คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาโจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในฟ้องว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดเมื่อฟ้องโจทก์ได้ระบุโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้วก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองคำสั่งของศาลที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ตาม กฎหมาย มี ฐานะ เป็น กรมใน รัฐบาล โจทก์ มอบอำนาจ ให้ นาย ประจวบ แสงอินทร์ ฟ้องคดี นี้ สำนักงาน การ ประถมศึกษา จังหวัด นราธิวาส เป็น หน่วย ราชการ หนึ่งของ โจทก์ ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 รับ ราชการ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการการ ประถมศึกษา จังหวัด นราธิวาส และ เป็น ผู้บังคับบัญชา ของ จำเลย ที่ 2ถึง ที่ 8 จำเลย ที่ 2 รับ ราชการ ตำแหน่ง ผู้ช่วย ผู้อำนวยการการ ประถมศึกษา จังหวัด นราธิวาส จำเลย ที่ 3 รับ ราชการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ บริหาร การเงิน และ บัญชี 5 สำนักงาน การ ประถมศึกษา จังหวัดนราธิวาส จำเลย ที่ 4 รับ ราชการ ตำแหน่ง ครู 1 ระดับ 1 สังกัดสำนักงาน การ ประถมศึกษา จังหวัด นราธิวาส จำเลย ที่ 5 รับ ราชการตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียน นิคมพัฒนา 7 จำเลย ที่ 6 รับ ราชการ ตำแหน่ง อาจารย์ 1 โรงเรียน บ้านโนนสมบูรณ์ จำเลย ที่ 7 รับ ราชการ ตำแหน่ง อาจารย์ 1 รักษา การ ตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียน บ้านน้ำใส จำเลย ที่ 8 รับ ราชการ ตำแหน่ง หัวหน้า การ ประถมศึกษา อำเภอ สุคิริน จังหวัด นราธิวาส จำเลย ที่ 6 ที่ 7 และ ที่ 8 ได้รับ แต่งตั้ง เป็นคณะกรรมการ ควบคุม การ ตรวจ การจ้าง ก่อสร้าง อาคาร เรียน โรงเรียน นิคมพัฒนา 4 กิ่งอำเภอสุคิริน จังหวัด นราธิวาส เมื่อ วันที่ 23 สิงหาคม 2526 สำนักงาน การ ประถมศึกษา จังหวัด นราธิวาส โดย จำเลย ที่ 1ผู้รับมอบอำนาจ ได้ ตกลง ทำ สัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ศุภลักษณ์ นราธิวาส ทำการ ก่อสร้าง อาคาร เรียน โรงเรียน นิคมพัฒนา 4 ใน ราคา 380,000 บาท แล้ว เสร็จ ภายใน วันที่ 20 เมษายน 2527 หาก ผู้รับจ้างส่งมอบ งาน ล่าช้า กว่า กำหนด แต่ ผู้ว่าจ้าง ยัง ไม่ บอกเลิก สัญญาผู้รับจ้าง ยอม ให้ ผู้ว่าจ้าง ปรับ เป็น รายวัน วัน ละ 800 บาท นับแต่วัน ล่วงเลย กำหนด วัน แล้ว เสร็จ ตาม สัญญา จน ถึง วันที่ งาน เสร็จ บริบูรณ์ต่อมา วันที่ 3 เมษายน 2527 ซึ่ง อยู่ ใน ระหว่าง อายุ สัญญาจ้างผู้รับจ้าง ได้ ทำ หนังสือ ถึง จำเลย ที่ 8 ขอ ต่อ อายุ สัญญา ออก ไป อีก 150วัน นับแต่ วันที่ 29 เมษายน 2527 เป็นต้น ไป โดย อ้าง เหตุ ว่าฝนตก หนัก ไม่สามารถ ขน วัสดุ ก่อสร้าง เข้า ไป บริเวณ ที่ ก่อสร้าง ได้จำเลย ที่ 6 ที่ 7 และ ที่ 8 ได้ ทำ หนังสือ ถึง จำเลย ที่ 1 แจ้งข้อเท็จจริง ประกอบการ พิจารณา ต่อ อายุ สัญญาจ้าง ของ ผู้รับจ้างปรากฏ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 5 และ 6 จำเลย ที่ 4 ทำ เรื่องเสนอ จำเลย ที่ 3 ที่ 2 และ ที่ 1 ตามลำดับ ปรากฏ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้องหมายเลข 7 จำเลย ที่ 1 พิจารณา แล้ว อนุมัติ ให้ มี การ ต่อ อายุ สัญญาออก ไป 100 วัน นับแต่ วันที่ 30 เมษายน 2527 ผู้รับจ้าง ดำเนินการก่อสร้าง อาคาร เรียน แล้ว เสร็จ บริบูรณ์ เมื่อ วันที่ 2 สิงหาคม 2527หลังจาก ครบ กำหนด แล้ว 95 วัน การ ที่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 8 ได้ ร่วมกันพิจารณา ต่อ อายุ สัญญา ให้ แก่ ผู้รับจ้าง ดังกล่าว เป็น การ จงใจ หรือประมาท เลินเล่อ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย อันเป็น การ ละเมิดต่อ โจทก์ เนื่องจาก จำเลย ทั้ง แปด ไม่ปฏิบัติ ตาม ระเบียบ สำนัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การ พัสดุ พ.