คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ปัญหาว่าคำให้การจำเลยก่อให้เกิดประเด็นพิพาทหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ โจทก์จะนำรถยนต์พิพาทซึ่งจดทะเบียนประกอบการขนส่งประเภทส่วนบุคคลไปรับจ้างบรรทุกพืชไร่ไม่ได้เพราะเป็นการใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ.2522มาตรา21จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายขาดรายได้เพราะเหตุดังกล่าว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2523นาย ประสก ยศไตรศรีวิรัตน์ สามี ของ จำเลย และ จำเลย ขาย รถยนต์บรรทุก 6 ล้อ หมายเลข ทะเบียน 13422 ให้ โจทก์ ใน ราคา 170,000 บาท โดย วิธีผ่อนชำระ โจทก์ ได้ ผ่อนชำระ จน ครบถ้วน เมื่อ ประมาณ ปี 2527 ปัจจุบันรถยนต์ ดังกล่าว เปลี่ยน เป็น หมายเลข ทะเบียน 80-4807 นครสวรรค์ต่อมา เดือน มกราคม 2531 นาย ประสก ถึงแก่กรรม จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย ประสก ตาม คำสั่ง ของ ศาลจังหวัด นครสวรรค์ ครั้น วันที่ 28 ธันวาคม 2531 โจทก์ ไป ขอให้ จำเลย จัดการ ต่อ ทะเบียน และ โอน ทะเบียน รถมา เป็น ชื่อ โจทก์ แต่ จำเลย ไม่ยอม โอน อ้างว่า บุตร โจทก์ คนหนึ่งเป็น หนี้ กู้ยืม เงิน จำเลย ให้ โจทก์ ชำระหนี้ แทน เสีย ก่อน โจทก์ ไม่ยอมการ ที่ จำเลย ไม่ โอน ทะเบียน รถ ให้ โจทก์ ทำให้ โจทก์ เสียหาย ไม่สามารถนำ รถยนต์ ออก วิ่ง รับจ้าง บรรทุก พืชไร่ ต้อง ขาด รายได้ วัน ละ 500 บาทคิด ถึง วันฟ้อง 140 วัน เป็น เงิน 70,000 บาท ก่อน ฟ้อง โจทก์ ให้ทนายโจทก์ มี หนังสือ บอกกล่าว จำเลย ให้ จัดการ จำเลย ได้รับ หนังสือ แล้วเพิกเฉย โจทก์ ครอบครอง รถยนต์ ดังกล่าว มา โดย สงบ และ โดย เปิดเผยด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ เกินกว่า 5 ปี แล้ว โจทก์ จึง ได้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ โดย การ ครอบครองปรปักษ์ อีก ทาง หนึ่ง ขอให้ บังคับ จำเลย ใน ฐานะผู้จัดการมรดก และ ใน ฐานะ ส่วนตัว โอน ชื่อ ทาง ทะเบียน ใน หนังสือ แสดง การจดทะเบียน รถ จาก ชื่อ นาย ประสก มา เป็น ชื่อ โจทก์ โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ เสีย ค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่าย ใน การ โอน ทั้งหมด หาก จำเลย ไม่ยอมไป โอน ขอให้ ศาล พิพากษา สั่ง ทำลาย ทะเบียน รถ และ ให้ ถือเอา คำพิพากษาของ ศาล ไป ขอ ออก ทะเบียน รถ ใหม่ ใน ชื่อ ของ โจทก์ และ ให้ จำเลย ใช้ค่าเสียหาย จำนวน 70,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า ชำระ ให้ โจทก์ เสร็จสิ้น กับ ใช้ เงิน ค่าเสียหายวัน ละ 500 บาท นับ จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จำเลย จัดการ โอน ทะเบียน รถจน ทำให้ โจทก์ สามารถ ต่อ ทะเบียน ได้
