คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2530

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อคดีเดิมซึ่งศาลสั่งริบเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางเพราะเห็นว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา การที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางจึงไม่มีข้อที่จะวินิจฉัยได้อีกว่า เครื่องรับโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่อาจมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางได้.

ย่อยาว

คดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการพนันและสั่งริบเครื่องรับโทรทัศน์ของกลาง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางที่ศาลสั่งริบและมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดขอศาลสั่งคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางแก่ผู้ร้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางแก่ผู้ร้องโดยเห็นว่าเครื่องรับโทรทัศน์เป็นเพียงแต่เครื่องรับภาพการชกมวยจากสถานีโทรทัศน์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ‘คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหมดในความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนันและให้ริบเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดคดีถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา การที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางไม่มีข้อที่จะวินิจฉัยได้อีกว่าเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันหรือไม่คงมีปัญหาว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดในการเล่นการพนันรายนี้หรือไม่ศาลฎีกาเห็นว่าผู้ร้องเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันไม่ปรากฏว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ได้ขาดความสัมพันธ์จากการเป็นสามีภริยากันการพนันรายนี้จัดให้มีขึ้นที่บ้านของผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ทั้งปรากฏจากบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย ค.2 ว่าจำเลยที่ 1 ได้จัดให้มีการเล่นพนันมานาน 4-5 เดือนแล้วโดยเก็บเงินจากผู้เล่นคนละ 5 บาทซึ่งไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ห้ามปรามหรือทักท้วงประการใด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดผู้ร้องไม่อาจมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางได้ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางให้ผู้ร้องนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย’
พิพากษากลับให้ยกคำร้องของผู้ร้อง.
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านของโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 และ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยที่ 2ได้จำนองที่ดิน 2 แปลงไว้กับโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหายไปขอให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยที่1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 และ 3 ชำระแทน ให้ยึดทรัพย์จำนองคือที่ดินโฉนดเลขที่ 8009 และ 8010 พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์
จำเลยทั้งสามให้การว่าเหตุเกิดเนื่องจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์เองความเสียหายเกิดจากลูกจ้างของโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ คดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมาไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ร่วมกันชำระแทนจนครบ ให้บังคับยึดทรัพย์จำนองคือโฉนดที่ดินเลขที่ 8009 และ 8010 พร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสามฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ‘…ในปัญหาที่ว่าจำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ปัญหานี้ จำเลยทั้งสามฎีกาอ้างเหตุขึ้นมาเพียงข้อเดียวว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อเท็จจริงปรากฏตามข้อบังคับของร้านสหกรณ์โจทก์ เอกสารหมาย จ.8 ข้อ 50ว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการสหกรณ์โจทก์มีใจความสำคัญว่า ผู้จัดการจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการทั้งหมดของร้านสหกรณ์ มีอำนาจบรรจุ และกำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่จัดวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนตรวจตราดูแลบรรดาสินค้าของร้านสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัย และเมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาที่โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งกำหนดไว้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ หากจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าโดยเหตุใด แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีหน้าที่สำคัญในการตรวจตราดูแลบรรดาสินค้าของโจทก์ให้ปลอดภัยด้วย เพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับความเสียหายมิฉะนั้นจำเลยที่ 1 ก็จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้นการที่สินค้าตามฟ้องขาดหายไปนั้น แม้จะเป็นเพราะพนักงานของโจทก์ยักยอกเอาไป แต่ก็เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยประมาทเลินเล่อ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของสหกรณ์โจทก์อย่างเคร่งครัดตามสมควร กล่าวคือ มิได้จัดวางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้รัดกุมและมิได้ตรวจตราดูแลเจ้าหน้าที่ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานโดยซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนมิได้ตรวจสอบสินค้าของโจทก์โดยสม่ำเสมอ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานของโจทก์ยักยอกสินค้าของโจทก์ไป อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ด้วย ดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น’
พิพากษายืน.

Share