ศ. 2521 และ ฝ่าฝืน มติ คณะรัฐมนตรีตาม หนังสือ กรม สารบรรณ คณะรัฐมนตรี ฝ่ายบริหาร ที่ นว.165/2500ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2500 ซึ่ง ห้าม มิให้ หน่วย ราชการ ผู้ว่าจ้างต่อ อายุ สัญญา ให้ แก่ ผู้รับจ้าง ด้วย ข้ออ้าง เหตุ เกี่ยวกับ ฤดูกาลดิน ฟ้า อากาศ หรือ ภูมิ ประเทศ ที่ เป็น อยู่ ตาม ธรรมชาติ และ เป็น ปกติท้องถิ่น รายละเอียด ปรากฏ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 10 ทำให้โจทก์ ไม่สามารถ เรียก ค่าปรับ รายวัน ตาม สัญญา จาก ผู้รับจ้าง ได้เป็นเหตุ ให้ โจทก์ เสียหาย เท่ากับ จำนวนเงิน ค่าปรับ วัน ละ 800 บาทเป็น เวลา 95 วัน คิด เป็น จำนวนเงิน 76,000 บาท จำเลย ทั้ง แปดต้อง ชดใช้ ค่าเสียหาย ดังกล่าว ให้ โจทก์ พร้อม ทั้ง ดอกเบี้ย ในอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ทำละเมิด คือ วันที่ 3 สิงหาคม2527 ถึง วันที่ 24 พฤษภาคม 2533 ซึ่ง เป็น วันฟ้อง คดี นี้ รวม 5 ปี9 เดือน 21 วัน คิด เป็น เงิน ค่า ดอกเบี้ย จำนวน 33,044.38 บาทรวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 109,044.38 บาท โจทก์ ทวงถาม แล้ว จำเลย ทั้ง แปดเพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 8 ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหายจำนวน 109,044.38 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน 76,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ จงใจ ละเลยไม่ปฏิบัติ ตาม ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การ พัสดุ พ.ศ. 2521และ มิได้ ฝ่าฝืน มติ คณะรัฐมนตรี ตาม หนังสือ กรม สารบรรณ คณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว.165/2500 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2500 แต่อย่างใดเมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2527 จำเลย ที่ 6 ที่ 7 และ ที่ 8 ใน ฐานะกรรมการ ตรวจ การจ้าง ได้ ร่วมกัน เสนอ เรื่องราว ประกอบ เหตุผล และข้อเท็จจริง ว่า ใน ระยะเวลา แห่ง สัญญา ฝนตก หนัก มา ตลอด น้ำท่วมกัด เซาะ ถนน ขาด ไม่สามารถ นำ วัสดุ ก่อสร้าง เข้า ไป ยัง สถานที่ ก่อสร้าง ได้ควร ต่อ อายุ สัญญา ให้ ตาม ขอ ผ่าน เรื่องราว ตามลำดับ ชั้น จาก จำเลย ที่ 4ที่ 3 และ ที่ 2 ซึ่ง มี ความเห็น เช่นเดียวกัน จำเลย ที่ 1 ได้ พิจารณาคำขอ ประกอบ ข้อเท็จจริง แล้ว เห็นชอบ ตาม ที่ เจ้าหน้าที่ เสนอ มาจึง อนุมัติ ให้ ต่อ สัญญา ให้ รวม 100 วัน เนื่องจาก มีเหตุ สุดวิสัยโจทก์ เรียก ค่าเสียหาย จำนวน 76,000 บาท โดย คิด จาก ค่าปรับ รายวันวัน ละ 800 บาท เป็น การ ขัด ต่อ ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการ พัสดุ พ.ศ. 2521 เพราะ กำหนด ให้ หน่วยงานของรัฐ เรียก ค่าปรับจาก คู่สัญญา ได้ไม่ เกิน ร้อยละ 0.1 ของ วงเงิน ที่ จ้าง ตาม สัญญาตกลง ว่าจ้าง ใน วงเงิน 380,000 บาท โจทก์ มีสิทธิ เรียก ค่าปรับ ได้ วัน ละไม่เกิน 380 บาท จำนวน 95 วัน เป็น เงิน 36,100 บาท เท่านั้นโจทก์ มี หนังสือ บอกกล่าว ทวงถาม ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ชำระ เงินจำนวน 76,000 บาท ภายใน กำหนด 20 วัน นับแต่ วัน ได้รับ หนังสือจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้รับ หนังสือ ทวงถาม วันที่ 1 สิงหาคม 2532เมื่อ พ้น กำหนด วันที่ 20 สิงหาคม 2532 แล้ว จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ไม่ชำระ จึง ต้อง ชำระ ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันที่ 21 สิงหาคม 2532เป็นต้น ไป โจทก์ ทราบ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทน เกินกว่า 1 ปี แล้ว มิได้ ฟ้องคดี นี้ คดี โจทก์ขาดอายุความ แล้ว
จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ มอบอำนาจให้ นาย ประจวบ แสงอินทร์ ฟ้องคดี นี้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5เป็น เพียง ข้าราชการ ชั้น ผู้ น้อย ได้ แต่ สรุป เรื่องราว เสนอ ต่อผู้บังคับบัญชา เท่านั้น ผู้บังคับบัญชา ไม่จำต้อง ผูกมัด ตาม ความเห็นของ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 การ อนุมัติ ต่อ สัญญาจ้าง ตาม ฟ้องจำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิดชอบ แต่ ผู้เดียว ระหว่าง อายุ สัญญาจ้าง นั้นฝนตก หนัก ผิดปกติ และ ถนน ขาด ย่อม มิใช่ ปรากฏ การณ์ ธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นเหตุ สุดวิสัย การกระทำ ของ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ไม่เป็นการ ละเมิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 1 กับพวก ได้ ตกลง ยอม ชำระหนี้ ให้ โจทก์แล้ว หนี้ ย่อม ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292โจทก์ ไม่ได้ ฟ้องคดี นี้ ภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่ รู้ ถึง การ ละเมิดและ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ฟ้อง ของ โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว
จำเลย ที่ 6 ที่ 7 และ ที่ 8 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ มอบอำนาจ ให้นาย ประจวบ แสงอินทร์ ฟ้องคดี นี้ จำเลย ที่ 6 ที่ 7 และ ที่ 8เป็น ข้าราชการ ชั้น ผู้ น้อย เมื่อ ทราบ เรื่อง ผู้รับจ้าง ขอ ต่อ อายุสัญญา แล้ว ต้อง ทำ บันทึก เสนอ ผู้บังคับบัญชา ตามลำดับ ชั้น จำเลย ที่ 6ที่ 7 และ ที่ 8 กระทำ ไป ตาม ระเบียบ แบบ แผน ของ ทางราชการ ไม่ได้กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ โจทก์ ไม่มี สิทธิ คิด ดอกเบี้ย เกินกว่า 5 ปีโจทก์ มิได้ ฟ้องคดี นี้ ภายใน กำหนด เวลา 1 ปี นับแต่ รู้ ถึง เรื่อง ละเมิดและ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ฟ้อง ของ โจทก์ ขาดอายุความแล้ว
ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว จึง มี คำสั่ง ให้ งดสืบพยานโจทก์ และ จำเลย และ วินิจฉัย ว่า มูลละเมิด เกิด เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม แต่ โจทก์ ฟ้องคดี เรียก ค่าเสียหาย ใน วันที่ 24พฤษภาคม 2533 เป็น เวลา เกิน 1 ปี โดย มิได้ บรรยาย ถึง วันที่ โจทก์ตรวจ พบ ถึง การ ละเมิด และ มิได้ บรรยาย ถึง เหตุ ที่ โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องคดีดังกล่าว ได้ คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลชั้นต้นรับรอง ให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ฎีกา ว่า การ ที่ ศาล ได้ กำหนด ประเด็นข้อพิพาท เกี่ยวกับ อายุความ ไว้ แล้ว ก็ ชอบ ที่ จะ ให้ โจทก์ นำพยาน หลักฐานเข้าสืบ จะ สั่ง งดสืบพยาน และ ฟัง ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ ไม่ชอบเห็นว่า เรื่อง อายุความ ไม่ใช่ สภาพแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง โจทก์ จึง ไม่จำเป็น ต้อง กล่าว ใน ฟ้อง ว่าคดี โจทก์ ไม่ขาดอายุความ เพราะ เหตุใด คดี นี้ ฟ้องโจทก์ ได้ ระบุโดยชัดแจ้ง ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับ แล้ว จึง เป็น ฟ้องที่ สมบูรณ์ เมื่อ จำเลย ให้การ ต่อสู้ คดี จึง ชอบ ที่ ศาล จะ ต้อง ดำเนินกระบวนพิจารณา ต่อไป โดย สืบพยาน หลักฐาน ตาม ประเด็น ข้อพิพาท แล้วพิจารณา พิพากษา ตาม รูปคดี ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง มี คำสั่ง ให้ งดสืบพยานโจทก์ จำเลย และ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวนพิจารณา ต่อไป แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี

Share