แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำเลยตามข้อบังคับของธนาคารฯจำเลยฉบับที่4ข้อ15(4)และข้อ18ที่กำหนดว่าพนักงานต้องออกจากงานเมื่อเกษียณอายุคือการที่พนักงานมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์นั้นมิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิได้กำหนดข้อผูกพันให้จ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แต่เป็นการกำหนดคุณสมบัติพนักงานของจำเลยเป็นการทั่วไปดังนั้นพนักงานผู้มีอายุครบ60ปีบริบูรณ์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานเมื่อธนาคารฯจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ธนาคารฯจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ เงินบำเหน็จที่ธนาคารฯจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินที่มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯจึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย ข้อบังคับของธนาคารฯจำเลยฉบับที่17ว่าด้วยการลาและการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาข้อ11วรรคแรกกำหนดว่า’ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้10วันโดยไม่ถือเป็นวันลา’และความในวรรคท้ายกำหนดว่า’การลาการอนุญาตให้ลาพักผ่อนประจำปีให้เป็นไปตามที่ผู้จัดการกำหนด’เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้จัดการได้กำหนดวันให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีไว้การที่โจทก์มิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีจึงหาตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2490 จำเลย จ้าง โจทก์ เข้าทำงาน เป็น ลูกจ้าง ประจำ ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย เดือนละ 16,800 บาทต่อมา วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ เกษียณอายุโดย ไม่ จ่าย ค่าชดเชย ให้ ตาม กฎหมาย โจทก์ มี สิทธิ ได้รับ ค่าชดเชยจำนวน 100,800 บาท และ มี สิทธิ ได้ ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อนประจำปี รวม 20 วัน เป็นเงิน 11,200 บาท ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่ายค่าชดเชย และ ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ตาม กำหนด ระยะเวลา จึง ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์ และ โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน บำเหน็จจาก จำเลย เป็น จำนวน 638,400 บาท เงิน ค่า บำเหน็จ ดังกล่าว เป็นจำนวน เกินกว่า ค่าชดเชย ตาม ที่ กฎหมาย กำหนด โจทก์ ไม่ มี สิทธิได้ รับ เงิน ค่าชดเชย และ ค่า ทำงาน ใน วัน หยุด จาก จำเลย อีกขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย จำนวน 100,800 บาทและ ค่าทำงาน ใน วัน หยุด จำนวน 11,200 บาท แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย อุทธรณ์ ข้อแรก ว่า ตาม ข้อบังคับ ของจำเลย ฉบับที่ 4 ข้อ 15 (4) และ ข้อ 18 เป็น ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพ การจ้าง ของ โจทก์ จำเลย ถือ ได้ ว่า เป็น การ กำหนด ระยะเวลาการจ้าง ตาม สัญญา จ้างแรงงาน ซึ่ง โจทก์ ทราบ ดีแล้ว ว่า เมื่อ โจทก์มี อายุ ครบ 60 ปี บริบูรณ์ ก็ จะ ต้อง ถูก เลิกจ้าง จึง เป็น สัญญาจ้างที่ มี กำหนด ระยะเวลา การจ้าง ไว้ แน่นอน นั้น พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่าตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ฉบับที่ 4 ข้อ 15 (4) และ ข้อ 18 