คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยผู้ขายต้องรับผิดในการ รอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา475แม้จะไม่ทราบถึงเหตุแห่งการรอนสิทธิก็ตามและเมื่อโจทก์จำต้องยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์พิพาทซึ่งซื้อมาจากจำเลยไปเพราะเป็นรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมาความรับผิดของจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับ อายุความฟ้องร้องตามมาตรา481แต่มีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ซื้อ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ จาก จำเลย แล้ว ถูกเจ้าพนักงาน ตำรวจ ยึด ไป ทำให้ โจทก์ เสียหาย ขอให้ จำเลย ชำระ เงินแก่ โจทก์ 892,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า ได้ ขาย รถยนต์ พิพาท แก่ โจทก์ ใน ราคา 200,000 บาทจำเลย ได้รับ โอน รถยนต์ พิพาท มาจาก เจ้าของ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน รถยนต์พิพาท โดยชอบ ด้วย กฎหมาย โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน นายทะเบียนยานพาหนะ ก็ ได้ ตรวจสอบ และ จดทะเบียน โอน ให้ จำเลย และ โจทก์โดยชอบ โจทก์ ยอม ตาม กอง กำกับ การ ตำรวจ สืบสวน สอบสวน นครบาล ธนบุรีเรียกร้อง เอง จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ โจทก์ ได้ ประโยชน์ จากการ ใช้ รถยนต์ เป็น เวลา 3 ปี 9 เดือน 17 วัน คิด เป็น เงิน วัน ละ 800 บาทมาก กว่า ทุน ที่ โจทก์ ซื้อ รถยนต์ ไป จาก จำเลย โจทก์ จึง ไม่เสีย หาย โจทก์ยอม ตาม บุคคลภายนอก เรียกร้อง และ นับ ตั้งแต่ วันที่ ยอม ดังกล่าวจน ถึง วันฟ้อง เป็น เวลา 2 ปี 4 เดือน 15 วัน พ้น กำหนด สาม เดือนนับแต่ วันที่ โจทก์ ยอม ตาม บุคคลภายนอก เรียกร้อง โจทก์ จึง ต้องห้ามมิให้ ฟ้องคดี นี้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ 350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ว่า จำเลย ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ เพราะ การ รอนสิทธิ หรือไม่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ทราบ มา ก่อนว่า รถยนต์ พิพาท เป็น รถ ที่ ถูก โจรกรรมมา ก่อน จำเลย ตกลง ขาย ให้ โจทก์โจทก์ ได้ ตรวจ ดู จน พอใจ แล้ว ทั้ง การ ตรวจสอบ ของ เจ้าพนักงาน จังหวัดชัยภูมิ และ จังหวัด สุพรรณบุรี ก็ ไม่ปรากฏ ว่า มี การ ขูด ลบ ตัวเลข ใน ส่วนต่าง ๆ ของ รถยนต์ พิพาท จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ใน การ รอนสิทธิใน ข้อ นี้ ร้อยตำรวจเอก กฤษณะ สินธุเดชะ พยานโจทก์ เบิกความ ว่า พยาน สอบสวน คนร้าย ลัก รถยนต์บรรทุก ซึ่ง รับสารภาพ ว่า ได้ ลัก รถยนต์บรรทุก ไป หลาย คัน รวมทั้ง รถยนต์ พิพาท ด้วย จึง ติดตาม มา ยึด รถยนต์ พิพาทได้ จาก โจทก์ เมื่อ สอบสวน โจทก์ โจทก์ อ้างว่า ซื้อ รถยนต์ พิพาท มาจากจำเลย พร้อม แสดง ใบคู่มือ การ จดทะเบียน พยาน