คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่5)พ.ศ.2530ให้คำนิยามคำว่ายาใช้ภายนอกและยาใช้เฉพาะที่แบ่งแยกกันไว้โดยเฉพาะโดยยาใช้ภายนอกจะไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่ซึ่งแตกต่างไปจากคำนิยามตามพระราชบัญญัติ ยาพ.ศ.2510ซึ่งจะมียาที่เป็นทั้งสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันได้ฉะนั้นภายหลังใช้พระราชบัญญัติยา(ฉบับที่5)พ.ศ.2530แล้วจะไม่มียาที่เป็นทั้งสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันได้เลยดังนั้นหากจะแปลความหมายของประกาศกรมศุลกากรที่46/2531ลำดับที่60ที่กำหนดว่าจะต้องเป็นยาที่มีสารออกฤทธิ์4ตัวคือ แคมเฟอร์ น้ำมัน ยูคาลิปตัส เมนทอลและ เมทิลซาลิซิเลต ชนิดครีมชนิดขี้ผึ้งชนิดน้ำสำหรับใช้ภายนอกและเฉพาะที่ซึ่งประกาศใช้ภายหลังพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่5)พ.ศ.2530ว่าเป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ด้วยก็จะไม่มียาชนิดใดตรงตามประกาศข้อนี้จะทำให้ประกาศข้อนี้ไม่มีผลใช้บังคับเลยความมุ่งหมายของประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวมีความหมายว่าเป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกชนิดหนึ่งและเป็นยาน้ำสำหรับใช้เฉพาะที่อีกชนิดหนึ่งหาได้มีความหมายว่าต้องเป็นทั้งยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันไม่เมื่อยาน้ำมัน กวางลุ้งของโจทก์เป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกจึงต้องตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ศก.1/2528,ศก.1/2531และศก.7/2531

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย คืนเงิน ภาษีอากร ที่ รับ ชำระ ไว้ เกินพร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ต่อสู้ คดี ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ที่ มิได้โต้เถียง กัน ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า ระหว่าง ปี 2531 ถึง ปี 2533 โจทก์ ได้ นำสินค้า ยา น้ำมัน กวางลุ้ง เข้า มา ใน ราชอาณาจักร รวม 18 ครั้ง โดย นำเข้า ใน ปี 2531 รวม 7 ครั้ง นำเข้า ใน ปี 2532 รวม 6 ครั้งโจทก์ ได้ ชำระ อากร อัตรา ร้อยละ 30 ให้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลยและ รับ สินค้า ไป ทั้งหมด แล้ว แต่ โจทก์ เห็นว่า แม้ ยา น้ำมัน กวางลุ้ง ของ โจทก์ ที่ นำเข้า มา จะ มี สาร ออกฤทธิ์ 4 ตัว คือ แคมเฟอร์ น้ำมัน ยูคาลิปตัส เมนทอล และ เมทิลซาลิซิเลต ก็ ตาม แต่ ยา น้ำมัน กวางลุ้ง เป็น ยา ชนิด น้ำ ใช้ สำหรับ ทา ไม่ใช่ ชนิด สูดดมตาม ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 63/2539 และ เป็น ยา สำหรับ ใช้ ภายนอก เท่านั้น ไม่ได้ใช้ เฉพาะ ที่ ด้วย ตาม ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 46/2531 โจทก์ จึง ได้รับลด อัตรา อากร ลง เหลือ ร้อยละ 10 ตาม ประกาศกระทรวง การ คลัง ที่ศก. 1/2528, ศก. 1/2531 และ ศก. 7/2531 ซึ่ง จะ เป็น ผล ให้โจทก์ ได้รับ คืนเงิน ภาษีอากร ที่ ชำระ ให้ จำเลย เกิน ไป รวมทั้งสิ้น5,580,648.86 บาท
ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย ปัญหา ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า จำเลย จะต้อง รับผิด คืนเงิน ภาษีอากร ให้ แก่ โจทก์ หรือไม่ เพียงใด เป็น ข้อ แรกสำหรับ สินค้า ยา น้ำมัน กวางลุ้ง ที่ โจทก์ นำเข้า ใน ปี 2531 ทั้ง 7ครั้ง ศาลภาษีอากรกลาง วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฟ้อง ขอ คืน อากร เกินกว่า สอง ปีนับแต่ วัน นำเข้า คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ เมื่อ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องเรียกคืน อากร อันเป็น ค่าภาษีอากร หลัก เสีย แล้ว โจทก์ ย่อม ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอ คืน ภาษีการค้า และ ภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์ มิได้อุทธรณ์ใน ส่วน นี้ จึง คงเหลือ ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย แต่ เฉพาะ การ นำเข้าใน ปี 2532 และ ปี 2533 ฉะนั้น ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ยา น้ำมัน กวางลุ้ง ของ โจทก์ มิใช่ เป็น ชนิด สูดดมตาม ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 63/2529ลำดับ ที่ 56 อัน จะ ทำให้ โจทก์ ไม่ได้ รับ ลด อัตรา อากร ลง เหลือ ร้อยละ 10ตาม ประกาศกระทรวง การ คลัง จึง ไม่เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา ต่อไปทั้งนี้ เนื่องจาก พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย วินิจฉัย ว่า ในการ นำเข้า ปี 2531 ครั้งที่ 1 ถึง ครั้งที่ 3 เท่านั้น ที่ เห็นว่ายา น้ำมัน กวางลุ้ง ของ โจทก์ เป็น ยา ชนิด สูดดม ต้อง ตาม ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 63/2529 ลำดับ ที่ 56 ซึ่ง เป็น ประกาศ ที่ ใช้ อยู่ ใน ขณะที่ โจทก์ นำเข้า เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ไม่ได้ รับ ลด อัตรา อากร ส่วน การ นำเข้านอกนั้น พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย วินิจฉัย ว่า เป็น ยา ชนิด น้ำ สำหรับใช้ ภายนอก ต้อง ตาม ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 46/2531 ลำดับ ที่ 60ซึ่ง เป็น ประกาศ ที่ ใช้ อยู่ ใน ขณะที่ โจทก์ นำเข้า ครั้ง ต่อมา ดังกล่าว แล้วการ จะ วินิจฉัย ว่า จำเลย จะ ต้อง รับผิด คืนเงิน ภาษีอากร ใน การ นำเข้า ปี2532 และ ปี 2533 ให้ แก่ โจทก์ หรือไม่ เพียงใด ตาม ที่ โจทก์ อุทธรณ์จึง ต้อง วินิจฉัย ว่า ยา น้ำมัน กวางลุ้ง ที่ โจทก์ นำเข้า ต้อง ตาม ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 46/2531 ลำดับ ที่ 60 หรือไม่ เท่านั้น กรณี ไม่มีประโยชน์ ที่ จะ วินิจฉัย ว่า ยา น้ำมัน กวางลุ้ง ที่ โจทก์ นำเข้า เป็น ยา ชนิด สูดดม ตาม ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 63/2529 หรือไม่ อีก ต่อไปศาลฎีกา จึง ไม่ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ โจทก์ ใน ส่วน นี้
