก จำเลย สงสัย ให้ ไป สอบถาม หัวหน้า ด่าน ได้ จำเลย จึงพูด ว่า ‘แค่ ร้อยตำรวจโท นั้น กระจอก ไม่ อยาก คุย ด้วย หรอก’ซึ่ง แปล ความหมาย ได้ ว่า จำเลย พูด กับ พลตำรวจ มณฑล ว่า จำเลย ไม่อยาก พูด คุย กับ หัวหน้า ด่านตรวจ ที่ มี ยศ แค่ ร้อยตำรวจโท เพราะจำเลย เห็นว่า หัวหน้า ด่านตรวจ มี ยศ ต่ำ ไป จำเลย หา ได้ เจาะจงสบประมาท ร้อยตำรวจโท ปรีชา ว่า เป็น คน ต่ำต้อย หรือ เลว แต่ อย่างใดไม่ คำพูด ดังกล่าว จึง เป็น คำพูด ที่ ไม่ สุภาพ เท่านั้น หา ใช่เป็น คำด่า หรือ เป็น การ สบประมาท เหยียดหยาม ร้อยตำรวจโท ปรีชา ให้ได้ รับ ความ อับอาย แต่ ประการ ใด ไม่ ถ้อยคำ ดังกล่าว จึง ไม่ เป็นการ ดูหมิ่น ร้อยตำรวจโท ปรีชา แม้ จำเลย จะ กล่าว จริง ก็ ไม่ เป็นความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 จึง ไม่ จำต้อง วินิจฉัยข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ได้ กล่าว ถ้อยคำ ตาม ฟ้อง หรือไม่
พิพากษา ยืน.

Share