คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่2ถึงที่4ทำนิติกรรมร่วมกับจำเลยที่1เพื่อช่วยให้จำเลยที่1ไม่ต้องถูกยึดหุ้นและที่ดินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์แม้จำเลยทั้งสี่ต่างเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของตนและสัญญาโอนหุ้นและที่ดินเป็นคนละฉบับก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้นถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามป.วิ.พ.มาตรา59วรรคหนึ่ง แม้คดีจะอยู่นอกเขตอำนาจศาลแพ่งโดยศาลแพ่งไม่เคยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ได้แต่ศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดีนี้ทั้งรับคำให้การจำเลยและสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5) เมื่อจำเลยที่1ได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากโจทก์และไม่ชำระภายในกำหนดถือว่าเป็นภาษีอากรค้างแม้จำเลยที่1จะอุทธรณ์การประเมินและฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินต่อศาลก็ตามการอุทธรณ์และการฟ้องก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดจึงตกอยู่ในฐานะลูกหนี้ของโจทก์ตามจำนวนที่แจ้งการประเมินไปเมื่อจำเลยที่1ได้โอนหุ้นและที่ดินไปหลังจากได้รับแจ้งการประเมินแล้วโดยไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเหลือพอจะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ถือว่าจำเลยที่1ได้ทำนิติกรรมโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบและการที่จำเลยทั้งสี่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันทั้งยังเป็นบริษัทในเครือเดียวกันย่อมจะต้องรู้ถึงการทำนิติกรรมอันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบด้วย โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรมมีอธิบดีเป็นผู้แทนและมีอำนาจฟ้องคดีแทนแม้นาย ส. และนาย พ. เจ้าพนักงานของโจทก์จะทราบเรื่องก่อนฟ้องเกิน1ปีแต่บุคคลทั้งสองก็ไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ผู้มีอำนาจฟ้องคดีจึงยังไม่เริ่มนับอายุความ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ โอนหุ้น ใน บริษัท จำเลย ที่ 4 ที่จำเลย ที่ 1 โอน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 3 รวม 600,000 หุ้นเพิกถอน การ โอนหุ้น ใน บริษัท เจ้าพระยาพืชไร่ จำกัด จำนวน 89,999หุ้น และ หุ้น ของ บริษัท เซ็นทรัลไรซ์ จำกัด จำนวน 150,000 หุ้น ที่ จำเลย ที่ 1 โอน ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 และ เพิกถอน การ โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1194 ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 4 กลับมา เป็นกรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม เดิม หาก จำเลย ทั้ง สี่ ไม่ปฏิบัติก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สี่