จึง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ว่าตรง บริเวณ หมายเลข คัสซีและ หมายเลข เครื่องยนต์ มี รอย แก้ไข ตัวเลขโจทก์ จึง ยอม ให้ พยาน ยึด รถ ไป โดย ได้ ลง รายงาน ประจำวัน เกี่ยวกับ คดีไว้ ที่ สถานีตำรวจภูธร อำเภอ เดิมบางนางบวช กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ได้ ตรวจสอบ หมายเลข คัสซีและ หมายเลข เครื่องยนต์ แล้วทราบ ว่า รถยนต์ พิพาท เป็น รถยนต์ ที่ ถูก โจร กรรม มาจาก ท้องที่ สถานีตำรวจนครบาล บางมด โจทก์ เบิกความ ว่า โจทก์ ไม่เต็ม ใจ ให้ ยึด รถ แต่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ บอก ว่า ถ้า ไม่ยินยอม ให้ ยึด จะ มี ความผิด ดังนี้ ย่อมเป็น การ รบกวน ขัด สิทธิ ของ โจทก์ ผู้ซื้อ ใน อัน จะ ครอง ทรัพย์สิน โดยปกติสุขเพราะ เจ้าของ รถยนต์ คนเดิม มีสิทธิ เหนือ รถยนต์ พิพาท อยู่ ใน เวลา ที่ซื้อ ขาย กัน ซึ่ง จำเลย ผู้ขาย จะ ต้อง รับผิด ใน การ รอนสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 ถึง แม้ จำเลย จะ ไม่ทราบ ถึงเหตุ แห่ง การ รอนสิทธิ ก็ ตาม เมื่อ รถยนต์ พิพาท ถูก เจ้าพนักงาน ตำรวจ ยึด ไปก็ ถือได้ว่า โจทก์ ถูก รอนสิทธิ แล้ว การ ที่ โจทก์ จำต้อง ยอม ให้เจ้าพนักงาน ตำรวจ ยึด รถยนต์ พิพาท ไป ทำให้ กรรมสิทธิ์ ใน รถยนต์ ของ โจทก์สิ้นไป จำเลย ผู้ขาย ย่อม ต้อง รับผิด ชำระ ราคา รถยนต์ พิพาท คืน ให้ โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ส่วน ค่าเสียหาย ใน การที่ โจทก์ ไม่ได้ ใช้ รถ จำเลย ก็ ต้อง รับผิด อยู่ แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลยใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 นั้น เห็นว่า แม้ มาตรา 481จะ เป็น เพียง มาตรา เดียว ที่ บัญญัติ ไว้ ใน เรื่อง อายุความ ฟ้องร้องเกี่ยวกับ การ รอนสิทธิ แต่ มาตรา นี้ ก็ เป็น บทบัญญัติ ที่ ห้าม มิให้ ฟ้องคดี ใน ข้อ รับผิด เพื่อ การ รอนสิทธิ เมื่อ พ้น กำหนด สาม เดือน เฉพาะ กรณีที่ ผู้ขาย ไม่ได้ เป็น คู่ความ ใน คดี เดิม ประการ หนึ่ง ผู้ซื้อ ได้ ประนีประนอม ยอมความ กับ บุคคลภายนอก ประการ หนึ่ง หรือ ยอม ตาม ที่ บุคคลภายนอกเรียกร้อง ประการ หนึ่ง การ ยอม ตาม ที่ บุคคลภายนอก เรียกร้อง นั้น จะ ต้องเป็น การ ยอม โดย สมัครใจ หาใช่ เป็น เรื่อง ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ยึดรถยนต์ พิพาท ไป ด้วย อำนาจ ของ กฎหมาย ซึ่ง โจทก์ จำต้อง ยอม ให้ ยึดมิฉะนั้น โจทก์ อาจ ต้อง มี ความผิด ใน ทางอาญา ความรับผิด ของ จำเลย ไม่อยู่ใน บังคับ อายุความ ฟ้องร้อง ตาม มาตรา 481 ดังกล่าว แต่ ต้อง อยู่ใน บังคับ อายุความ ตาม มาตรา 193/30 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่ง มี กำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษามา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ก็ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share