แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้น ลงโทษ จำเลยที่ 1 – 2 ฐานลักทรัพย์จำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่ารูปคดีไม่เป็นผิดฐานลักทรัพย์ดังนี้ ถือว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์พิพากษาปล่อยจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ – ๒ มีผิดตามมาตรา ๒๙๓ (๑๑) ส่วนจำเลยที่ ๓ ให้ปล่อยตัวไป
โจทก์และจำเลยที่ ๒ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พฤตติการณ์ที่จำเลยกระทำไม่มีอะไรจะชี้ได้ว่ากระทำโดยเจตนาทุจจริต จึงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์แลปล่อยจำเลยทั้ง สาม
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยไม่มีผิดฐานลักทรัพย์ เพราะเท่าที่ จำเลยกรทำไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่ามีเฤยยจิตต์เป็นโจรลักทรัพย์ส่วนข้อที่ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ ๑ มิได้ อุทธรณ์คดีเด็ดขาดแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาปล่อยจำเลยที่ ๑ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าเรื่องนี้ศาลจังหวัดพิพากษาว่าจำเลยที่ที่๒ มีความผิดฐานลักทรัพย์ด้วยกันแม้จำเลยที่ผู้เดียวอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยรูปคดีนี้ได้เป็นผิดฐานลักทรัพย์ดังนี้ เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๑๓ ศาลอุทธรณ์มี อำนาจ พิพากษาปล่อย จำเลยที่ ๑ ซึ่งมิได้ อุทธรณ์ได้ พิพากษายืนตาม ศาลอุทธรณ์