คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้จำเลยที่1จะ ไม่มี เจตนา หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ข้อความไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองนั้นก็ตามแต่เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยที่1เป็น บรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจำเลยที่1ก็ย่อมมีความผิดในฐานะเป็น ตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา48 ศาลล่างลงโทษปรับจำเลยทั้งสองตาม อัตราโทษของกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำผิดซึ่งมีโทษปรับสูงกว่ากฎหมายเดิมจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองและไม่อาจนำกฎหมายดังกล่าวมาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ โฆษณาหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน ใส่ความ หมิ่นประมาท นาย โภคิน พลกุล ผู้เสียหาย โดย จำเลย ที่ 2 ให้ สัมภาษณ์ และ จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำการ โฆษณา ด้วย ตัวอักษร ให้ ปรากฏ ใน หนังสือพิมพ์รายวัน “มติชน” ฉบับ ลงวันที่ 27 มกราคม 2535 โดย พาด หัว ข่าว ว่า “แฉแก๊ง 4 พ.อ. -3 ดร. ทำ พรรค บิ๊กจิ๋ว พัง ” ซึ่ง หมายความ ว่า พรรคการเมือง ชื่อ พรรค ความหวังใหม่ มี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็น หัวหน้า พรรค ได้ ถูก ทำลาย ลง โดย กลุ่ม บุคคล ซึ่ง ประกอบ ด้วย นายทหารยศ พันเอก 4 นาย และ นักวิชาการ ระดับ ปริญญาเอก 3 นาย นอกจาก นี้จำเลย ที่ 2 ยัง ให้ สัมภาษณ์ และ จำเลย ที่ 1 ได้ ลง โฆษณารายละเอียด ของ ข่าว ว่า “ขณะ นี้ เกิด กลุ่ม อิทธิพล ใน พรรค 3 กลุ่มกลุ่ม สอง เป็น กลุ่ม 3 ด๊อกเตอร์ ประกอบ ด้วย นาย โภคิน พลกุล นาย ปรีชา พงษ์ไกรเลิศ นายโกเมศ ขวัญเมือง กลุ่ม อิทธิพล นี้ ได้ ปลอม ลายเซ็น หัวหน้า พรรค ใน การ เบิกเงิน พรรค และ ใช้ ลายเซ็น ปลอม ใน การแต่งตั้ง ตำแหน่ง สำคัญ ๆ ” ทำให้ ประชาชน ผู้ ได้ อ่าน ข่าว ดังกล่าวเข้าใจ ว่า ผู้เสียหาย ได้ ปลอม ลายเซ็น พลเอก ชวลิต หัวหน้า พรรค ความหวังใหม่ เบิกเงิน พรรค ไป ใช้ ประโยชน์ ส่วนตัว และ แต่งตั้ง บุคคล ใน ตำแหน่ง สำคัญ ๆ ภายใน พรรค การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง น่า จะ ทำให้ผู้เสียหาย เสียชื่อเสียง ถูก ดูหมิ่น และ ถูก เกลียดชัง จาก บุคคล ทั่วไปขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326, 328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 48 จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ ระหว่าง พิจารณา นาย โภคิน พลกุล ผู้เสียหาย ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 จำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 2เคย รับโทษ จำคุก มา ก่อน ให้ รอการลงโทษ จำคุก ไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ส่วน จำเลย ที่ 1 ให้ยก ฟ้อง โจทก์ และ โจทก์ร่วม อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 พระราชบัญญัติ การพิมพ์ พ.ศ. 2484มาตรา 4, 48 จำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 1เคย รับโทษ จำคุก มา ก่อน จำเลย ที่ 1 มี อายุ มาก แล้ว และ มี อาชีพ การงานใน ตำแหน่ง สูง โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น จำเลย ที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ยุติ ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น ว่า ข้อความ ที่ จำเลย ที่ 2 ให้ สัมภาษณ์ และ ได้ลง พิมพ์ ใน หนังสือพิมพ์ มติ ชน ตาม ฟ้อง ซึ่ง มี จำเลย ที่ 1 เป็น บรรณาธิการเป็น ข้อความ ที่ จำเลย ที่ 2 ได้ กล่าว หมิ่นประมาท โจทก์ร่วม อันเป็นความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่าจำเลย ที่ 1 ไม่มี เจตนา หมิ่นประมาท โจทก์ร่วม แต่ ข้อความ ที่ ลง พิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน ฉบับ วันที่ 27 มกราคม 2535 เป็น ไป ตาม คำ สัมภาษณ์ ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น สมาชิก พรรค ความหวังใหม่ เพื่อ ให้ ประชาชน ทั่วไป ได้รับ ทราบ ข้อเท็จจริง ที่ เกิดขึ้น ใน พรรค ความหวังใหม่ นั้น เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 บัญญัติ ไว้ เป็น ใจความ ว่า เมื่อ มี ความผิด นอกจากที่ ระบุ ไว้ ใน พระราชบัญญัติ นี้ เกิดขึ้น ด้วย การ โฆษณา สิ่ง พิมพ์ ใน กรณีหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการ ต้อง รับผิด เป็น ตัวการ ดังนั้น แม้ จำเลย ที่ 1จะ ไม่มี เจตนา หมิ่นประมาท โจทก์ร่วม และ ลง พิมพ์ ไป ตาม คำ สัมภาษณ์ ของจำเลย ที่ 2 เพื่อ ให้ ประชาชน ทั่วไป ได้ ทราบ ความ เป็น ไป ใน พรรค ความหวังใหม่ ก็ ตาม แต่เมื่อ หนังสือพิมพ์ ซึ่ง จำเลย ที่ 1 เป็น บรรณาธิการ ลง ข้อความ หมิ่นประมาท โจทก์ร่วม จำเลย ที่ 1 ก็ ย่อม มีความผิด ใน ฐานะ เป็น ตัวการ ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว ฎีกา จำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น อนึ่ง ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ลงโทษ ปรับ จำเลย ที่ 2 และจำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 10,000 บาท และ 20,000 บาท ตามลำดับ นั้นปรากฏว่า เป็น อัตราโทษ ตาม มาตรา 326 และ 328 ซึ่ง แก้ไข โดยพระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11)พ.ศ. 2535 แต่ กฎหมาย ฉบับนี้ มีผล ใช้ บังคับ เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์2535 จึง เป็น กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ภายหลัง การกระทำ ผิด และ เป็น กฎหมายที่ เพิ่ม เฉพาะ อัตราโทษ ปรับ ให้ สูง ขึ้น เนื่องจาก อัตราโทษ ปรับ ขั้น สูงของ มาตรา 326 และ 328 เดิม นั้น มี โทษ ปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท และ4,000 บาท ตามลำดับ จึง ไม่เป็น คุณ แก่ จำเลย ทั้ง สอง จะ นำ กฎหมายฉบับ ดังกล่าว มา ปรับ บทลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง หาได้ไม่ ปัญหา ข้อ นี้ เป็นข้อกฎหมาย ที่ เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข เสียให้ ถูกต้อง ” พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ลงโทษ ปรับ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2เป็น เงิน 2,000 บาท และ 1,000 บาท ตามลำดับ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็นไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share