จำเลย ให้การ ว่า นาย ประสก และ จำเลย ไม่ได้ ขาย รถยนต์ ให้ โจทก์ โจทก์ ไม่เคย ผ่อนชำระ เงิน ให้ นาย ประสก โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เมื่อ ประมาณ ปี 2523 นาย เฉลียว หาขุนทด บุตร ของ โจทก์ ขอ ซื้อ รถยนต์ ตาม ฟ้อง จาก นาย ประสก ใน ราคา 170,000 บาท โดย ผ่อนชำระ แล้ว นาย ประสก มอบ รถยนต์ ให้ นาย เฉลียว ครอบครองแทน โจทก์ กับ นาย เฉลียว จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ โดย การ ครอบครองปรปักษ์ หลัง ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย นาย เฉลียว ชำระ ราคา ให้ นาย ประสก รวมเป็น เงิน เพียง 80,000 บาท ยัง ค้างชำระ อีก 90,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยจำเลย จึง ไม่ต้อง โอน รถยนต์ ให้ นาย เฉลียว หรือ โจทก์ โจทก์ ไม่เสีย หาย เพราะ นาย ประสก ยื่น ขอ ใบอนุญาต ประกอบการ ขนส่ง สำหรับ รถยนต์ ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 16 มกราคม 2528 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2533 โจทก์ และนาย เฉลียว ไม่นำ รถยนต์ มาตร วจสภาพ ที่ สำนักงาน ขนส่ง จังหวัด นครสวรรค์ เพื่อ ต่อ ทะเบียน ตาม ที่ จำเลย นัด หลาย ครั้ง จึง เป็น ความผิด ของ โจทก์และ นาย เฉลียว เอง หาก ฟัง ว่า โจทก์ เสียหาย ก็ เสียหาย ไม่เกิน วัน ละ 100 บาท นอกจาก นี้ นาย เฉลียว และ โจทก์ ทราบ ว่า นาย ประสก ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 21 มกราคม 2531 แต่ มา ฟ้องคดี เมื่อ วันที่ 25 พฤษภาคม2532 ซึ่ง เกิน 1 ปี นับแต่ นาย ประสก ถึงแก่กรรม ฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า คดี โจทก์ ไม่ขาดอายุความ โจทก์ เป็นผู้ซื้อ รถยนต์ พิพาท แต่ โจทก์ ชำระ ราคา รถยนต์ พิพาท ยัง ไม่ครบ จำเลยไม่มี หน้าที่ เสีย ภาษีรถยนต์ ประจำปี และ จดทะเบียน โอน เปลี่ยน ชื่อเจ้าของ รถยนต์ พิพาท เป็น ชื่อ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหายโจทก์ ครอบครอง รถยนต์ พิพาท แทน จำเลย จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ โดย การครอบครองปรปักษ์ พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ซึ่ง ไม่มี ข้อโต้แย้ง กันใน ชั้นฎีกา รับฟัง ได้ว่า จำเลย เป็น ภริยา นาย ประสก ยศไตรศรีวิรัตน์ นาย ประสก ถึงแก่กรรม แล้ว จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย ประสก ตาม คำสั่ง ของ ศาลจังหวัด นครสวรรค์ โจทก์ ซื้อ รถยนต์ พิพาท จาก นาย ประสก และ จำเลย โดย วิธี ผ่อนชำระ
ปัญหา ข้อ แรก ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ ได้ ชำระ ราคา รถยนต์ พิพาท ครบถ้วนแล้ว นั้น ศาลฎีกา ได้ พิจารณา คำฟ้อง โจทก์ และ คำให้การ จำเลย แล้วโจทก์ ฟ้อง ว่า นาย ประสก สามี จำเลย และ จำเลย ได้ ขาย รถยนต์ พิพาท ให้ โจทก์ ใน ราคา 170,000 บาท โดย วิธี ผ่อนชำระ โจทก์ ได้ ผ่อนชำระ ราคาหมดสิ้น แล้ว ตั้งแต่ ปี 2527 แต่ นาย ประสก และ จำเลย ไม่ โอน ทะเบียน รถ ให้ จำเลย ให้การ ใน ข้อ นี้ ว่า นาย ประสก และ จำเลย ไม่ได้ ขาย รถยนต์ พิพาท ให้ โจทก์ โจทก์ ไม่เคย ผ่อนชำระ ราคา ค่าซื้อ รถยนต์ แก่ นาย ประสก และ จำเลย นาย ประสก และ จำเลย ได้ ตกลง จะขาย รถยนต์ ให้ แก่ นาย เฉลียว บุตร โจทก์ และ มอบ รถยนต์ ให้ นาย เฉลียว ครอบครองแทน แต่ นาย เฉลียว ยัง ชำระ ราคา ไม่ครบ โจทก์ ไม่ได้ เป็น คู่สัญญา จึง ไม่มี อำนาจฟ้องเห็นว่า ประเด็น ที่ โต้เถียง กัน มี ว่า โจทก์ ได้ ซื้อ รถยนต์ พิพาท จากนาย ประสก และ จำเลย หรือไม่ ส่วน ที่ จำเลย ให้การ มา ด้วย ว่า นาย ประสก และ จำเลย ตกลง จะขาย รถยนต์ ให้ แก่ นาย เฉลียว บุตร โจทก์ แต่ นาย เฉลียว ยัง