คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2543

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้คำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักของอาคารจำเลยที่ 9 ในการปลูกสร้างย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารดังกล่าวได้กำหนดการรับน้ำหนักไว้เพียง 4 ชั้นรวมชั้นใต้ดิน แต่จำเลยที่ 1 กลับมาคำนวณออกแบบต่อเติมอาคารโดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักส่วนที่ต่อเติมไม่ได้และยังใช้ฐานรากและเสาในแนวซีซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียง 2 ชั้นเป็นจุดเชื่อมต่ออาคารเดิมและอาคารที่ต่อเติม ทำให้น้ำหนักของอาคารทั้งหมดถ่ายเทลงสู่เสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังเบิกความและยอมรับในฎีกาว่าได้ดูแบบแปลนของอาคารเดิมดูสภาพของอาคารที่มีอยู่เดิมและทราบว่าเสาในแนวซีต้นที่ 176 มีขนาด และส่วนประกอบผิดไปจากแปลน เช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบเพราะเดิมจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ออกแบบ เมื่อพบเห็นสภาพอาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนเช่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักอาคารในส่วนที่ต่อเติมได้อีกหรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิม แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุที่อาคารจำเลยที่ 9 พังทลายจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายก็เป็นเพราะจำเลยที่ 1 คำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไว้ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตรง การกระทำของจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 227 ประกอบกับมาตรา 238
กรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 มิได้เป็นวิศวกร ย่อมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจำเลยที่ 9 ว่าจะต่อเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องต่อใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที่ 9 ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมา ก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานทั้งของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารในด้านความมั่นคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัย ซึ่งเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่าอาคารจำเลยที่ 9 ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 ล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้นหากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมจะไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์ในอาคารจำเลยที่ 9 อย่างแน่นอน เพราะทุกคนย่อมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
การตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณที่ได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 หรือมาตรา 24 เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง” เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารส่วนต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที่ 1 ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบปะหน้าการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ตรวจคำขอต่อเติมอาคารจำเลยที่ 9 และทำความเห็นเสนอต่อจำเลยที่ 7 และที่ 8 ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ต่อเติมอาคารได้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไปโดยชอบแล้ว ส่วนจำเลยที่ 7 และที่ 8 นั้น ได้พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นที่เสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ทั้งไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ย่อมไม่มีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งในการคำนวณเกี่ยวกับรายละเอียดของวิศวกรรมนั้นวิศวกรผู้คำนวณและออกแบบจะต้องปฏิบัติตามค่ากำหนดที่ปรากฏในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ส่วนวิศวกรของเทศบาลผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบทางด้านวิศวกรรมนั้นไม่ต้องตรวจในรายละเอียดของหลักวิศวกรรมศาสตร์ เพียงแต่ต้องตรวจและพิจารณาว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงหลักการและเหตุผลในการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 แล้ว เป็นการออกมาเพื่อรองรับมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะไม่ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 28 ก็ตาม โจทก์จะอ้างว่าขณะที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ตรวจพิจารณาคำขออนุญาตดัดแปลง ต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงรองรับ จึงไม่อาจนำความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาใช้ไม่ได้
จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ย่อมมีความรู้ความชำนาญในการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารอันเป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างออกแบบคำนวณต่อเติมและควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารเกิดเหตุ ซึ่งเป็นโรงแรมอันเป็นอาคารสาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นเป็นพิเศษตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยต้องออกแบบและคำนวณโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่จำเลยที่ 1 กลับประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโดยไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและออกแบบไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ อันเป็นเหตุให้อาคารเกิดเหตุพังทลายทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก พฤติการณ์และสภาพความผิดของจำเลยที่ 1 จึงร้ายแรงสมควรลงโทษสถานหนัก

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 เวลากลางวัน อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าซึ่งเป็นที่ตั้งของจำเลยที่ 9 เกิดการวิบัติพังทลายเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตได้รับอันตรายแก่กายและทรัพย์สินเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำและละเว้นการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้ากับพวก กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้มีวิชาชีพช่างในสาขาวิศวกรรมโยธาสามัญและสาขาสถาปัตยกรรมควบคุมประเภทภาคีสถาปนิก สาขาสถาปัตยกรรมหลักเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบ คำนวณ ควบคุมดัดแปลงการก่อสร้างวางโครงสร้างการก่อสร้าง ให้คำปรึกษา ซ่อมแซม รื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้มีวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมประเภทสามัญสถาปนิก สาขาสถาปัตยกรรมหลักเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมเพื่อใช้ในการก่อสร้าง อำนวยการก่อสร้าง ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาคารและสิ่งปลูกสร้างจำเลยที่ 3 เมื่อปี 2533 เป็นพนักงานเทศบาลตำแหน่งวิศวกรโยธาเทศบาลเมืองนครราชสีมา มีหน้าที่สำรวจออกแบบจัดทำโครงการทางด้านวิศวกรรม กำหนดรายการก่อสร้าง ควบคุมงานก่อสร้างทดสอบวิเคราะห์วิจัยวัสดุการก่อสร้างเกี่ยวกับอาคารและสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีผู้ขออนุญาตภายในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา และเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายจำเลยที่ 4 เมื่อปี 2526 ถึง 2533 เป็นพนักงานเทศบาล ตำแหน่งหัวหน้างานวิศวกรรมกองช่าง เทศบาลเมืองนครราชสีมา มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบงานวิศวกรรมทั้งหมดในกองช่าง เทศบาลเมืองนครราชสีมา โดยเฉพาะตรวจแบบอาคารทางด้านวิศวกรรม ตรวจสอบโครงสร้าง ตรวจสอบทางด้านวิศวกรรมเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 8เมื่อปี 2533 ดำรงตำแหน่งเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมาฝ่ายโยธา ได้รับมอบหมายจากนายกเทศมนตรีให้มีหน้าที่ควบคุม ตรวจตรา รับผิดชอบ อนุมัติงานของกองช่าง เทศบาลเมืองนครราชสีมา เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงต่อเติม รื้อถอน เคลื่อนย้ายอาคารในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมาและเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยที่ 9 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการโรงแรม คอฟฟี่ช็อฟ อาบอบนวด และอื่น ๆโดยมีจำเลยที่ 10 ถึงที่ 14 กับพวก เป็นกรรมการบริหาร มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 9 จำเลยที่ 15 เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 9 มีหน้าที่ควบคุมบริหาร ตรวจสอบอาคารและงานทั้งหมดของโรงแรมรอยัลพลาซ่าเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2532 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2534 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกันตลอดมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกซึ่งมีวิชาชีพดังกล่าวได้ร่วมกันก่อสร้าง ต่อเติม ดัดแปลงอาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าเดิมซึ่งเป็นอาคาร 3ชั้น (ไม่รวมชั้นใต้ดิน) เป็นอาคาร 6 ชั้น (ไม่รวมชั้นใต้ดิน) โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการอันพึงกระทำกล่าวคือ ในการก่อสร้างต่อเติมและดัดแปลงอาคารเมื่อปี 2533 จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกร่วมกันทำคำรับรองเป็นเอกสารแบบแปลนการก่อสร้าง และรายการคำนวณอาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าเดิม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเมื่อปี 2526 และ 2528 ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขออนุญาตก่อสร้างต่อเติมเป็นเท็จ โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกร่วมกันเขียนแบบแปลนและรายการคำนวณขึ้นใหม่ ไม่ตรงกับแบบแปลนและรายการคำนวณก่อสร้างเดิมที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเมื่อปี 2526 เกี่ยวกับขนาดตำแหน่งของเสาและฐานราก ซึ่งเป็นสาระสำคัญของอาคารโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เทศบาลเมืองนครราชสีมา ผู้อื่นและประชาชนอีกทั้งในการก่อสร้างต่อเติมและดัดแปลงอาคารดังกล่าว จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกก็ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการอันพึงกระทำโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกร่วมกันออกแบบควบคุมก่อสร้างอาคารดังกล่าวโดยไม่เสริมโครงสร้างฐานรากและเสาในอาคารเดิม ไม่ทำฐานรากและเสาเพิ่มให้เพียงพอที่จะรับน้ำหนักของอาคารที่ต่อเติมให้อยู่ในภาวะที่ปลอดภัยแก่การใช้งาน ทำให้โครงสร้างเสาและฐานรากของอาคารไม่มั่นคงและแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของอาคารได้โดยปลอดภัย ค่าของความปลอดภัยของเสาและฐานรากต่ำกว่ามาตรฐาน เสาของอาคารหมิ่นเหม่ต่อการวิบัติด้วยตนเองตลอดเวลา อันสืบเนื่องจากความเครียดของระบบโครงสร้างและเสาในอาคารจนกระทั่งวันที่ 13 สิงหาคม 2536 เสาในอาคารจึงหักพังโดยตนเองทำให้เกิดแรงดึงกระชากโครงสร้างของอาคารอย่างรุนแรงและฉับพลัน อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าจึงถล่มพังทลายลงเป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่ในอาคารขณะนั้นถูกวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง เช่นเหล็ก คอนกรีต อิฐ คาน เสาและเพดานทับเสียชีวิตรวม 136 ราย ได้รับอันตรายสาหัสเสียอวัยวะ ทุพพลภาพป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน รวม 36 ราย และได้รับอันตรายแก่กายรวม 124 ราย ตามรายชื่อผู้เสียชีวิตรายงานการชันสูตรพลิกศพ บัญชีรายชื่อผู้ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายและรายงานการชันสูตรบาดแผลเอกสารท้ายฟ้อง จากการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ดังกล่าว อันทำให้จำเลยที่ 9ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างต่อเติมอาคาร และจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกควบคุมและก่อสร้างอาคารซึ่งไม่ถูกต้องตามแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ทำให้อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าพังทลาย มีผู้เสียชีวิตได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายดังกล่าว

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2532 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2536 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยที่ 9 กับจำเลยที่ 10 ถึงที่ 15 ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 9 และในฐานะส่วนตัวได้กระทำโดยประมาท กล่าวคือ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 9 ครั้งที่ 7/2533 และ 8/2533 เมื่อวันที่ 4เมษายน 2533 และวันที่ 18 เมษายน 2533 จำเลยที่ 10 ถึงที่ 15 ได้ร่วมกับพวกประชุมและมีมติให้ทำการก่อสร้างต่อเติม ดัดแปลงอาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าจากอาคาร 3 ชั้น (ไม่รวมชั้นใต้ดิน) เป็นอาคาร 6 ชั้น (ไม่รวมชั้นใต้ดิน)โดยจำเลยดังกล่าวกับพวกรู้อยู่แล้วว่าโครงสร้างฐานรากและเสาของอาคารรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 3 ชั้น และการก่อสร้างต่อเติมดัดแปลงอาคารเป็น 6 ชั้นดังกล่าวไม่มีการเสริมโครงสร้าง ฐานรากและเสาเพื่อรับน้ำหนักของอาคารและน้ำหนักการใช้งานของอาคารที่เพิ่มขึ้นอีก 3 ชั้น ทำให้โครงสร้าง ฐานรากและเสาต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการต่อเติมเป็นอันมาก ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ของบุคคลซึ่งประกอบกิจการโรงแรมและสถานบริการอันเป็นอาคารสาธารณะจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของสาธารณชนผู้มาใช้บริการเป็นพิเศษ ซึ่งจำเลยที่ 9 ถึงที่ 15 กับพวกอาจใช้ความระมัดระวังในการก่อสร้างต่อเติมและดัดแปลงอาคารได้ โดยหยุดกิจการชั่วคราวแล้วให้วิศวกรสถาปนิกออกแบบ ควบคุมและก่อสร้างอาคารให้มีความปลอดภัยโดยเสริมโครงสร้างฐานรากและขนาดของเสาในอาคารเดิมให้เพียงพอกับการรับน้ำหนักของอาคารเดิมและอาคารที่ก่อสร้างใหม่ แต่จำเลยดังกล่าวกับพวกหาได้กระทำเช่นนั้นไม่ กลับมีมติให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกดำเนินการออกแบบก่อสร้าง ต่อเติม ดัดแปลงอาคารโดยไม่มีการเพิ่มโครงสร้างฐานรากและเสาและไม่หยุดกิจการระหว่างมีการต่อเติมจนกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 แล้วจำเลยที่ 9 ถึงที่ 15 กับพวกก็ใช้อาคารดังกล่าวในการประกอบธุรกิจโรงแรมและสถานบริการ ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้องดูแลรักษาและซ่อมแซมอาคารให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงปลอดภัยและมิให้เกิดภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินตลอดเวลาที่ใช้อาคารนั้น จำเลยที่ 9 ถึงที่ 15 กับพวกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ โดยจำเลยที่ 9ถึงที่ 15 กับพวกทราบอยู่แล้วว่าอาคารดังกล่าวไม่มีความปลอดภัยทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ควรต้องใช้อย่างระมัดระวังและรักษาซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงปลอดภัย แต่กลับดำเนินการเพิ่มน้ำหนักและความสั่นสะเทือนของอาคารโดยติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่มีน้ำหนักมาก และเพิ่มจำนวนห้องใช้ประโยชน์ของอาคาร ทำให้น้ำหนักของอาคารเพิ่มมากกว่าปกติเพราะการใช้อาคารดังกล่าวทำให้มีรอยร้าวของผนังและพื้นหลายแห่งและมีน้ำซึมที่พื้นใต้ดินของอาคาร อันเป็นอาการบอกเหตุและบ่งชี้ว่ามีความผิดปกติในอาคารเกิดขึ้นจำเลยที่ 9 ถึงที่ 15 กับพวกได้พบเห็นแล้วควรจะแจ้งเหตุความผิดปกติให้วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทราบเพื่อดำเนินการตรวจสอบแก้ไข แต่จำเลยดังกล่าวกับพวกกลับเห็นแก่ประโยชน์ทางธุรกิจ ไม่ดำเนินการแก้ไขจนในที่สุดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าก็ได้พังทลายลงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินจำนวนมากดังกล่าวข้างต้น เหตุทั้งหมดเกิดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 227, 238, 269 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 5, 8, 27 ลงโทษจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 157 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 44 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 27 ลงโทษจำเลยที่ 9 ถึงที่ 15 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 5, 8 และห้ามจำเลยที่ 1 ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม กับห้ามจำเลยที่ 2 ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ

จำเลยทั้งสิบห้าให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 ประกอบด้วยมาตรา 238 วรรคแรกและวรรคสอง, 269 วรรคแรกจำเลยที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300, 390, 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรม ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันพึงกระทำ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและรับอันตรายสาหัสลงโทษฐานเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันพึงกระทำเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 18 ปี ฐานประกอบวิชาชีพวิศวกรรมทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จจำคุก 2 ปี รวมจำคุก 20 ปี การกระทำของจำเลยที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ปรับจำเลยที่ 9 เป็นเงิน 20,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 11ถึงที่ 15 คนละ 6 ปี คำขออื่นให้ยก และยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และจำเลยที่ 10

โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ห้ามจำเลยที่ 1 ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพสถาปัตยกรรมมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 50 กับให้ยกฟ้องจำเลยที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15เสียด้วยนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยที่ 1 และโจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 10 ส่วนจำเลยที่ 2ที่ 11 และที่ 13 โจทก์ไม่ฎีกา คดีสำหรับจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าอาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าของจำเลยที่ 9 ที่เกิดเหตุคดีนี้ตั้งอยู่ตำบลในเมืองอำเภอเมืองนครราชสีมา ระหว่างถนนจอมสุรางค์ยาตร์กับถนนโพธิ์กลาง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีชั้นใต้ดินหันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก เดิมได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นอาคาร 3 ชั้น (ไม่รวมชั้นใต้ดิน) หลังคาดาดฟ้าใช้เป็นสถานอาบอบนวดมีปีกด้านทิศเหนือเป็นอาคารชั้นเดียว หลังคากระเบื้องใช้เป็นสถานที่เต้นรำ (ดิสโก้เธค) ปีกด้านทิศใต้เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคากระเบื้องชั้นล่างใช้เป็นคอฟฟี่ช๊อพหรือห้องอาคาร ชั้นบนใช้เป็นห้องประชุมตามแบบแปลนเอกสารหมาย จ.42 ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี 2526 ทยอยเสร็จเป็นส่วน ๆ เริ่มจากปีกด้านทิศเหนือเสร็จก่อนเมื่อปลายปี 2526 จากนั้นเป็นปีกด้านทิศใต้ ส่วนกลางเสร็จในปี 2527 เมื่ออาคารส่วนไหนสร้างเสร็จจำเลยที่ 9 ก็ใช้อาคารส่วนนั้นดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ทันที แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 9 ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินกิจการอาบอบนวดได้น้อยกว่าจำนวนห้องที่ทำไว้ จำเลยที่ 9 จึงใช้ห้องอาบอบนวดส่วนที่เหลือทำเป็นห้องพักเปิดดำเนินกิจการด้านโรงแรมควบคู่ไปด้วย และจำเลยที่ 9 ได้ดัดแปลงต่อเติมอาคารต่อจากแบบแปลนตามเอกสารหมาย จ.42 ออกไปอีก 2 ส่วน คือดัดแปลงต่อเติมปีกทางด้านทิศใต้ขึ้นไปในแนวดิ่งจนเป็นอาคาร 3 ชั้น หลังคาดาดฟ้าใช้พื้นที่ชั้น 2 ซึ่งเดิมทำเป็นห้องประชุมกับพื้นที่ชั้น 3 ที่ต่อเติมขึ้นใหม่เป็นห้องพักโรงแรมตามแบบแปลนเอกสารหมาย จ.37กับก่อสร้างต่อเติมอาคาร 2 ชั้น หลังคากระเบื้องต่อจากปีกทางด้านทิศใต้ออกไปในแนวราบต่อเชื่อมกับอาคารเดิมโดยชั้นล่างทำเป็นห้องล็อบบี้โรงแรม ชั้นบนทำเป็นห้องประชุมชื่อห้องเบญจมาศตามแบบแปลนเอกสารหมาย จ.36 การก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวทั้งสองส่วนได้กระทำต่อเนื่องไปทันทีที่ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนเอกสารหมาย จ.42 เสร็จแล้วจำเลยที่ 9 จึงได้ยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงต่อเติมอาคารส่วนดังกล่าวในภายหลังตามเอกสารหมาย จ.97 และ จ.84 ซึ่งเทศบาลเมืองนครราชสีมาก็ออกใบอนุญาตให้ในปี 2528 ตามเอกสารหมาย จ.100และ จ.83 จำเลยที่ 9 ได้ใช้อาคารดังกล่าวดำเนินกิจการต่าง ๆ เรื่อยมาโดยมีห้องพักโรงแรมอยู่ 62 ห้อง ปรากฏว่ากิจการประสบภาวะขาดทุนต้องกู้หนี้ยืมสินตกเป็นลูกหนี้บุคคลอื่นหลายราย แล้วปี 2529 ก็ถูกบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัด เจ้าหนี้รายใหญ่ยึดทรัพย์อุปกรณ์เครื่องใช้ทำให้ต้องหยุดกิจการไปปีเศษ จนกระทั่งมีการเจรจาตกลงกันจึงได้เปิดดำเนินกิจการใหม่ในปี 2530 หลังจากจำเลยที่ 15 เข้ามาเป็นผู้จัดการทั่วไปแล้วจำเลยที่ 15ได้ปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลและการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 9 ใหม่โดยเน้นหนักไปทางด้านโรงแรม ทำให้กิจการของจำเลยที่ 9 ดีขึ้น ปี 2532จำเลยที่ 15 จึงเสนอให้เพิ่มห้องพักโรงแรมโดยการต่อเติมอาคารต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 9 ที่ประชุมเห็นชอบและว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ออกแบบจำเลยที่ 1 ได้ออกแบบต่อเติมอาคารที่มีอยู่เดิมขึ้นไปในแนวดิ่งให้เป็นอาคาร 6 ชั้น และก่อสร้างอาคารลิฟต์เชื่อมต่อกันทางด้านทิศใต้ตามแบบแปลนเอกสารหมาย จ.50 โดยจำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้าง และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นสถาปนิก วันที่ 20 เมษายน 2533 จำเลยที่ 9 ได้นำแบบแปลนดังกล่าวไปยื่นขออนุญาตดัดแปลงต่อเติมอาคารต่อเทศบาลเมืองนครราชสีมา โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมงานการก่อสร้างตามเอกสารหมาย จ.53เมื่อคำขออนุญาตของจำเลยที่ 9 เข้าสู่การพิจารณาของจำเลยที่ 3 ในวันที่ 18พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 3 ได้ทำบันทึกให้นำรายละเอียดแบบแปลนเดิมที่ผ่านการอนุญาตให้ก่อสร้างจากทางเทศบาลมาประกอบการพิจารณาตามเอกสารหมาย จ.49 แผ่นที่ 2 หรือ ล.37 แผ่นที่ 6 แล้วมอบแบบแปลนคืนให้จำเลยที่ 9นำไปแก้ไขเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 9ได้นำแบบแปลนมายื่นใหม่โดยมีการเขียนแผ่น เอส-02 แดท (S – 02) เพิ่มเติมเข้ามา กับมีหนังสือรับรองความสามารถการรับน้ำหนักของฐานรากอาคารเดิมของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.131 หรือ ล.31 หรือ ล.90 และหนังสือรับรองความสามารถ การรับน้ำหนักของดินใต้ฐานรากของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมาตามเอกสารหมาย ล.72 มาแสดง และจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกหมายเหตุลงในใบปะหน้ารายการคำนวณว่าวิศวกรได้ตรวจสอบความสามารถการรับน้ำหนักของเสาชั้นล่างและฐานรากแล้วว่าสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้พร้อมกับแสดงรายการทดสอบการรับน้ำหนักของดินใต้ฐานรากแล้วตามเอกสารหมาย ล .35จำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ลงความเห็นว่ามีการแก้ไขถูกต้องแล้ว โดยจำเลยที่ 3 บันทึกลงในทะเบียนตรวจแบบ กองช่างว่าแก้ไขถูกต้องตามเอกสารหมาย จ.51จำเลยที่ 4 ลงชื่อในรายการตรวจแบบของฝ่ายแบบแผนและก่อสร้างตามเอกสารหมาย จ.49 แผ่นที่ 2 แล้วจำเลยที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ได้ทำความเห็นว่าควรอนุญาต เสนอจำเลยที่ 8 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยที่ 8 ก็มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ดัดแปลงต่อเติมอาคารตามที่ขอได้ตามเอกสารหมาย จ.52จากนั้นจำเลยที่ 9 ได้ว่าจ้างให้บริษัทโคราชโฮมแลนด์ จำกัด ก่อสร้างต่อเติมโดยให้จำเลยที่ 15 เป็นผู้ประสานงาน การก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวทำเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 โดยมีการก่อสร้างผิดจากแบบแปลนเอกสารหมาย จ.51ไป 2 รายการ คือเปลี่ยนจากการใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบฮอลโลว์ คอร์(HOLLOW CORE) เป็นใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบคานรูปตัวที (T – BEAM)แทน กับเปลี่ยนแปลงพื้นที่ห้องครัวในชั้นที่ 4 เป็นห้องพักโรงแรม 9 ห้อง เพื่อให้มีห้องพักครบ 150 ห้องโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการของจำเลยที่ 9 และจำเลยที่ 1 ให้เขียนแบบขยายก่อสร้างชั้น 2 ชั้น 3 บริเวณเหนือห้องล็อบบี้โดยสร้างเสาแอบขึ้นทางด้านทิศเหนือ ตั้งอยู่บนคานรับพื้น ระหว่างก่อสร้างจำเลยที่ 9คงดำเนินกิจการในอาคารเดิมต่อไป และจ้างให้บริษัทสีมาครีเอท กรุ๊ป จำกัดตกแต่งห้องพัก ห้องจัดเลี้ยง ห้องประชุม ห้องคอฟฟี่ช็อพ ห้องล็อบบี้กับจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนวมงคลติดตั้งเครื่องปรับอากาศระบบใหญ่อันประกอบด้วยเครื่องทำน้ำเย็น 2 ชุดน้ำหนักชุดละ 1,500 กิโลกรัม และเครื่องส่งลมเย็น 4 ชุดน้ำหนักชุดละ 700 ถึง 800 กิโลกรัม ก่อสร้างต่อเติมเสร็จแล้วจำเลยที่ 9 ได้ใช้อาคารประกอบกิจการตลอดมาแล้วเดือนกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 9 ก็ว่าจ้างให้บริษัทสีมาครีเอท กรุ๊ป จำกัดตกแต่งห้องคอฟฟี่ช็อพอีก ครั้นวันที่ 13 สิงหาคม2536 เวลาประมาณ 10 นาฬิกา ขณะที่การตกแต่งดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จอาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าของจำเลยที่ 9 ก็พังทลายลง คงเหลืออยู่เฉพาะอาคารลิฟต์ตามภาพถ่ายหมาย จ.109 และ จ.152 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 136คนได้รับอันตรายสาหัส 36 คน และได้รับอันตรายแก่กายอีก 124 คน โดยการพังทลายดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นที่เสาชั้นล่าง ซึ่งเป็นชั้นที่เสาต้องรับน้ำหนักมากที่สุด บริเวณแนวซี (C) ในแบบแปลนแสดงเสาชั้นที่ 1 (ชั้นล่าง) ในเอกสารหมาย จ.73 แผ่นที่ 9 หรือแนวซี (C) ในแบบแปลนเอกสารหมาย จ.50 แผ่นเอ – 03 (A – 03) ซึ่งเป็นแนวต่อเชื่อมระหว่างห้องคอฟฟี่ช็อฟกับห้องล็อบบี้ที่จำเลยที่ 1 ให้ก่อสร้างต่อเติมส่วนบนในชั้นที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีทำเสาแอบก่อนโครงสร้างของอาคารเกิดเหตุเดิมเป็นโครงสร้างสำหรับอาคารเพียง 3 ชั้น การที่จำเลยที่ 1 ออกแบบให้มีการต่อเติมเป็น 6 ชั้นโดยไม่มีการเสริมความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง และทำบันทึกว่าได้ตรวจสอบความสามารถการรับน้ำหนักของเสาชั้นล่างและฐานรากแล้วสามารถรับน้ำหนักส่วนที่จะต่อเติมได้ เป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการอันพึงกระทำ และทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่บุคคลอื่น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 227 และ 269ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยมีว่าการพังทลายของอาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าเกิดขึ้นเพราะการออกแบบต่อเติมผิดพลาดของจำเลยที่ 1 อันทำให้ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 227 ของจำเลยที่ 1 เข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 หรือไม่ และจำเลยอื่น ๆ ที่โจทก์ฎีกามีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ สมควรลงโทษเพียงใด

ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยรับว่าเสาในแนวซีมีค่าความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐาน การที่นายฤทธิชัย แปดด่านจาก ทนายจำเลยที่ 1 เขียนอุทธรณ์รับว่าเสาในแนวซีมีความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐานนั้นเป็นการจงใจให้ร้ายและหักหลังจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้ว่าจ้างนายฤทธิชัยเป็นทนายความ แต่ว่าจ้างนายสืบสุข วิสุทธิกุล เป็นทนายความ อุทธรณ์ที่นายฤทธิชัยเขียนจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 นั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2540 ตามเอกสารอันดับที่ 1012 ในสำนวนแต่งให้นายฤทธิชัย แปดด่านจาก เป็นทนายความของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้และให้มีอำนาจว่าต่างแก้ต่าง ฟ้อง ถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความ ใช้หรือสละสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา ขอพิจารณาใหม่ ดังนั้น การที่นายฤทธิชัยในฐานะทนายจำเลยที่ 1 เรียงอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่อาจหยิบยกขึ้นมาปฏิเสธดังที่กล่าวอ้างในฎีกาได้ หากจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายอย่างใดจากการกระทำดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 พึงดำเนินการต่อนายฤทธิชัยเป็นเรื่องต่างหากซึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 ยอมรับในอุทธรณ์ว่าการออกแบบต่อเติมของจำเลยที่ 1 ทำให้เสาอาคารจำเลยที่ 9 ชั้นล่างในแนวซีซึ่งเป็นบริเวณที่เริ่มพังทลาย มีค่าความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐานคือ 2 จริง และจากคำเบิกความของนายประกอบ วิโรจนกูฎ และพันเอกชูชัย สินไชย พยานโจทก์ได้ความสอดคล้องต้องกันว่า เสาในแนวดังกล่าวด้านอื่นกับเสาบริเวณใกล้เคียงมีค่าความปลอดภัยอยู่ระหว่าง 1.6 ถึง 1.8 ส่วนเสาต้นหมายเลข 176 ตามเอกสารหมาย จ.73 แผ่นที่ 7 มีค่าความปลอดภัยเพียง 1.12 (ตามเอกสารหมาย จ.73 เพียง 1.05) ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานมากหมิ่นเหม่ต่อการวิบัติ เสาที่หมิ่นเหม่ต่อการวิบัติหรือเสาที่ต้องแบกรับน้ำหนักมาก ๆ จะเกิดความเครียด นาน ๆ เข้าจะเกิดความล้าอาจวิบัติได้เองโดยกาลเวลา เช่นเดียวกับคนที่ต้องแบกของหนักจนเกือบเต็มกำลังความสามารถ เมื่อแบกไปนาน ๆ จะเกิดความล้าแบกต่อไปไม่ไหว หรือเมื่อมีปัจจัยอื่นเข้ามาเสริมทำให้ต้องรับน้ำหนักจนเกินขีดความสามารถเสานั้นก็จะวิบัติ นายประกอบและคณะได้ทำรายงานผลการวิเคราะห์การวิบัติของอาคารจำเลยที่ 9 ไว้โดยละเอียดตามเอกสารหมาย จ.73โดยระบุว่าเหตุที่ทำให้เกิดวิบัติน่าจะเป็นการเกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการคำนวณออกแบบมากที่สุด นอกจากนี้ยังปรากฏว่าอาคารจำเลยที่ 9 ได้มีการคำนวณออกแบบก่อสร้างไว้เพียง 4 ชั้น รวมชั้นใต้ดินเท่านั้นตามเอกสารหมาย จ.42และ จ.49 และรายการคำนวณโครงสร้างเอกสารหมาย จ.75 ซึ่งจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นรายการคำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักของอาคารจำเลยที่ 9 ปี 2526นายเทอดทูล ขำวิลัย พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้เขียนแบบเอกสารหมาย จ.42 และนายวิชัย วิพัฒน์เกษมสุข ก็เบิกความยืนยันว่าการก่อสร้างอาคารจำเลยที่ 9เอกสารหมาย จ.42 ได้ออกแบบก่อสร้างและได้อนุญาตให้ปลูกสร้างเพียงจำนวน4 ชั้น รวมชั้นใต้ดินเท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวิศวกรผู้คำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักของอาคารจำเลยที่ 9 ในการปลูกสร้างเมื่อปี 2526 ย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารจำเลยที่ 9 ได้กำหนดการรับน้ำหนักไว้เพียง 4 ชั้น รวมชั้นใต้ดินแต่จำเลยที่ 1 กลับมาคำนวณออกแบบต่อเติมอาคารจำเลยที่ 9 ในปี 2533ตามเอกสารหมาย จ.50 โดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักส่วนที่ต่อเติมไม่ได้ จำเลยที่ 1 กลับใช้ฐานรากและเสาในแนวซีซึ่งเป็นฐานรากและเสาแนวที่ 14 ที่เป็นแนวสุดท้ายตามแบบแปลน ปี 2526 ซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียง 2 ชั้น เป็นจุดเชื่อมต่ออาคารเดิมและอาคารที่ต่อเติมในปี 2533 จึงทำให้น้ำหนักของอาคารทั้งหมดถ่ายเทลงสู่เสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบทั้งเสาในแนวดังกล่าวมีค่าความปลอดภัยต่ำมากและรับน้ำหนักอาคารไม่ได้ก่อนเสาต้นอื่น จึงเกิดการแตกหักและอาคารได้พังทลายที่บริเวณรอยต่อของอาคารในแนวซี ปรากฏรายละเอียดตามเอกสารหมาย จ.73 จ.74 จ.106 จ.111 และคำเบิกความของนายประกอบ พันเอกชูชัย พันตำรวจเอกอธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ พันตำรวจเอกสมุทร เลิศทวีสินธ์ และนายสมศักดิ์ เลิศบรรณพงษ์ พยานโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เบิกความและยอมรับในฎีกาว่าได้ดูแบบแปลนของอาคารเดิมดูสภาพของอาคารที่มีอยู่เดิมและทราบว่าเสาในแนวซีต้นที่ 