แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้จำเลยที่2จะย้ายทะเบียนบ้านที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันที่ทำกับโจทก์แต่จำเลยที่2ก็ยังเป็นเจ้าของบ้านดังกล่าวอยู่และบ้านหลังนี้ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่1ตลอดมาจึงเป็นหลักแหล่งที่ทำการงานของจำเลยที่2ให้ถือว่าเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลยที่2ด้วยและถือว่าจำเลยที่2มีถิ่นที่อยู่หลายแห่งสับเปลี่ยนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา45((มาตรา38ใหม่) จำเลยที่2ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า30วันจำเลยที่2ไม่ชำระหนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่2เข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา8(9)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ เงินกู้ โจทก์ 17,000,000 บาทต่อมา จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ หนังสือ สัญญา รับสภาพหนี้ จะ ชำระหนี้ ให้เสร็จสิ้น ภายใน 10 ปี ปี ละ ไม่ น้อยกว่า 1,700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 12 ต่อ ปี จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ทำ สัญญาค้ำประกัน การ ชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ 1 แก่ โจทก์ หลังจาก นั้น จำเลยทั้ง สาม ไม่ได้ชำระ หนี้ ให้ โจทก์ โจทก์ มี หนังสือ ทวงถาม จำเลย ทั้ง สามให้ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ รวม 2 ครั้ง ซึ่ง มี ระยะเวลา ห่าง กัน ไม่ น้อยกว่า30 วัน แต่ จำเลย ทั้ง สาม ไม่ชำระ และ ปิด สถานที่ ประกอบ ธุรกิจหรือ ซ่อน ตัว อยู่ ใน เคหสถาน หรือ หลบ ไป เพื่อ ประวิง การ ชำระหนี้ขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สาม เด็ดขาด และ พิพากษาให้ ล้มละลาย
จำเลย ทั้ง สาม ไม่ยื่น คำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สามเด็ดขาด ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
จำเลย ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ พิจารณา คดี ใหม่ ศาลชั้นต้น พิจารณาแล้ว มี คำสั่ง อนุญาต
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่เคย ได้รับ หนังสือ ทวงถามจาก โจทก์ บ้าน เลขที่ ตาม ฟ้อง ไม่ใช่ ภูมิลำเนา ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2มี ฐานะ กิจการ งาน เป็น หลักฐาน พอ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ได้ และ ไม่เคยหลบหนี ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เข้า ดำเนินคดี แทน โจทก์
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ที่ 2เด็ดขาด ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติใน เบื้องต้น ตาม ที่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 นำสืบ รับ กัน ว่า เมื่อ วันที่20 ธันวาคม 2525 จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ทำ สัญญากู้ยืม เงิน จำนวน 20,000,000 บาท จาก โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 18ใน วันเดียว กัน จำเลย ที่ 2 ได้ ทำ หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ไว้ กับโจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 19 วันที่ 31 ตุลาคม 2527 จำเลย ที่ 1ได้ ทำ หนังสือ สัญญา รับสภาพหนี้ ไว้ กับ โจทก์ เป็น จำนวน 17,000,000 บาทตาม เอกสาร หมาย จ. 7 ใน วันเดียว กัน จำเลย ที่ 2 ได้ ทำ หนังสือสัญญาค้ำประกัน ไว้ กับ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 8