ชำระ ราคา ไม่ครบ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า คำให้การ ดังกล่าว ของ จำเลยมิได้ ปฏิเสธ ข้ออ้าง ของ โจทก์ ที่ ว่า โจทก์ ได้ ผ่อนชำระ ราคา รถยนต์ให้ แก่ นาย ประสก และ จำเลย หมดสิ้น แล้ว ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่เป็น การ ปฏิเสธ ฟ้องโจทก์ โดยชัดแจ้งคดี ไม่มี ประเด็น ข้อพิพาท ใน เรื่อง โจทก์ ได้ ชำระ ราคา รถยนต์ พิพาทครบถ้วน หรือไม่ ดัง ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ยกขึ้น วินิจฉัยปัญหา ว่า คำให้การ จำเลย ก่อ ให้ เกิด ประเด็น พิพาท หรือไม่ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ ไม่มี คู่ความฝ่ายใด อุทธรณ์ ฎีกา แต่ ศาลฎีกา เห็นสมควร หยิบยก ปัญหา ดังกล่าวขึ้น วินิจฉัย เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ซื้อ รถยนต์ พิพาท จากนาย ประสก และ จำเลย แล้ว จำเลย ใน ฐานะ ส่วนตัว และ ฐานะ ผู้จัดการมรดก นาย ประสก ก็ ต้อง โอน ทะเบียนรถยนต์ พิพาท แก่ โจทก์ เพื่อ ให้ โจทก์ ได้ ใช้ รถยนต์ พิพาท ต่อไป ได้ โดย ถูกต้อง แต่ ที่ โจทก์ ขอให้ จำเลยเสีย ค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่าย ใน การ โอน ทะเบียน ทั้งหมด นั้นไม่ปรากฏ ว่าการ ซื้อ ขาย รถยนต์ พิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ นาย ประสก และ จำเลย ได้ มี การ ตกลง ใน เรื่อง ดังกล่าว ไว้ โจทก์ จะ ขอให้ บังคับ จำเลยเสีย ค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่าย ใน การ โอน ทั้งหมด หาได้ไม่ และ คดีไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ โจทก์ ที่ ว่า โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ พิพาทโดย การ ครอบครองปรปักษ์ อีก ต่อไป ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ว่าโจทก์ ยัง ชำระ ราคา รถยนต์ พิพาท ไม่ครบ และ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา
มี ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป ว่า โจทก์ เสียหาย หรือไม่ เพียงใด เห็นว่าโจทก์ ฟ้อง และ นำสืบ ว่าการ ที่ จำเลย ไม่ โอน ทะเบียนรถยนต์ พิพาท ให้โจทก์ จึง ไม่สามารถ ใช้ รถยนต์ พิพาท รับจ้าง บรรทุก พืชไร่ ทำให้ โจทก์ขาด รายได้ วัน ละ 500 บาท ศาลฎีกา ตรวจ ดู ทะเบียนรถยนต์ พิพาท เอกสาร หมายจ. 2 แล้ว ปรากฏว่า รถยนต์ พิพาท จดทะเบียน ประกอบการ ขนส่ง ประเภทส่วนบุคคล และ นาย ประสก ก็ ได้รับ อนุญาต ใช้ รถยนต์ พิพาท ประกอบการ ขนส่ง ประเภท ส่วนบุคคล ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 โจทก์ ย่อม นำ รถยนต์ พิพาท ไปรับจ้าง บรรทุก พืชไร่ ไม่ได้ เพราะ เป็น การ ใช้ รถ ไม่ ตรง ตาม ประเภทที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ เป็น การ ต้องห้าม ตาม พระราชบัญญัติ รถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ฟัง ไม่ได้ ว่า โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ตาม ฟ้องฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษากลับ ให้ จำเลย โอน ทะเบียนรถยนต์ พิพาท ให้ แก่ โจทก์หาก จำเลย ไม่ยอม ไป โอน ทะเบียนรถยนต์ พิพาท ให้ ถือ คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย

Share