สำหรับ ปัญหา ว่า ยา น้ำมัน กวางลุ้ง ที่ โจทก์ นำเข้า ต้อง ตาม ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 46/2531 ลำดับ ที่ 60 หรือไม่ นั้น ตาม ประกาศดังกล่าว กำหนด ว่า จะ ต้อง เป็น ยา ที่ มี สาร ออกฤทธิ์ 4 ตัว คือ แคมเฟอร์ น้ำมัน ยูคาลิปตัส เมนทอล และ เมทิลซาลิซิเลต ชนิด ครีมชนิด ขี้ผึ้ง ชนิด น้ำ สำหรับ ใช้ ภายนอก และ เฉพาะ ที่ ข้อเท็จจริง ฟังได้แล้ว ว่า ยา น้ำมัน กวางลุ้ง ของ โจทก์ มี สาร ออกฤทธิ์ 4 ตัว ตาม ประกาศ ดังกล่าว และ เป็น ชนิด น้ำ สำหรับ ใช้ ภายนอก โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ยาที่ จะ ต้อง ตาม ประกาศ ดังกล่าว ต้อง เป็น ชนิด น้ำ สำหรับ ใช้ ภายนอก และ ใช้เฉพาะ ที่ ทั้ง สอง อย่าง ควบ คู่ กัน ไป มิใช่ แต่เพียง เป็น ยา ชนิด น้ำ สำหรับใช้ ภายนอก แต่เพียง อย่างเดียว เช่น ยา น้ำมัน กวางลุ้ง ของ โจทก์ ดัง ที่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ตีความ เห็นว่า เมื่อ อ่าน ประกาศกรมศุลกากร ดังกล่าว อาจ ตีความ หมาย ได้ เป็น สอง นัย คือ ดัง ที่ โจทก์อุทธรณ์ นัย หนึ่ง และ ดัง ที่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ตีความ อีกนัย หนึ่ง ฉะนั้น จึง ต้อง ถือเอา นัย ที่ มีผล บังคับ ได้ มา ใช้ โจทก์ คงตีความ เอา จาก ข้อความ ใน ประกาศ กรมศุลกากร เท่านั้น โดย ไม่มีพยาน มา สืบ อธิบาย ประกอบ แต่อย่างใด ส่วน จำเลย มีนาย วิระชัย มีรุ่งเรือง ซึ่ง ขณะที่ โจทก์ นำเข้า สินค้า พิพาท ดำรง ตำแหน่ง เป็น นักวิชาการ ภาษี กอง พิกัดอัตราศุลกากร กรมศุลกากรมี หน้าที่ เกี่ยวกับ การ พิจารณา โครงสร้าง ของ ภาษีอากร และนางสาว เพ็ญศรี วุฒิเศรษฐไพบูลย์ ซึ่ง ขณะ เกิดเหตุ ทำ หน้าที่ เป็น หัวหน้างาน วิเคราะห์ สินค้า 2 ฝ่าย วิเคราะห์ สินค้า ที่ 2ถึง วิเคราะห์ สินค้า กรมศุลกากร มี หน้าที่ ควบคุม ดูแล การ วิเคราะห์สินค้า มา เบิกความ ตรง กัน ว่า ตาม ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 46/2531ลำดับ ที่ 60 ที่ ระบุ ว่า เป็น ยา ชนิด น้ำ สำหรับ ใช้ ภายนอกและ เฉพาะ ที่ นั้น หมายความ ว่า แยก ออก เป็น 2 ชนิด คือ ยา น้ำ สำหรับใช้ ภายนอก ชนิด หนึ่ง และ ยา น้ำ สำหรับ ใช้ เฉพาะ ที่ อีก ชนิด หนึ่งทั้งนี้ เพราะ ตาม พระราชบัญญัติ ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 ให้ คำ นิยามคำ ว่า ยา ใช้ ภายนอก และ ยา ใช้ เฉพาะ ที่ แบ่งแยก กัน ไว้ โดยเฉพาะ โดยยา ใช้ ภายนอก จะ ไม่รวม ถึง ยา ใช้ เฉพาะ ที่ ซึ่ง แตกต่าง ไป จากคำ นิยาม ตาม พระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510 คำ นิยาม ตาม พระราชบัญญัติ ยาพ.