ที่ กำหนดว่า พนักงาน ต้อง ออกจาก งาน เมื่อ เกษียณอายุ และ การ เกษียณอายุคือ การ ที่ พนักงาน มี อายุ ครบ 60 ปี บริบูรณ์ นั้น มิใช่ เป็น การกำหนด ระยะเวลา การ จ้าง เพราะ มิได้ กำหนด ข้อผูกพัน ให้ จ้างกันจนกว่า พนักงาน จะ มี อายุ ครบ 60 ปี บริบูรณ์ แต่ เป็น เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ พนักงาน ของ จำเลย เป็น การ ทั่วไป พนักงาน ผู้ มี อายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ จึง มิใช่ ลูกจ้าง ที่ มี กำหนด ระยะเวลา การจ้างไว้ แน่นอน ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การ คุ้มครองแรงงาน การที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ จำเลย จึง ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ ข้อ ที่สอง ว่า ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ฉบับที่29 ระบุ ว่า ‘การ จ่ายเงิน บำเหน็จ ตาม ข้อบังคับ นี้ ให้ ถือว่าเป็น การ จ่าย เงินชดเชย ตาม กฎหมาย เกี่ยวกับ แรงงาน’ ซึ่ง โจทก์ได้ รับ เงินบำเหน็จ ไป แล้ว จึง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย อีกพิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า เงินบำเหน็จ ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ฉบับที่29 มี หลักเกณฑ์ ว่า ผู้ ปฏิบัติ งาน จะ มี สิทธิ ได้ รับ ต่อเมื่อมี ระยะเวลา ทำงาน ตั้งแต่ ห้า ปี ขึ้นไป เว้นแต่ การ ออกจาก งานเพราะ เหตุ ที่ ระบุ ไว้ ผู้ ที่ ลาออก จาก งาน ก็ มี สิทธิ ได้ รับเงินบำเหน็จ หาก มี ระยะเวลา ทำงาน ถึง กำหนด และ กรณี ที่ ผู้ ปฏิบัติงาน ถึง แก่ ความตาย จำเลย ก็ ยัง ต้อง จ่าย เงินบำเหน็จ แก่ ทายาทผู้ ปฏิบัติ งาน นั้น ด้วย ดังนี้ เงินบำเหน็จ จึง เป็น เงิน ที่ มีหลักเกณฑ์ และ เงื่อนไข ใน การ จ่าย แตกต่าง กับ ค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เงินบำเหน็จ ที่ จำเลยจ่าย ให้ แก่ โจทก์ จึง ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น ค่าชดเชย
จำเลย อุทธรณ์ ข้อสุดท้าย ว่า ตาม เอกสาร หมายเลข 4 และ 5 ท้ายคำให้การ ซึ่ง เป็น ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง ให้ สิทธิ แก่โจทก์ ที่ จะ เลือก หยุด พักผ่อน ประจำปี ใน วันใด ก็ ได้ ตามแต่โจทก์ จะ เลือก แต่ โจทก์ ไม่ ใช้ สิทธิ เอง และ จำเลย ก็ ไม่ เคยมี คำสั่ง ให้ โจทก์ มา ทำงาน ใน วันหยุด การ ที่ โจทก์ มา ทำงานโดย ไม่ หยุด พักผ่อน ประจำปี เป็น ความ สมัครใจ ของ โจทก์ เอง โจทก์จึง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ทำงาน ใน วันหยุด นั้น พิเคราะห์ แล้วเห็นว่า ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ฉบับที่ 17 ว่าด้วย การ ลา และ การจ่าย เงินเดือน ระหว่าง ลา ข้อ 11 วรรคแรก กำหนด ว่า ‘ผู้ ปฏิบัติ งานมี สิทธิ ลา พักผ่อน ประจำปี ใน ปีหนึ่ง ได้ 10 วัน โดย ไม่ ถือ เป็นวันลา’ และ ความ ใน วรรคท้าย กำหนด ว่า ‘การ ลา การ อนุญาต ให้ ลาพักผ่อน ประจำปี ให้ เป็น ไปตาม ที่ ผู้จัดการ กำหนด’ ข้อเท้จจริงไม่ ปรากฏ ว่า ผู้จัดการ ได้ กำหนด วัน ให้ โจทก์ หยุด พักผ่อน ประจำปีไว้ การ ที่ โจทก์ มิได้ ใช้ สิทธิ หยุด พักผ่อน ประจำปี จึง หา ตัดสิทธิ โจทก์ ที่ จะ ได้ รับ ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปีตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ ที่ศาลแรงงานกลาง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ ทุก ข้อของ จำเลย ฟัง ไม่ขึ้น
พิพากษายืน