176 ไม่ถูกต้องตามแบบแปลนเพราะตามแบบระบุว่าเป็นเสากลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร แต่สร้างจริงเป็นเสาเหลี่ยม ขนาด 35 คูณ 35 เซนติเมตร และอ้างว่าไม่ทราบว่าเสาต้นนี้ตั้งอยู่บนคานคอดินและประกอบด้วยเหล็กเพียง 8 เส้น ซึ่งผิดไปจากแบบแปลนปี 2528 ครั้งที่ 1 ที่ระบุว่าเสาต้นนี้ตั้งอยู่บนฐานรากและประกอบด้วยเหล็ก 12 เส้น หากจำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจะไม่ออกแบบให้ต่อเติมอาคารเนื่องจากผิดหลักวิชาการเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบเพราะจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ออกแบบในปี 2528 ทั้งสองครั้ง เมื่อพบเห็นสภาพอาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนเช่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยที่ 1 จะต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักอาคารในส่วนที่จะต่อเติมได้อีกหรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารในปี 2528 ทั้งสองครั้งแต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุที่อาคารจำเลยที่ 9 พังทลายก็เป็นเพราะจำเลยที่ 1 คำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไว้ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1โดยตรงดังที่โจทก์นำสืบ ที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่าจำเลยที่ 9 นำเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่เข้ามาติดตั้ง โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้คำนวณเผื่อการรับน้ำหนักไว้ก็ดีจำเลยที่ 9 ตกแต่งภายในอาคารโดยการสกัดเสาเอาเนื้อคอนกรีตออก ทำให้การรับน้ำหนักของเสาอาคารลดน้อยลง และมีการเปลี่ยนพื้นห้องครัวเป็นห้องพัก ผิดไปจากแบบแปลนและมีการตัดเสาโครงสร้างหน้าเวทีในห้องคอฟฟี่ช๊อพออกไป 2 ต้น ซึ่งล้วนเป็นเหตุให้อาคารจำเลยที่ 9 พังทลายนั้น นายชาญ จรรโลงเศวตกุล พยานโจทก์ผู้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศเบิกความว่าก่อนติดตั้งได้ส่งแบบให้จำเลยที่ 15 เสนอต่อวิศวกร เมื่อวิศวกรผ่านแบบแล้วจึงเข้าไปติดตั้งได้ พยานเห็นจำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานและเข้ามาดูแลการติดตั้งเครื่องปรับอากาศของพยานด้วย ทั้งปรากฏว่าเมื่อเกิดเหตุแล้วอาคารส่วนที่วางเครื่องปรับอากาศมิได้พังทลายจนราบลงเหมือกับบริเวณแนวซี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพังทลายเพียงแต่ถูกดึงให้เอียงพังตามไปด้วยเท่านั้นตามภาพถ่ายหมาย จ.109 จ.152 และ ล.11 การพังทลายจึงไม่ใช่เกิดจากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศส่วนการสกัดเสาเอาเนื้อคอนกรีตออกนั้นก็ล้วนแต่อยู่ห่างจากเสาในแนวซี ย่อมไม่ทำให้เสาในแนวซีต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด การเปลี่ยนพื้นห้องครัวเป็นห้องพัก ก็ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ทั้งการเปลี่ยนจากพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบฮอลโลว์ คอร์ มาใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบคานรูปตัวที ยิ่งทำให้มีน้ำหนักเบากว่าเดิม ส่วนเรื่องการตัดเสาหน้าเวทีในห้องคอฟฟี่ช็อพนั้น นายกล้า ธรรมพิทักษ์พยานจำเลยที่ 1 เองก็เบิกความยืนยันว่าเสาดังกล่าวยังคงอยู่ที่เดิมตามภาพถ่ายหมาย ล.16 ในเครื่องหมายวงกลมสีแดงจึงฟังไม่ได้ว่าเป็นการตัดเสาโครงสร้างของอาคาร จำเลยที่ 9 อันจะเป็นสาเหตุที่ทำให้อาคารถล่มดังที่จำเลยที่ 1 อ้างส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้ออกแบบฐานรากของอาคารเดิมเผื่อการต่อเติมไว้นั้นเป็นการกล่าวอ้างขัดกับข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้แล้วว่าอาคารเดิมได้ออกแบบมาเพียงเพื่อให้เป็นอาคาร 4 ชั้น รวมทั้งชั้นใต้ดินเท่านั้นการคำนวณโครงสร้างของจำเลยที่ 1 ก็มีเพียงจำเลยที่ 1 เบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นมาสนับสนุนแสดงให้เห็นว่าเป็นการคำนวณที่ถูกต้องแท้จริงแต่อย่างใดพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ข้อเท็จจริงฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าเสาในแนวซีของอาคารจำเลยที่ 9 เกิดวิบัติขึ้นเองโดยกาลเวลาเนื่องจากความผิดพลาดในการคำนวณออกแบบให้มีการต่อเติมอาคารโดยจำเลยที่ 1 การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 227 ของจำเลยที่ 1 จึงเข้าเกณฑ์ตามมาตรา 238 ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในประการต่อไปมีว่าการที่จำเลยที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 ร่วมกันให้จำเลยที่ 1 ออกแบบก่อสร้างต่อเติมอาคารจำเลยที่ 9 และใช

Share