คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

แม้ผู้เสียหายที่1และผู้เสียหายที่2จะเป็นพยานคู่รู้เห็นเหตุการณ์ในความเดียวกันแต่ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติบังคับให้โจทก์ต้องนำพยานคู่มาเบิกความในคราวเดียวกันอันเป็นข้อห้ามไม่ให้รับฟังเป็นข้อพิจารณาของศาลแต่ประการใดศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองไปพิเคราะห์เทียบเคียงให้เห็นเท็จและจริงได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 6 มกราคม 2536 เวลา กลางคืนก่อน เที่ยง จำเลย ใช้ อาวุธปืน ยิง นาย วิทยา หนูเอียด ผู้ตาย 1 นัด และ ใช้ อาวุธปืน ยิง นาย จีรพงศ์ ไข่ขาว ผู้เสียหาย ที่ 1 จำนวน 1 นัด โดย เจตนาฆ่า กระสุนปืน ถูก ที่ บริเวณ ศีรษะ กับ ใช้ อาวุธปืนยิง นางสาว นันฐา สุวรรณพยัคฆ์ ผู้เสียหาย ที่ 2 จำนวน 2 นัด โดย เจตนาฆ่า กระสุนปืน ถูก ที่ บริเวณ แก้ม และ ราวนม ขวา แต่ แพทย์ ให้การ รักษาผู้เสียหาย ที่ 1 และ ที่ 2 ไว้ ทัน ผู้เสียหาย ที่ 1 และ ที่ 2จึง ไม่ ตาย เพียงแต่ ได้รับ อันตรายสาหัส ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80, 288, 91 และ ริบ หัว กระสุนปืน ของกลาง
จำเลย ให้การ ปฎิเสธ
ระหว่าง พิจารณา นาย รัตน์ หนูเอียด บิดา ของ นาย วิทยา หนูเอียด ผู้ตาย ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 และ มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 การกระทำความผิด ของ จำเลย เป็น การกระทำ ความผิด สาม กรรม ต่างกันให้ เรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ฆ่าผู้อื่น ให้ ลงโทษ ประหารชีวิต ฐาน พยายามฆ่า สอง กระทง แต่ละ กระทง ให้ลงโทษ จำคุก ตลอด ชีวิต เมื่อ ลงโทษ ประหาร ชีวิต แล้ว จึง ไม่นำ โทษ จำคุกตลอด ชีวิต มา รวม คง ให้ ประหารชีวิต จำเลย สถาน เดียว ริบ หัว กระสุนปืนของกลาง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ศาล นำ คำเบิกความของ ผู้เสียหาย ที่ 1 มา ลงโทษ จำเลย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ผู้เสียหายที่ 1 เป็น พยาน คู่ กับ ผู้เสียหาย ที่ 2 ฝ่าย โจทก์ ไม่ได้ นำ มา เบิกความ ในคราว เดียว กัน ทำให้ จำเลย เสียเปรียบ นั้น เห็นว่า แม้ ผู้เสียหายทั้ง สอง จะ รู้เห็น เหตุการณ์ ใน คราว เดียว กัน โดยปกติ แล้ว ฝ่าย โจทก์จะ นำ ประจักษ์พยาน ทั้ง สอง มา เบิกความ พิสูจน์ ความผิด ของ จำเลยเพื่อ ให้ ศาล เชื่อ ว่า จำเลย ได้ กระทำผิด จริง โดย ปราศจาก ข้อสงสัยอัน สมควร แต่ กรณี นี้ ได้ความ ว่า ผู้เสียหาย ที่ 1 ถูก ยิง หมด สตินาน ถึง 3 เดือน เจ้าพนักงาน ตำรวจ จึง ไม่สามารถ สอบสวน ผู้เสียหายที่ 1 และ โจทก์ ไม่ได้ อ้าง เป็น พยาน แต่ ต่อมา โจทก์ร่วม ได้ อ้างเป็น พยาน และ นำเข้า เบิกความ ต่อ ศาล ศาล ย่อม นำ คำเบิกความไป พิเคราะห์ เทียบ เคียง ให้ เห็น เท็จ และ จริง ได้ ทั้ง ไม่มี กฎหมายบัญญัติ บังคับ ให้ โจทก์ ต้อง นำพยาน คู่ มา เบิกความ ใน คราว เดียว กัน อันเป็นข้อห้าม ไม่ให้ รับฟัง เป็น ข้อพิจารณา ของ ศาล แต่ ประการใด
พิพากษายืน

Share