แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ได้ส่งกรรมการ 2 คน มาปฏิบัติงานให้โจทก์ตามข้อตกลงในสัญญามูลฐานการลงทุนร่วม แม้ในสัญญาดังกล่าวจะมิได้กำหนดว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการดังกล่าวคนละเท่าใด แต่เห็นได้ว่าการทำงานของกรรมการนั้นย่อมมีค่าตอบแทน กรรมการทั้งสองเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารและการตลาดมาทำงานเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ โดยเฉพาะ การที่โจทก์จ่ายให้กรรมการคนละ 7,500 บาท ต่อเดือน จึงเป็นจำนวนตามสมควร และถือเป็นค่าใช้จ่าย ในอันที่จะนำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ ส่วนค่าซื้อนำมันเตาจากบริษัท ซ. นั้น แม้โจทก์จะมีเพียงใบเสร็จรับเงินชั่วคราวมาแสดง แต่ก็มีชื่อและที่อยู่ของบริษัท ซ. ปรากฏอยู่ในใบเสร็จนั้น ทั้งมีลายมือชื่อของพนักงานบริษัทดังกล่าวลงชื่อเป็นผู้รับเงิน และระบุว่าได้ชำระเงินด้วยเช็ค ซึ่งเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์แล้วกรณีรายจ่ายนี้โจทก์พิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้ จึงเป็นรายจ่ายที่สามารถนำมาคำนวณกำไรสุทธิได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทโจทก์รวม 3 ปี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2520 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2520 วันที่ 1 มกราคม 2521ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2521 และวันที่ 1 มกราคม 2522 ถึงวันที่ 31ธันวาคม 2522 แล้วแจ้งว่าโจทก์ชำระภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ต้องชำระภาษีอากรเพิ่มเติม โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินของจำเลยที่ 2จึงได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยให้ลดภาษีและลดเงินเพิ่มรวมสามปี คงให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มสามปีรวมกันเป็นเงิน 460,734.19 บาท ซึ่งโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ในส่วนที่เป็นโทษกับโจทก์ซึ่งโจทก์ถือ ขอให้ศาลเพิ่มถอนการประเมินภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มกับให้งดเงินเพิ่มและเบี้ยปรับแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ให้การว่า จากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานพบว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมในปีพ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2522 พร้อมด้วยเงินเพิ่มโจทก์ไม่พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน จึงได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้ยืนตามความเห็นของเจ้าพนักงานประเมินในบางส่วน และเห็นชอบด้วยกับอุทธรณ์ของโจทก์ในบางส่วนโดยปลดภาษีให้อันเป็นคุณแก่โจทก์ ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลภาษีอาคารกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินของจำเลยที่ 1และที่ 2 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เฉพาะค่าจัดการบริหารงานร่วมที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2520, 2521 และ 2522 ปีละ 180,000 บาท รวมเป็นเงิน540,000 บาท ตามฟ้องข้อ 3.3 และค่าซื้อน้ำมันเตา จำนวน 26,820 บาทเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2520 ตามฟ้องข้อ 3.9 โดยให้โจทก์ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์และจำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า “สำหรับค่าจัดการบริหารงานร่วมตามฟ้องข้อ 3.3 นั้น ข้อเท็จจริงที่ไม่โต้เถียงกันฟังได้ว่าบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์โดยลงทุนร่วมกันตามสัญญามูลฐานการลงทุนร่วมตามเอกสารหมาย จ.6ซึ่งสัญญาดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 4 ว่าต่างฝ่ายต่างแต่งตั้งกรรมการบริหารของโจทก์ฝ่ายละ 4 คน ในจำนวน 4 คนนี้จะต้องมี 2 คนมาทำงานเต็มเวลา ซึ่งกรรมการที่บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย)จำกัด แต่งตั้งตามข้อตกลงดังกล่าวดังกล่าวได้มาปฏิบัติงานให้โจทก์เต็มเวลา 2 คนตั้งแต่ปี 2516 ตลอดมา ศาลฎีกาจึงเชื่อว่าสัญญาตามเอกสารหมาย จ.6 ได้ทำกันไว้จริง ตามสัญญาดังกล่าวบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ต้องส่งกรรมการมาทำงานดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิจึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางให้เพิกถอนการดังกล่าวคนละเท่าใดก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าการทำงานของกรรมการดังกล่าวย่อมต้องมีค่าตอบแทนเป็นธรรมดา การที่โจทก์จ่ายให้ปีละ 180,000 บาท สำหรับกรรมการ 2 คน คำนวณแล้วจะได้คนละ7,500 บาท ต่อเดือน ซึ่งเห็นว่าเป็นจำนวนตามสมควรและได้ความว่ากรรมการทั้ง 2 คนดังกล่าวเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารและการตลาด การที่มาทำงานให้โจทก์จึงเป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ และได้ความว่าโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนนี้ไปจริงโดยมีใบเสร็จรับเงินของบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย)จำกัด เป็นผู้รับเงิน ตามเอกสารหมาย จ.6 ชุดที่ 4 ดังนั้นเงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นค่าใช้จ่ายในอันที่จะนำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ ที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิให้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิจึงไม่ชอบการที่ศาลภาษีอากรกลางให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงชอบแล้ว
สำหรับค่าซื้อน้ำมันเตาตามฟ้องข้อ 3.9 นั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ใบเสร็จรับเงินตามเอกสารหมาย จ.16 แผ่นที่ 2 แม้เป็นใบเสร็จรับเงินชั่วคราวแต่ก็มีชื่อบริษัทซัมมิทออยล์ จำกัดและที่อยู่ปรากฏอยู่ในใบเสร็จนั้น ทั้งมีลายมือชื่อพนักงานของบริษัทดังกล่าวลงชื่อเป็นผู้รับเงินในนามของบริษัทดังกล่าวด้วยและในใบเสร็จรับเงินชั่วคราวดังกล่าวยังได้ระบุไว้ด้วยว่าได้ชำระโดยเช็คธนาคารมิตซุย จำกัด เลขที่ 06337/44 ซึ่งปรากฏว่าเช็คดังกล่าวได้มีการเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปแล้วตามเอกสารหมาย จ.16 แผ่นที่ 12 เห็นได้ว่ารายจ่ายค่าซื้อน้ำมันเตารายนี้โจทก์พิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้ คือบริษัทซัมมิทออยล์ จำกัดจึงเป็นรายจ่ายที่สามารถนำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงชอบแล้ว”
พิพากษายืน