คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อที่ประชุมกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่1มีมติตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีโดยข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดการตั้งผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นการตั้งผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราวเมื่อมีการประชุมใหญ่ก็จะต้องเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาว่าจะควรให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่หรือจะเลือกบุคคลอื่นแทนหาใช่ว่าจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีได้

ย่อยาว

ผู้ร้อง ทั้ง หก ยื่น คำร้องขอ ว่า เมื่อ วันที่ 29 เมษายน 2534ได้ มี มติ โดย ที่ ประชุมใหญ่ และ วันที่ 3 มิถุนายน 2534 ได้ มี มติพิเศษ ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น ให้ เลิก บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่งมิใช่ เพราะ เหตุ ล้มละลาย และ มี ผู้ถือหุ้น เสนอ ที่ ประชุมใหญ่ ให้ เลือกผู้ชำระบัญชี ใหม่ แทนที่ กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เนื่องจากกรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ไม่มี ความเหมาะสม เพราะ กรรมการบริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ทุกคน ถูก ฟ้อง ข้อหา ยักยอก ทรัพย์สิน ของ บริษัทผู้คัดค้าน ที่ 1 แต่ นาย พูนสุข โชติพัฒน์ ประธาน ที่ ประชุม ไม่ยอม รับญัตติ ที่ ผู้ถือหุ้น เสนอ และ ได้ ใช้ อำนาจ แต่งตั้ง กรรมการ บริษัทผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้ชำระบัญชี โดย ไม่ชอบมติที่ ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น นอกจาก นี้ นาย พูนสุข ยัง ไม่ได้ เสนอ ขอให้ ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น รับรอง ให้ กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 คง เป็น ผู้ชำระบัญชี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1256(1) ต่อมา วันที่10 มิถุนายน 2534 ผู้ชำระบัญชี ได้ นำ บอก ให้ นายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท จังหวัด น่าน จดทะเบียน ผู้ชำระบัญชี ผู้ร้อง ทั้ง หก จึง คัดค้านการ จดทะเบียน ไว้ ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ระงับ การ จดทะเบียน ผู้ชำระบัญชีของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ สั่ง แต่งตั้ง นาย ปรีชา ดำรงค์ นาย จันทร์ แผลงศร นายสุเนตร เลี้ยงสมบูรณ์ นายนิรันต์ ศรีเทพ นาย วิเชียร วงศ์ไพบูลย์วัฒน นายไพโรจน์ ตั้งจิตนุสรณ์ และ นาย ชูชาติ ซึ้งดำรงค์ เป็น ผู้ชำระบัญชี
ผู้คัดค้าน ทั้ง ห้า ยื่น คำคัดค้าน ว่า เมื่อ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1เลิกกัน และ ข้อบังคับ ของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 มิได้ กำหนด ไว้ เป็นอย่างอื่น กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ย่อม ต้อง เป็น ผู้ชำระบัญชีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 ผู้ชำระบัญชี ได้ดำเนินการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1253 แล้วแต่ ผู้ร้อง บางคน ได้ ขอให้ ระงับ การ จดทะเบียน ไว้ ผู้ชำระบัญชี จึง ยังไม่อาจ ดำเนินการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1256 ที่ผู้ชำระบัญชี ถูก ฟ้องคดี อาญา เนื่องจาก ผู้ร้อง บางคน เป็น ผู้ ฟ้อง เพื่อหวัง ทำลาย ชื่อเสียง ของ ผู้ชำระบัญชี แล้ว เสนอ ตนเอง เป็น กรรมการ แทนผู้ที่ ผู้ร้อง ทั้ง หก ขอให้ ตั้ง เป็น ผู้ชำระบัญชี อันดับ 3 และ อันดับ 5ไม่ เหมาะสม เพราะ กำลัง เป็น คดี อยู่ กับ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว เห็นว่า กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1ที่ เป็น ผู้ชำระบัญชี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251จะ ต้อง ให้ ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น รับรอง อีก ครั้งหนึ่ง เมื่อที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น ยัง ไม่ได้ รับรอง กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้านที่ 1 จึง ยัง ไม่เป็น ผู้ชำระบัญชี โดยชอบ ด้วย กฎหมาย กรณี ถือว่าไม่มี ผู้ชำระบัญชี ผู้ร้อง ทั้ง หก เป็น ผู้ถือหุ้น เป็น ผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจ ร้องขอ ให้ ศาล ตั้ง ผู้ชำระบัญชี ได้ ประกอบ กับ เหตุ ตาม คำร้องขอ นับ ว่า มีเหตุอันสมควร จึง มี คำสั่ง ตั้ง นาย ปรีชา ดำรงค์ นายจันทร์ แผลงศร นายสุเนตร เลี้ยงสมบูรณ์ นายนิรันต์ ศรีเทพ นายไพโรจน์ ตั้งจิตรนุสรณ์ นายชูชาติ ซึ้งดำรงค์ นายวิชาญ ปรีดาสุวรรณ และ นาย บุญช่วย ทนันไชย เป็น ผู้ชำระบัญชี ของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1และ ให้ มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม กฎหมาย ต่อไป
ผู้คัดค้าน ทั้ง ห้า อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก คำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้ง สอง ศาล ให้ เป็น พับ
ผู้ร้อง ทั้ง หก ฎีกา
ศาลฎีกา ตรวจ สำนวน ประชุม ปรึกษา แล้ว ทางพิจารณา คู่ความ นำสืบข้อเท็จจริง รับ กัน ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า เมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน 2534ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ มี มติ พิเศษ ให้ เลิกบริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1มี ผู้ถือหุ้น บางคน เสนอ ต่อ ที่ ประชุมใหญ่ ให้ ตั้ง ผู้อื่น เป็นผู้ชำระบัญชี แทน กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เนื่องจาก กรรมการบริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ทุกคน ถูก ฟ้อง ข้อหา ยักยอก ทรัพย์สิน ของบริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 แต่ คณะกรรมการ ยืนยัน ขอรับ เป็น ผู้ชำระบัญชีและ นาย พูนสุข โชติพัฒน์ ประธาน กรรมการ ยืนยัน จะ ตั้ง กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้ชำระบัญชี ผู้ร้อง และ ผู้ถือหุ้น บางส่วนจึง ลุก ออกจาก ที่ ประชุม แต่ ยัง มี ผู้ถือหุ้น เหลือ อยู่ ครบ องค์ประชุมนาย พูนสุข ประธาน กรรมการ จึง แต่งตั้ง กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1เป็น ผู้ชำระบัญชี ปรากฏ ตาม รายงาน การ ประชุมใหญ่ วิสามัญ ผู้ถือหุ้นหลังจาก นั้น จน ถึง ปัจจุบัน ยัง ไม่มี การ ประชุม รับรอง การ ตั้งผู้ชำระบัญชี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง ทั้ง หก ประการ แรกว่า บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 มี ผู้ชำระบัญชี หรือไม่ ศาลฎีกา ได้พิเคราะห์ รายงาน การ ประชุมใหญ่ วิสามัญ ผู้ถือหุ้น แล้ว ตาม ระเบียบวาระ ที่ 4 เรื่อง การ ตั้ง ผู้ชำระบัญชี มี ผู้ เสนอ ให้ ตั้ง กรรมการบริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้ชำระบัญชี ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1251 ได้ มี ผู้ถือหุ้น เสนอ ให้ เลือก ผู้ชำระบัญชี ใหม่แทน กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เนื่องจาก กรรมการ บริษัทผู้คัดค้าน ที่ 1 ไม่มี ความเหมาะสม เพราะ ถูก ฟ้อง ข้อหา ยักยอกทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 แต่ นาย พูลสุข ประธาน ที่ ประชุม ได้ สอบถาม กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่ง ยืนยัน ว่า จะ ขอ เป็นผู้ชำระบัญชี ฝ่าย ผู้คัดค้าน ไม่พอ ใจ ได้ ลุก ออกจาก ที่ ประชุม ไปส่วน หนึ่ง นาย พูนสุข ประธาน กรรมการ ได้ ตรวจสอบ ผู้ถือหุ้น ที่ ยัง คง อยู่ ใน ที่ ประชุม ปรากฏว่า ครบ องค์ประชุม ตาม ข้อบังคับ จึง ได้ดำเนินการ ประชุม ต่อไป และ ที่ ประชุม มี มติ ให้ กรรมการ ทั้ง 4 คน เป็นผู้ชำระบัญชี การ ลงมติ ดังกล่าว มิได้ ฝ่าฝืน ต่อ บทบัญญัติ กฎหมายหรือ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ ของ บริษัท แต่อย่างใด อีก ทั้ง ข้อบังคับ ของ บริษัทไม่ได้ กำหนด การ ตั้ง ผู้ชำระบัญชี ไว้ เป็น อย่างอื่น ดังนั้น การ ตั้งกรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้ชำระบัญชี จึง ชอบ ด้วย กฎหมายจึง ถือว่า บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 มี ผู้ชำระบัญชี แล้ว ที่ ผู้ร้องทั้ง หก ฎีกา ว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 ให้กรรมการ บริษัท เข้า เป็น ผู้ชำระบัญชี ใน กรณี เลิก บริษัท นั้น ต้อง เป็นกรณี ที่ ยัง ไม่มี การ โต้แย้ง กัน ใน เรื่อง การ ชำระ บัญชี ตาม นัย คำพิพากษาฎีกา ที่ 2681/2534 ระหว่าง นาย สุกิจ ค้าดี โจทก์ กับ นาย วิวัฒน์ พันธจารุนิธิ จำเลย นั้น ข้อเท็จจริง ไม่ ตรง กับ คดี นี้ โดย ข้อเท็จจริง ตาม คำพิพากษาฎีกา ดังกล่าว เป็น เรื่อง ที่ ว่า หลังจาก ที่บริษัท เลิกกัน แล้ว ไม่ปรากฏ ว่า มี การ ตั้ง ผู้ชำระบัญชี แต่ คดี นี้ได้ มี การ ตั้ง ผู้ชำระบัญชี แล้ว และ ที่ ผู้ร้อง ทั้ง หก อ้างว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1256(1) บัญญัติ ต่อไป อีก ว่าให้ ที่ ประชุมใหญ่ รับรอง ว่า กรรมการ บริษัท คง เป็น ผู้ชำระบัญชี ต่อไปหรือ เลือกตั้ง ผู้ชำระบัญชี ใหม่ ขึ้น แทน แสดง ว่า กรรมการ บริษัท เป็นผู้ชำระบัญชี ยัง ไม่สมบูรณ์ จึง ต้อง ให้ ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น รับรองนั้น เห็นว่า การ ที่ กรรมการ บริษัท เข้า มา เป็น ผู้ชำระบัญชี ตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย เมื่อ บริษัท เลิกกัน นั้น ถือว่า เป็น การ ชั่วคราวฉะนั้น เมื่อ มี การ ประชุมใหญ่ ก็ จะ ต้อง มี การ เสนอ ให้ ที่ ประชุม พิจารณาด้วย ว่า จะ ควร ให้ กรรมการ บริษัท นั้น คง เป็น ผู้ชำระบัญชี ต่อไป หรือไม่หรือ จะ เลือกตั้ง บุคคลอื่น ขึ้น เป็น ผู้ชำระบัญชี แทนที่ ดังนั้นกรรมการ บริษัท จึง เป็น ผู้ชำระบัญชี โดยชอบ ด้วย กฎหมาย จนกว่า จะ มี การเลือกตั้ง บุคคลอื่น ขึ้น มา แทน หาใช่ ว่า จะ ต้อง ให้ ที่ ประชุมใหญ่รับรอง เสีย ก่อน จึง จะ เป็น ผู้ชำระบัญชี โดย สมบูรณ์ ตาม ที่ ผู้ร้องทั้ง หก ฎีกา ไม่ ปัญหา ที่ ผู้ร้อง ทั้ง หก ฎีกา ต่อมา ว่า คดี มีเหตุ ให้ถอน ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 จาก ผู้ชำระบัญชี ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย หรือไม่ โดย ผู้ร้อง ทั้ง หก อ้างว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5ได้ ถูก ผู้ถือหุ้น ฟ้อง ว่า ยักยอก เงิน ของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 จึง ไม่สมควร ที่ จะ เป็น ผู้ชำระบัญชี บริษัท ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ที่ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 ถูก ฟ้อง ว่า ยักยอก เงิน บริษัท ผู้คัดค้านที่ 1 นั้น ปรากฏว่า กระทำ ใน ขณะ ดำรง ตำแหน่ง เป็น กรรมการ บริษัทผู้คัดค้าน ที่ 1 และ คดี อยู่ ระหว่าง พิจารณา ยัง ไม่ถึงที่สุด จึง ยังไม่อาจ ทราบ ได้ แน่นอน ว่า ทุจริต จริง หรือไม่ และ ผู้ร้อง ทั้ง หก มิได้นำสืบ ให้ เห็นว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 บกพร่อง ใน หน้าที่ผู้ชำระบัญชี อย่างไร ข้อเท็จจริง กลับ ปรากฏว่า เมื่อ ผู้คัดค้าน ที่ 1ได้ ไป ยื่น ขอ จดทะเบียน เลิก บริษัท และ ชำระ บัญชี ผู้ร้อง ทั้ง หก ได้ ทำหนังสือ คัดค้าน การ จดทะเบียน ไว้ ทาง สำนักงาน พาณิชย์ จังหวัด จึงไม่รับ คำขอ จดทะเบียน เลิก บริษัท และ ชำระ บัญชี เป็นเหตุ ให้ ผู้คัดค้านที่ 2 ถึง ที่ 5 ไม่อาจ ทำ หน้าที่ ผู้ชำระบัญชี ต่อไป ได้ กล่าว คือบอกกล่าว แก่ ประชาชน บอกกล่าว แก่ เจ้าหนี้ จดทะเบียน เลิก บริษัท และจัดทำ งบดุล แล้ว เรียก ประชุมใหญ่ เพื่อ รับรอง ให้ กรรมการ บริษัท เป็นผู้ชำระบัญชี ต่อไป หรือ เลือกตั้ง ผู้ชำระบัญชี ใหม่ แทนที่ และ อนุมัติงบดุล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1253 ถึง มาตรา 1256จึง หาใช่ ความผิด ของ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 ซึ่ง เป็น ผู้ชำระบัญชีไม่ และ จาก ข้อเท็จจริง ดังกล่าว แสดง ให้ เห็นว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2ถึง ที่ 5 ยัง มิได้ ทำ หน้าที่ ผู้ชำระบัญชี เลย คดี จึง ไม่มี เหตุ ให้ถอน ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 จาก ผู้ชำระบัญชี คำสั่ง ของ ศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ฎีกา ผู้ร้อง ทั้ง หก ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share