ศ. 2510 สำหรับ ยา ใช้ ภายนอก กับ ยา ใช้ เฉพาะ ที่ นั้น จะ มี ยา ที่ เป็นทั้ง สำหรับ ใช้ ภายนอก และ ใช้ เฉพาะ ที่ ใน ขณะ เดียว กัน ได้ ฉะนั้น ภายหลังใช้ พระราชบัญญัติ ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 แล้ว จะ ไม่มี ยา ที่ เป็น ทั้งสำหรับ ใช้ ภายนอก และ ใช้ เฉพาะ ที่ ใน ขณะ เดียว กัน ได้ เลย ดังนั้นหาก จะ แปล ความหมาย ของ ประกาศ กรมศุลกากร ที่ 46/2531 ลำดับ ที่ 60ดังกล่าว ซึ่ง ประกาศ ใช้ ภายหลัง พระราชบัญญัติ ยา (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2530 ว่า เป็น ยา น้ำ สำหรับ ใช้ ภายนอก และ ใช้ เฉพาะ ที่ ด้วยก็ จะ ไม่มี ยา ชนิด ใด ตรง ตาม ประกาศ ข้อ นี้ จะ ทำให้ ประกาศ ข้อ นี้ ไม่มี ผลได้ ใช้ บังคับ เลย โดย ตำแหน่ง และ หน้าที่ ของ พยาน จำเลย ทั้ง สองและ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง พยาน ทั้ง สอง เป็น ผู้เข้าร่วม ประชุม ในคณะกรรมการ พิจารณา กลั่นกรอง ราย ชื่อ ยา เพื่อ ออก ประกาศ กรมศุลกากรเกี่ยวกับ ยา ต่าง ๆ ที่ มี สาร ออกฤทธิ์ ตาม ประกาศกระทรวง การ คลังย่อม ต้อง รู้ ถึง เจตนา อัน แท้จริง แห่ง การ ใช้ ของ ประกาศ กรมศุลกากรดังกล่าว กับ ได้ พิเคราะห์ นิยาม คำ ทั้ง สอง ตาม พระราชบัญญัติ ยา(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2533 ซึ่ง ระบุ ว่า “ยา ใช้ ภายนอก ” หมายความ ว่ายาแผนปัจจุบัน หรือ ยา แผน โบราณ ที่ มุ่งหมาย สำหรับ ใช้ ภายนอก ทั้งนี้ไม่รวม ถึง ยา ใช้ เฉพาะ ที่ “ยา ใช้ เฉพาะ ที่ ” หมายความ ว่า ยาแผนปัจจุบันหรือ ยา แผน โบราณ ที่ มุ่งหมาย ใช้ เฉพาะ ที่ กับ หู ตา จมูก ปาก ทวารหนักช่องคลอด หรือ ท่อ ปัสสาวะ แล้ว เห็นว่า พยาน จำเลย ทั้ง สอง เบิกความอย่าง มีเหตุ ผล จึง มี น้ำหนัก รับฟัง ฟังได้ ว่าความ มุ่งหมาย ของประกาศ กรมศุลกากร ที่ 46/2531 ลำดับ ที่ 60 นั้น มี ความหมาย ว่าเป็น ยา น้ำ สำหรับ ใช้ ภายนอก ชนิด หนึ่ง และ เป็น ยา น้ำ สำหรับ ใช้ เฉพาะที่ อีก ชนิด หนึ่ง หา ได้ มี ความหมาย ว่า ต้อง เป็น ทั้ง ยา น้ำ สำหรับใช้ ภายนอก และ ใช้ เฉพาะ ที่ ใน ขณะ เดียว กัน ไม่ เมื่อ ยา น้ำมัน กวางลุ้ง ของ โจทก์ เป็น ยา น้ำ สำหรับ ใช้ ภายนอก จึง ต้อง ตาม ประกาศ กรมศุลกากรดังกล่าว อันเป็น เหตุ ให้ โจทก์ ไม่ได้ รับ ลด อัตรา อากร ตามประกาศกระทรวง การ คลัง ที่ ศก. 1/2528, ศก. 1/2531 และ ศก. 7/2531โจทก์ ชำระ อากร อัตรา ร้อยละ 30 ถูกต้อง แล้ว จำเลย ไม่ต้อง คืนเงินภาษีอากร ให้ โจทก์ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ปัญหา เรื่อง อำนาจฟ้อง ตาม ที่โจทก์ อุทธรณ์ ต่อไป ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ชอบแล้ว อุทธรณ์ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share