คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินแปลงเดียวกันการคิดราคาที่ดินจะต้องคิดราคาต่อตารางวาเท่ากันตลอดทั้งแปลง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร ออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจมีการขึ้นลงไม่คงที่จึงจะพิพากษากำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดไปมิได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้จัดการมรดก ตาม คำสั่งศาล ของนาย จิตร สาตรร้าย เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5344แขวง ช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 55 ตารางวา เมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2516 ได้ มี พระราชบัญญัติเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ ใน ท้องที่ แขวง สุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และ แขวง ยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอนและแขวงช่องนนทรี เขต ยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516 เพื่อ ก่อสร้าง ทาง และ ปรับปรุง ระบบ ระบายน้ำ สำหรับ กรุงเทพมหานคร ที่ดิน โจทก์ ถูก เวนคืน เนื้อที่2 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา คณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้น ได้ กำหนดราคาและ จำนวนเงิน ค่าทดแทน ให้ โจทก์ เฉลี่ย ตารางวา ละ 8,542.50 บาทรวมเป็น เงิน 7,757,000 บาท แต่ ที่ดิน โจทก์ ส่วน ที่ เหลือ จาก การเวนคืน มี ราคา สูง ขึ้น อันเป็น ผล มาจาก การ ตัด ถนน เมื่อ เอา ราคา ที่ สูง ขึ้นมา หักกลบ จาก เงิน ค่าทดแทน แล้ว จำเลย ไม่ต้อง จ่าย ค่าทดแทน ให้ โจทก์ซึ่ง ไม่ถูกต้อง เพราะ ที่ดิน แปลง ดังกล่าว อยู่ ใจ กลางเมือง มี ความเจริญ สูง ราคา ซื้อ ขาย ใน ท้องตลาด ตารางวา ละ 50,000-80,000 บาทที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ไม่อาจ นำ ไป สร้าง อาคารพาณิชย์ หรือ ก่อสร้าง อาคาร สูงได้ จึง ไม่ เกิด ประโยชน์ เพิ่ม แก่ โจทก์ โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย แต่ ไม่ได้ รับคำ วินิจฉัย ภายใน กำหนดจึง นำ คดี มา ฟ้อง ขอให้ จำเลย ชำระ ค่าทดแทน แก่ โจทก์ ตารางวา ละ 50,000 บาทเป็น เงิน 45,400,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 9 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2534 จน ถึง วันฟ้อง รวมเป็น เงินต้น และ ดอกเบี้ย49,996,750 บาท และ ดอกเบี้ย ร้อยละ 9 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 45,400,000บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ที่ดิน โจทก์ ไม่ได้ อยู่ ใจ กลางเมือง มี ราคา ไม่ถึงตารางวา ละ 50,000 บาท เจ้าหน้าที่ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ กำหนดราคาที่ดิน โจทก์ ถูกต้อง แล้ว โดย ถือ ตาม ราคาประเมิน ทุนทรัพย์ เพื่อ เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม ปี 2531-2534ของ สำนักงาน กลาง ประเมิน ราคา ทรัพย์สิน กรมที่ดิน ซึ่ง เป็น ราคาประเมินภายหลัง บังคับ ใช้ พระราชบัญญัติ เวนคืน ที่ดิน ดังกล่าว แล้ว หลาย ปีจำเลย กำหนด ค่าทดแทน ส่วน ที่ ติด ซอย วัด โพธิ์แมน ระยะ 40 เมตร จำนวน 375 ตารางวา ราคา ตารางวา ละ 15,000 บาท ส่วน อีก 533 ตารางวาคิด ตารางวา ละ 4,000 บาท รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 7,757,000 บาทเฉลี่ย แล้ว โจทก์ ได้รับ ค่าทดแทน ตารางวา ละ 8,542.50 บาท และ ที่ดินที่ เหลือ ไม่ ถูก เวนคืน จำนวน 447 ตารางวา ถ้า คิด ตาม เกณฑ์ เดียว กันรวมเป็น เงิน 4,285,000 บาท แต่เมื่อ มี การ ตัด ถนน ผ่าน ใน ที่ดินที่ เวนคืน แล้ว ที่ดิน โจทก์ ส่วน ที่ เหลือ ติด ถนน เทียบ กับ ราคา ที่ดินริมถนน จันทร์ ตาม ราคาประเมิน ของ กรมที่ดิน มี ราคา รวมทั้งสิ้น 16,745,000 บาท ซึ่ง สูง กว่า ราคา ก่อน ตัด ถนน ถึง 12,460,000 บาทจำเลย ปฏิบัติ ตาม หลักเกณฑ์ ใน พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ทั้งที่ ดิน โจทก์ ที่ เหลือจาก การ ถูก เวนคืน ด้านหน้า ติด ถนน ยาว กว่า 80 เมตร ลึก ประมาณ 20 เมตรสามารถ สร้าง อาคาร สูง หรือ อาคารพาณิชย์ ได้ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิได้รับ ค่าทดแทน ทั้ง อัตรา ดอกเบี้ย เงินฝาก ประจำ ของ ธนาคารออมสินไม่เกิน ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 27,380,000บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 9 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 14 พฤษภาคม2534 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ คำขอ นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง เบื้องต้น รับฟัง ได้ว่าโจทก์ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย จิตร สาตรร้าย เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5344 แขวง ช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 55 ตารางวา ปรากฏ ตาม สำเนา คำสั่งศาล ชั้นต้นและ สำเนา โฉนด เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 เมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2516ได้ มี พระราชบัญญัติ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ ใน ท้องที่ แขวง สุรวงศ์ และ แขวง สีลม เขตบางรักและแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวง ทุ่งวัดดอนและแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516 เพื่อ ก่อสร้าง ทาง และ ปรับปรุง ระบบ ระบายน้ำ ใน กรุงเทพมหานครที่ดิน แปลง ดังกล่าว ถูก เวนคืน บางส่วน ที่ เป็น เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน8 ตารางวา คงเหลือ อยู่ เป็น เนื้อที่ 1 ไร่ 47 ตารางวา ใน การ กำหนดค่าทดแทน ที่ดิน ให้ โจทก์ จำเลย ใช้ ราคาประเมิน ทุนทรัพย์ เพื่อ เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม ปี 2531-2534ของ สำนักงาน กลาง ประเมิน ราคา ทรัพย์สิน กรมที่ดิน เป็น เกณฑ์ กำหนดและ จาก การ ประเมิน โจทก์ ไม่ได้ รับ เงิน ค่าทดแทน มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า โจทก์ ได้รับ ประโยชน์ จาก การ เวนคืน โดย ที่ดินของ โจทก์ ที่ เหลือ อยู่ มี ราคา สูง ขึ้น กว่า เงิน ค่าทดแทน แล้ว ไม่ควรได้รับ ค่าทดแทน เพิ่ม อีก หรือไม่ โดย จำเลย ฎีกา คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ใน ประการ แรก ว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าทดแทน ที่ดิน ที่ ถูก เวนคืนให้ โจทก์ ใน ราคา ตารางวา ละ 40,000 บาท โดย รับฟัง คำเบิกความ ของ ตัว โจทก์กับ นางสาว อนงค์นารถ สาตรร้าย ว่า ที่ดิน ซอย วัดโพธิ์แมน ซื้อ ขาย กัน ใน ราคา ตารางวา ละ 50,000-60,000 บาท และ รับฟัง คำเบิกความ ของนาย พีระพงศ์ วรรณเจริญ พยานโจทก์ ว่า นาย พีระพงศ์ เคย ติดต่อ ขอ ซื้อ ที่ดิน จาก โจทก์ ใน ราคา ตารางวา ละ 30,000 บาท แต่ โจทก์ ไม่ยอม ขายให้ นั้น จำเลย ไม่เห็น ด้วย เพราะ คำเบิกความ ของ พยานโจทก์ ดังกล่าวเป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆ โดย ปราศจาก หลักฐาน อ้างอิง อีก ทั้ง พยานโจทก์มิได้ เบิกความ ยืนยัน ว่า ใน เดือน ตุลาคม 2516 ซึ่ง เป็น ปี ที่ มีพระราชบัญญัติ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ มีผล ใช้ บังคับ และ ที่ดิน โจทก์ที่ ถูก เวนคืน มี สภาพ อย่างไร มี ราคา ตารางวา ละ เท่าใด การ ที่ ศาลอุทธรณ์กำหนด ค่าทดแทน ให้ โจทก์ ตารางวา ละ 40,000 บาท ตลอด ทั้ง แปลง เป็น การไม่ เหมาะสม นั้น เห็นว่า การ เวนคืน ที่ดิน ใน คดี นี้ แม้ จะ มีพระราชบัญญัติ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ ออก ใช้ บังคับ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2516แต่ ปรากฏ คำเบิกความ ของ นาย อุดม บุญกราน กับนายกมล ศรีภูริปรีชานนท์ พยาน จำเลย ว่า หลังจาก ประกาศ ใช้ พระราชบัญญัติ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2516 แล้ว จำเลย ไม่ได้ ดำเนินการ เวนคืน ให้ เสร็จสิ้น เพราะการ เวนคืน มี ปัญหา และ ได้ หยุด อยู่ ระยะ หนึ่ง ต่อมา ปี 2525 ได้ มี การประชุม ร่วมกัน ระหว่าง ผู้แทน กระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการ และ จำเลยใน ที่สุด ได้ ข้อ ยุติ ให้ กรมโยธาธิการ มอบ โครงการ ทั้งหมด ให้ จำเลยเป็น ผู้ดำเนินการ หลังจาก มี พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้ว จำเลย จึง ได้ ดำเนินการ เวนคืน จริงจังและ คณะกรรมการ กำหนดราคา และ จำนวนเงิน ค่าทดแทน ได้ กำหนดราคา ค่าทดแทนหลังจาก มี พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530โดย เริ่ม กำหนด ตั้งแต่ ปี 2531 และ คณะกรรมการ มี มติ ให้ ใช้ ราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรมปี 2531-2534 ของ สำนักงาน กลาง ประเมิน ราคา ทรัพย์สิน กรมที่ดินเป็น เกณฑ์ กำหนด ค่าทดแทน ดังนี้ ใน การ กำหนด ค่าทดแทน นั้น จำเลย จะ ต้องใช้ หลักเกณฑ์ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1) ถึง (5) การ ที่ จำเลย กำหนด ค่าทดแทน ให้ โจทก์ตาม ราคาประเมิน ทุนทรัพย์ เพื่อ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ใน การจดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม ของ กรมที่ดิน เพียง อย่างเดียว จึง ไม่ถูกต้องและ ไม่เป็นธรรม แก่ โจทก์ เกี่ยวกับ สภาพ ที่ดิน ของ โจทก์ นั้น โจทก์ และนางสาว อนงค์นารถ เบิกความ ว่า ซอย วัด โพธิ์แมน เป็น ถนน คอนกรีต กว้าง 8 เมตร จาก ปากซอย มา ถึง ที่ดิน โจทก์ เป็น ระยะ ทาง 1 กิโลเมตรที่ ปากซอย มี ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา ถนน สาธุประดิษฐ์ ตั้ง อยู่ ถัด จาก ปากซอย เข้า มา ประมาณ 50 เมตร เป็น ที่ ตั้ง ของ ฟลอร่าเฮ้าส์ จาก ปากซอย เข้า มา 100 เมตร มี โรงเรียน มัธยม วรมงคล และ โรงเรียน สาธุประดิษฐ์พาณิชยการ และ จาก ปากซอย เข้า มา 500 เมตร มี ฟอร์จูนคอนโดมิเนียม ตั้ง อยู่ ถัด เข้า มา อีก ประมาณ 800 เมตร เป็น ที่ ตั้ง ของ วัด โพธิ์แมน และ ถัด จาก วัด โพธิ์แมน ประมาณ 200 เมตร เป็น ที่ ตั้ง ที่ดิน ของ โจทก์ ซึ่ง อยู่ ติด ถนน ซอย ลักษณะ สี่เหลี่ยม กว้าง60 เมตร ลึก 95 เมตร เหมาะ สำหรับ สร้าง อาคาร ขนาด ใหญ่ เช่นอพา ร์ตเมนต์หรือ คอนโดมิเนียม ตาม สภาพ ของ ที่ดิน ดังกล่าว ถือได้ว่าที่ดิน ของ โจทก์ อยู่ ใน ย่า นที่ มี ความเจริญ สูง ส่วน เรื่อง ราคา ของที่ดิน โจทก์ มี นางสาว อนงค์นารถ เบิกความ ว่า ใน ช่วง ปี 2532ถึง ปี 2533 ที่ดิน ใน ซอย วัด โพธิ์แมน ราคา ซื้อ ขาย ตารางวา ละ 18,000ถึง 30,000 บาท ปัจจุบัน ราคา ตารางวา ละ 50,000 บาท ถึง 80,000 บาทนอกจาก นี้ ยัง มี นาย พีระพงศ์ เป็น พยาน เบิกความ ว่า เมื่อ ปี 2531นาย พีระพงศ์ เคย ติดต่อ ขอ ซื้อ ที่ดิน แปลง ตาม ฟ้อง จาก โจทก์ ใน ราคา ตารางวา ละ 30,000 บาท แต่ โจทก์ ไม่ยอม ขาย ให้ นั้น แม้ โจทก์ จะ ไม่มีพยานหลักฐาน อื่น ยืนยัน คำเบิกความ ของ พยาน ดังกล่าว ก็ ตาม แต่ โจทก์ก็ มี นาย ศักดา เปี่ยมสุข เป็น พยาน เบิกความ ว่า เมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2535 พยาน ซึ่ง ทำงาน ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน )ได้รับ มอบอำนาจ จาก ธนาคาร ให้ ไป จดทะเบียน รับ จำนอง ที่ดิน ใน ปี 2531ถึง 2534 กรมที่ดิน ประเมิน ราคา ที่ดิน ติด ถนน ซอย วัดโพธิ์แมน ใน ระยะ 40 เมตร ราคา ตารางวา ละ 15,000 บาท ต่อมา ได้ มี การ ประเมิน ใหม่เพิ่มขึ้น เป็น ตารางวา ละ 43,000 บาท โดย เริ่ม ใช้ เมื่อ วันที่ 1มกราคม 2535 และ ราคาประเมิน ต่ำกว่า ราคา ท้องตลาด ประมาณ20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง หาก จะ คิด เต็ม ราคา ท้องตลาด แล้ว จะ ตก ราคา ตารางวา ละประมาณ 53,750 บาท ดังนั้น ราคา ท้องตลาด ของ ที่ดิน ใน ซอย วัดโพธิ์แมน ควร จะ คิด ราคา ตารางวา ละ 40,000 บาท ที่ จำเลย กำหนดราคา ที่ดินที่ ถูก เวนคืน ให้ โจทก์ โดย กำหนด ให้ ส่วน ที่ ติด ซอย วัดโพธิ์แมน ระยะ 40 เมตร จำนวน 375 ตารางวา มี ราคา ตารางวา ละ 15,000 บาทส่วน ที่ดิน นอกเหนือ จาก นั้น อีก 533 ตารางวา กำหนด ตารางวา ละ 4,000บาท นั้น เห็นว่า ยัง ไม่เป็นธรรม แก่ โจทก์ และ ไม่ถูกต้อง เพราะ ที่ดินโจทก์ ที่ ถูก เวนคืน เป็น ที่ดิน แปลง เดียว กัน การ คิด ราคา ที่ดิน จะ ต้องคิด ราคา ที่ดิน ต่อ ตารางวา เท่ากัน ตลอด ทั้ง แปลง และ ราคา ตารางวา ละ15,000 บาท ที่ จำเลย กำหนด ให้ นั้น ต่ำ เกิน ไป ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนดให้ ที่ดิน โจทก์ ทั้ง แปลง ราคา ตารางวา ละ 40,000 บาท ตาม ศาลชั้นต้น นั้นเห็นว่า เป็น ราคา ที่ เหมาะสม แล้ว ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา คัดค้าน ไม่เห็น ด้วยกับ กรณี ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าที่ดิน สูง ขึ้น ตารางวา ละ 20,000 บาทโดย ศาลอุทธรณ์ รับฟัง คำเบิกความ ของ นาย พีระพงศ์ เพียง ผู้เดียว ที่ ว่า เดิม ถนน เข้า ซอย วัดโพธิ์แมน มี ความเจริญ มา แต่ ต้น เพราะ ตั้ง อยู่ ใจ กลางเมือง แม้ จะ อยู่ ใน ซอย ก็ มี ราคา สูง ได้ไม่ จำเป็น ต้อง มี ราคา สูงเฉพาะ แปลง ที่อยู่ ติด ถนน ใหญ่ ซึ่ง เป็น เพียง ความ คิดเห็น ของนาย พีระพงษ์ เพียง ผู้เดียว นั้น เห็นว่า แม้ การ เวนคืน จะ ทำให้ ที่ดิน ของ โจทก์ ส่วน ที่ เหลือ อยู่ ติด ถนน ที่ ตัด ใหม่ เป็น ทาง ยาว กว่า 80 เมตรแต่ ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ มี ความ ลึก เพียง ประมาณ 20 เมตร เท่านั้นและ แม้ บริเวณ ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ ถูก เวนคืน จะ ยัง ไม่มี ประกาศ ของกรุงเทพมหานคร กำหนด แนวเขต การ สร้าง อาคาร ห่าง ถนน ไว้ เป็น ระยะ เท่าใดก็ ตาม แต่ ตาม สภาพ ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ เหลือ อยู่ หาก จะ ทำการ ก่อสร้างอาคาร ก็ จะ ต้อง เว้น ระยะ จาก ขอบ ถนน เข้า มา ตาม ข้อ บัญญัติ ทั่วไป ของกรุงเทพมหานคร ทำให้ ความ ลึก ของ ที่ดิน โจทก์ ส่วน ที่ เหลือ จาก การ เวนคืนมี ไม่ถึง 20 เมตร ซึ่ง ไม่สามารถ ใช้ ก่อสร้าง อาคาร ขนาด ใหญ่ ได้ จึงไม่ เกิด ประโยชน์ แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ เท่าใด นัก ที่ จำเลย กำหนด ค่าความเจริญ ของ ที่ดิน โจทก์ ส่วน ที่ เหลือ จาก การ เวนคืน ใน ราคา ตารางวา ละ40,000 บาท จึง สูง เกิน ไป ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง กำหนด ค่าที่ดิน สูง ขึ้นให้ โจทก์ ตารางวา ละ 20,000 บาท เป็น การ เหมาะสม แล้ว ส่วน ที่ จำเลยฎีกา ว่า ข้อ นำสืบ ของ โจทก์ เกี่ยวกับ การ ขาด รายได้ จาก การ ใช้ ประโยชน์ของ ที่ดิน โจทก์ ที่ ถูก เวนคืน ว่า เป็น การ กล่าวอ้าง อย่าง เลื่อนลอยปราศจาก หลักฐาน จึง รับฟัง ไม่ได้ ว่าการ เวนคืน ทำให้ โจทก์ สูญเสียรายได้ นั้น เห็นว่า เป็น ข้อ ฎีกา ที่ ไม่เป็น สาระ แก่ คดีจึง ไม่ วินิจฉัย ให้
อนึ่ง ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ให้ ผู้มีสิทธิ ได้รับ เงิน ค่าทดแทนได้รับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา สูงสุด ของ ดอกเบี้ย เงินฝาก ประเภท ฝาก ประจำ ของธนาคาร ออมสิน ใน จำนวนเงิน ที่ เพิ่มขึ้น อัตรา ดอกเบี้ย สูงสุด ของ ดอกเบี้ย เงินฝาก ประเภท ฝาก ประจำ ของ ธนาคาร ออมสิน อาจ มี การ ขึ้น ลง ไม่ คงที่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ9 ต่อ ปี คงที่ จึง ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตรา สูงสุด ของดอกเบี้ย เงินฝาก ประจำ ของ ธนาคาร ออมสิน แต่ ไม่เกิน อัตรา ร้อยละ 9 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2534 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share