จำเลย ที่ 2 ฎีกา เป็น ข้อ สุดท้าย ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่เป็น ผู้ มีหนี้สินล้นพ้นตัว นาย นาวี เบิกความ ว่า โจทก์ ได้ มี หนังสือ ทวงถาม ไป ยัง จำเลย ที่ 2 2 ครั้ง จำเลย ที่ 2 ได้รับ ไว้ แล้ว ตาม เอกสาร หมายจ. 10 จ. 13 จ. 11 จ. 16 จำเลย ที่ 2 เบิกความ ว่า จำเลย ที่ 2ไม่เคย ได้รับ หนังสือ ทวงถาม ผู้ที่ ลงลายมือชื่อ ใน ช่อง ผู้รับใน ใบ ตอบรับ ไม่ทราบ ว่า เป็น ใคร จำเลย ที่ 2 ได้ ย้าย จาก บ้าน เลขที่47/45 แขวง ทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม 2533 ไป เข้า บ้าน เลขที่ 171 หมู่ ที่ 2 ตำบล ห้วยขุนราม อำเภอ พัฒนานิคม จังหวัด ลพบุรี เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม 2533 ตาม สำเนา ทะเบียนบ้าน เอกสาร หมาย ล. 2 จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของบ้าน เลขที่ 47/45 เป็น อาคาร 2 หลัง อาคาร หน้า เป็น ตึก 3 คู หา4 ชั้น อาคาร หลัง เป็น ตึก 3 คู หา 3 ชั้น ปลูก อยู่ บน ที่ดิน รวม 7 โฉนดตาม เอกสาร หมาย ล. 4 ที่ดิน ทั้ง 7 โฉนด เคย มี คน มา ติดต่อ ขอ ซื้อใน ราคา ประมาณ 50,000,000 บาท จำเลย ที่ 2 ได้ นำ บ้านและ ที่ดิน ดังกล่าว จำนอง ธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด ไว้ เป็น เงิน 12,000,000 บาท ตาม เอกสาร หมาย ล. 5 เห็นว่า โจทก์ ได้ มีหนังสือ ทวงถาม ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระหนี้ รวม 2 ครั้ง ครั้งแรก ลงวันที่15 พฤศจิกายน 2533 ตาม เอกสาร หมาย จ. 10 จำเลย ที่ 2 ได้รับ ไว้ แล้วโดย มี ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้รับ แทน เมื่อ วันที่ 16 พฤศจิกายน2533 ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 และ ครั้งที่ สอง ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2533ตาม เอกสาร หมาย จ. 11 จำเลย ที่ 2 ได้รับ ไว้ แล้ว โดย มี พนักงานของ จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้รับ แทน เมื่อ วันที่ 20 ธันวาคม 2533 การ ส่งหนังสือ ทวงถาม ทั้ง 2 ครั้ง ได้ ส่ง โดย ทาง ไปรษณีย์ ลงทะเบียน ตอบรับไป ยัง บ้าน เลขที่ 47/45 ซอย เย็นจิต แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ซึ่ง เป็น ภูมิลำเนา ของ จำเลย ที่ 2 ตาม ที่ ระบุไว้ ใน หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย จ. 19 และ จ. 8 จำเลย ที่ 2ก็ ยืนยัน ว่า เป็น เจ้าของ บ้าน หลัง นี้ ดังนั้น ถึง แม้ จำเลย ที่ 2 จะ ย้ายออกจาก บ้าน หลัง นี้ แล้ว จำเลย ที่ 2 ก็ ยัง เป็น เจ้าของ บ้าน หลัง นี้ อยู่ทั้ง บ้าน หลัง นี้ ยัง เป็น ที่ ตั้ง สำนักงาน แห่ง ใหญ่ ของ จำเลย ที่ 1 ตลอดมาจำเลย ที่ 2 เป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน จำเลย ที่ 1ตลอดมา เช่นเดียวกัน บ้าน เลขที่ 47/45 ซอย เย็นจิต จึง เป็น หลัก แหล่ง ที่ทำการ งาน ตาม ปกติ ของ จำเลย ที่ 2 ให้ ถือว่า เป็น ภูมิลำเนาแห่ง หนึ่ง ของ จำเลย ที่ 2 ด้วย ถึง แม้ ใน ช่วง ระยะเวลา ที่ โจทก์ ส่งหนังสือ ทวงถาม ไป ยัง จำเลย ที่ 2 นั้น จำเลย ที่ 2 ได้ แจ้ง ย้ายไป อยู่ ที่ บ้าน เลขที่ 171 หมู่ ที่ 2 ตำบล ห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัด ลพบุรี ตาม เอกสาร หมาย ล. 2 ก็ ถือว่า จำเลย ที่ 2 มี ถิ่นที่อยู่หลาย แห่ง สับเปลี่ยน กัน ไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 45เดิม (มาตรา 38 ใหม่ ) ฟังได้ ว่า บ้าน เลขที่ 47/45 ซอย เย็นจิต แขวง ทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็น ภูมิลำเนา จำเลย ที่ 2 อีก แห่ง หนึ่ง ด้วย การ ส่ง หนังสือ ทวงถาม ให้ จำเลย ที่ 2ชำระหนี้ จึง ชอบแล้ว การ ที่ จำเลย ที่ 2 ได้รับ หนังสือ ทวงถาม จาก โจทก์ให้ ชำระหนี้ แล้ว ไม่ น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่ง มี ระยะเวลา ห่าง กัน ไม่ น้อยกว่า 30 วัน และ จำเลย ที่ 2 ไม่ชำระ หนี้ พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 2เข้า ข้อสันนิษฐาน ว่า เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9) ปัญหา ต่อไป ว่า จำเลย ที่ 2มี ทรัพย์สิน เพียงพอ ที่ จะ ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ หรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 2 มี ไม่ เพียงพอ ที่ จะ ชำระหนี้ให้ แก่ โจทก์ ได้ พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 2 ไม่สามารถ หักล้างข้อสันนิษฐาน ของ กฎหมาย ว่า เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว ได้ ฎีกา ของจำเลย ที่ 2 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน