คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาฆ่าและลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายแล้วการกระทำอันเดียวกันนี้เองจำเลยไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอีกบทหนึ่งคงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายเพียงบทเดียวเท่านั้นปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาขึ้นวินิจฉัยเองได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ใช้ อาวุธ มีดปลายแหลม แทง นาย สินไชย หรือ สินชัย ผู้เสียหาย ถูก บริเวณ ท้อง โดย มี เจตนาฆ่า และ ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน จำเลย กระทำ ความผิด ไป ตลอด แล้วแต่ การกระทำ ไม่บรรลุผลเพราะ แพทย์ ทำการ รักษา พยาบาล ได้ ทันท่วงที ผู้เสียหาย จึง ไม่ถึงแก่ความตาย เพียงแต่ ได้รับ อันตรายสาหัส ขอให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 288, 289
จำเลย ให้การ รับ ว่า ได้ ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหาย
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295, 289(4) ประกอบ มาตรา 80 การกระทำ ของ จำเลยเป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4), 80 อันเป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ให้ จำคุก จำเลย ตลอด ชีวิต จำเลย ให้การรับสารภาพ ใน ชั้นจับกุม และ ให้การ รับ ว่า ได้ ทำร้าย ผู้เสียหาย ใน ชั้นพิจารณา เป็นประโยชน์ แก่ การ พิจารณา อยู่ บ้าง ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบ มาตรา 53 คง จำคุกไว้ 33 ปี 4 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ ด้วย มาตรา 80 ให้ จำคุก10 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุบรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78จำคุก 5 ปี ให้ยก ฟ้อง ความผิด ฐาน พยายามฆ่าผู้อื่น โดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า การกระทำ ของ จำเลย ไม่เป็น ความผิดฐาน พยายามฆ่าผู้อื่น โดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้นแต่เมื่อ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย กระทำ โดย มี เจตนาฆ่า และ ลงโทษจำเลย ฐาน พยายามฆ่า ผู้เสียหาย แล้ว การกระทำ อัน เดียว กัน นี้ เอง จำเลย จึงไม่มี ความผิด ฐาน ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหาย อีก บทหนึ่ง คง เป็น ความผิดฐาน พยายามฆ่า ผู้เสียหาย เพียง บท เดียว เท่านั้น ปัญหา ข้อ นี้เป็น ปัญหา อัน เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกา หยิบยก ขึ้นวินิจฉัย เอง ได้
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ใน ส่วน ที่ พิพากษาว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 อีก บทหนึ่งเสีย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3

Share