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน การ โอนหุ้น ของบริษัท ยูเอ็มซีอินเตอร์เนชั่นแนลคอร์ปอเรชั่น จำกัด ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 จำนวน 300,000 หุ้น และ ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ จำเลย ที่ 3 จำนวน 300,000 หุ้น ให้ กลับมา เป็น กรรมสิทธิ์ ของจำเลย ที่ 1 ให้ เพิกถอน การ โอนหุ้น ของ บริษัท เจ้าพระยาพืชไร่ จำกัด จำนวน 89,999 หุ้น และ หุ้น ของ บริษัท เซ็นทรัลไรซ์ จำกัด จำนวน 150,000 หุ้น ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 4 ให้ กลับมาเป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 1 และ ให้ เพิกถอน การ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด ที่ 1194 ตำบล บึงศาล อำเภอองครักษ์ จังหวัด นครนายก ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 4 ให้ กลับมา เป็น กรรมสิทธิ์ ของจำเลย ที่ 1
จำเลย ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สี่ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ประการ แรก ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่รวม มา ใน คดี เดียว กัน ได้ หรือไม่ และ ศาลอุทธรณ์ จะ ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ปัญหา ข้อ นี้ ก่อน หรือไม่ ใน ข้อ นี้ โจทก์ ฟ้อง ว่าจำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน กระทำ นิติกรรม โอน ขาย หุ้น และ ที่ดิน ระหว่าง กันโดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกหนี้ ค้างชำระ ค่าภาษีอากรแก่ โจทก์ การ โอนหุ้น และ ที่ดิน ดังกล่าว ทำให้ โจทก์ ไม่สามารถ ยึด หุ้นและ ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 มา ชำระหนี้ ค่าภาษีอากร แก่ โจทก์ อันเป็น การทำให้ โจทก์ เสียเปรียบ เท่ากับ เป็น การ กล่าวหา ว่า จำเลย ที่ 2ถึง จำเลย ที่ 4 กระทำ นิติกรรม ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 เพื่อ ช่วย ให้จำเลย ที่ 1 ไม่ต้อง ถูก ยึด หุ้น และ ที่ดิน มา ชำระหนี้ ค่าภาษีอากรแก่ โจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลย ทั้ง สี่ มี ส่วนได้เสีย ใน มูลเหตุ อันเป็นรากฐาน แห่ง คดี นี้ ร่วมกัน แม้ จำเลย ทั้ง สี่ ต่าง เป็น นิติบุคคลดำเนิน ธุรกิจ การค้า ตาม วัตถุประสงค์ ของ ตนเอง และ ทำ สัญญา โอนหุ้นและ ที่ดิน เป็น คน ละ ฉบับ ก็ เป็น เรื่อง หลักฐาน ทาง ทะเบียน เท่านั้นกรณี ดังกล่าว ถือได้ว่า จำเลย ทั้ง สี่ มี ส่วนได้เสีย ร่วมกัน ใน มูล ความแห่ง คดี ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 วรรคหนึ่งจึง ชอบ ที่ โจทก์ จะ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน มา ใน คดี เดียว กัน ได้ปัญหา นี้ แม้ ศาลชั้นต้น ไม่ได้ วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ ก็ มีอำนาจ วินิจฉัยได้ โดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ประการ ที่ สองมี ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 4 เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง อยู่ ใน จังหวัด นครนายก ต่อ ศาลแพ่ง โดย ศาลแพ่งไม่เคย มี คำสั่ง อนุญาต ให้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 4ได้ หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้ ศาลแพ่ง ได้ ประทับ รับฟ้อง คดี ไว้ แล้ว รวมทั้งรับคำ ให้การ จำเลย ทั้ง สี่ ตลอดจน สืบพยาน ทั้ง สอง ฝ่าย จน สิ้น กระบวน ความย่อม แสดง ให้ เห็นว่า ศาลแพ่ง ใช้ ดุลพินิจ ยอมรับ พิจารณา พิพากษาคดี นี้ แล้ว ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(3) ฎีกา ข้อ นี้ ของจำเลย ทั้ง สี่ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ประการ ที่ สามมี ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำ นิติกรรม ทั้ง รู้ อยู่ แล้ว ว่า จะ เป็น ทางทำให้ โจทก์ เสียเปรียบ และ จำเลย ที่ 2 ถึง จำเลย ที่ 4 ได้ รู้ เท่า ถึงข้อความ จริง ดังกล่าว หรือไม่ ใน ข้อ นี้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้แจ้ง การ ประเมิน ภาษี ไป ยัง จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2528โดย กำหนด ให้ จำเลย ที่ 1 นำ เงิน ภาษี ไป ชำระ ภายใน วันที่ 7 ตุลาคม 2528ปรากฏ ตาม หนังสือ แจ้ง การ ประเมิน เอกสาร หมาย จ. 5 ดังนั้น เมื่อ ถึง กำหนดชำระ แล้ว จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ ภาษี ตาม ที่ แจ้ง ถือได้ว่า เป็น ภาษีอากร ค้างซึ่ง อธิบดี กรมสรรพากร มีอำนาจ สั่ง ยึด หรือ อายัด รวมทั้ง ขายทอดตลาดทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 1 เพื่อ นำ มา ชำระ ภาษี ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 12ได้ แม้ ต่อมา จำเลย ที่ 1 จะ ได้ อุทธรณ์ การ ประเมิน และ ฟ้อง ขอให้ ถอนการ ประเมิน ต่อ ศาล ก็ ตาม การ อุทธรณ์ และ การ ฟ้อง ก็ ไม่เป็น การ ทุเลาการ เสีย ภาษี จึง ถือได้ว่า หลังจาก ครบ กำหนด เวลา ชำระ ภาษี แล้วจำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ ภาษี โจทก์ ตาม ที่ แจ้ง การ ประเมิน ไป และ จำเลย ที่ 1ตกอยู่ใน ฐานะ เป็น ลูกหนี้ ของ โจทก์ แล้ว ดังนั้น หลังจาก รับ แจ้งการ ประเมิน เพียง หนึ่ง ถึง สอง เดือน จำเลย ที่ 1 กลับ โอนหุ้น ของจำเลย ที่ 1 ที่ มี อยู่ ใน บริษัท จำเลย ที่ 4 ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 และจำเลย ที่ 3 บริษัท ละ 300,000 หุ้น เป็น มูลค่า บริษัท ละ 15,000,000บาท และ โอนหุ้น ของ จำเลย ที่ 1 ใน บริษัท เจ้าพระยาพืชไร จำกัด จำนวน 89,888 หุ้น มูลค่า 8,999,900 บาท และ โอนหุ้น ของ จำเลย ที่ 1ใน บริษัท เซ็นทรัลไรซ์ จำกัด จำนวน 150,000 หุ้น มูลค่า 15,000,000 บาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 กับ โอน ขาย ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 ใน ราคา 1,928,000 บาท โดย ที่ จำเลย ที่ 1 ไม่มี เงินหรือ ทรัพย์สิน เหลือ พอ ที่ จะ ชำระหนี้ ภาษี ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง ยัง อ้างว่าใน ปี 2528 กิจการ ของ จำเลย ที่ 1 ขาดทุน เป็น เงิน หลาย ร้อย ล้าน บาทเช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำ นิติกรรม การ โอนหุ้น และ ที่ดินดังกล่าว โดย รู้ อยู่ ว่า เป็น ทาง ทำให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ ภาษีเสียเปรียบ แล้ว ที่ จำเลย ทั้ง สี่ อ้างว่า ขณะ โอนหุ้น และ ที่ดิน จำเลยที่ 1 ยัง มี ทรัพย์สิน เหลือ อยู่ เป็น เงิน ประมาณ 80,000,000 บาท นั้นข้อ นำสืบ ของ จำเลย ทั้ง สี่ นอกจาก จะ เป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆ ตาม ตัวเลขใน บัญชีงบดุล โดย ไม่มี พยานหลักฐาน มา สืบ สนับสนุน ให้ เห็นว่า มี อะไรเหลือ บ้าง เป็น จำนวนเงิน เท่าใด แล้ว เมื่อ โจทก์ ไป ยึดทรัพย์ จำเลย ที่ 1แล้ว ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 มี เงิน ใน ธนาคาร เพียง 3,000 บาท เศษและ มี ทรัพย์สิน ใน สำนักงาน เพียง 20,000 บาท เศษ เท่านั้น ข้อ นำสืบหักล้าง ของ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ส่วน นี้ จึง รับฟัง ไม่ได้ สำหรับ ปัญหา ที่ ว่าจำเลย ที่ 2 ถึง จำเลย ที่ 4 ได้ รู้ เท่า ถึง ข้อความ จริง อัน ทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ด้วย หรือไม่ นั้น ข้อเท็จจริง ฟังได้ ตาม หนังสือ รับรองการ จดทะเบียน บริษัท ของ จำเลย ที่ 1 ถึง จำเลย ที่ 4 ตาม เอกสาร หมาย จ. 1ถึง จ. 4 ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง จำเลย ที่ 4 มี กรรมการ ร่วมกัน ดังนี้จำเลย ที่ 1 มี นาย สุวิช สุวรุจิพร นาย ประเสริฐ ตั้งตรงศักดิ์ นาย ปัญจะ งามเกริกโชติ นางสาวกัญญา ปฐมบูรณา นายชล อนุกูลกิจ นาย ไพบูลย์ รัตนาภรณ์ชัย ฯลฯ เป็น กรรมการ จำเลย ที่ 2 มี นาย สุวิช นาย ประเสริฐ นายไพบูลย์ นายเปล่งศักดิ์ ฯลฯ เป็น กรรมการ จำเลย ที่ 3 มี นาย สุวิช นายประเสริฐ นายชล นายเปล่งศักดิ์ ฯลฯ เป็น กรรมการ จำเลย ที่ 4 มี นาย สุวิช นายประเสริฐ นายปัญจะ นายชล นาย ไพบูลย์ นายเปล่งศักดิ์ นางสาวกัญญา ฯลฯ เป็น กรรมการ จำเลย ทั้ง สี่ มี สำนักงาน แห่ง ใหญ่ ตั้ง อยู่ ที่ ถนน ราชวงศ์ แขวง จักรวรรดิ์ เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพมหานคร ทั้งหมด โดยเฉพาะ จำเลย ที่ 3 และ จำเลย ที่ 4 มี สำนักงาน แห่ง ใหญ่ ตั้ง อยู่ เลขที่ 177ด้วยกัน จาก ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ดังกล่าว ทำให้ เห็น ได้ว่า จำเลย ที่ 1ถึง จำเลย ที่ 4 เป็น บริษัท ใน เครือ เดียว กัน ดังนั้น ความ เป็น อยู่และ กิจการ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น อย่างไร ผู้เป็น กรรมการ ของ จำเลย ที่ 2ถึง จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น กรรมการ ของ จำเลย ที่ 1 ด้วย ย่อม ต้องการทราบ ดี โดย ใน เรื่อง การ โอนหุ้น ปรากฏว่า นาย สุวิช กรรมการ ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ผู้สั่ง โอนหุ้น ของ จำเลย ที่ 1 ให้ แก่ จำเลย ที่ 2ถึง จำเลย ที่ 4 ก็ เป็น กรรมการ ของ จำเลย ที่ 2 ถึง จำเลย ที่ 4 ผู้รับโอนหุ้น ด้วย ส่วน การ โอน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 ให้ แก่ จำเลย ที่ 4ก็ ปรากฏว่า กรรมการ ผู้รับมอบอำนาจ ใน การ โอน ที่ดิน คือ นางสาว กัญญา ก็ เป็น กรรมการ ของ จำเลย ที่ 4 ผู้รับโอน ด้วย ส่วน ผู้รับมอบอำนาจใน การ รับโอน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 4 คือ นาย สุวิช ซึ่ง เป็น กรรมการ ของ จำเลย ที่ 1 ผู้โอน ด้วย เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ดังกล่าว ว่าจำเลย ที่ 1 กระทำการ โอนหุ้น และ ที่ดิน โดย รู้ อยู่ ว่า เป็น ทาง ให้โจทก์ เสียเปรียบ แล้ว จำเลย ที่ 2 ถึง จำเลย ที่ 4 จึง ต้อง ทราบข้อเท็จจริง เช่นเดียว กับ จำเลย ที่ 1 ว่าการ กระทำ ดังกล่าว ทำให้ โจทก์ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ เสียเปรียบ ด้วย ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ทั้ง สี่ ที่ ว่าจำเลย ที่ 1 โอน ขาย หุ้น และ ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ถึง จำเลย ที่ 4เพื่อ นำ เงิน ไป ใช้ หนี้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ถึง จำเลย ที่ 4 นั้นเมื่อ พิเคราะห์ จาก ข้อความ ใน หนังสือ สั่ง โอนหุ้น เอกสาร หมาย จ. 19 แล้วเห็น ได้ว่า ข้อความ ใน เอกสาร ดังกล่าว ที่ ให้ อำนาจ เจ้าหน้าที่ ของจำเลย ที่ 1 สามารถ เลือก โอนหุ้น ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 หรือ จำเลย ที่ 3ก็ ได้ จึง ไม่มี ลักษณะ เป็น การ โอนหุ้น เพื่อ ชำระหนี้ แต่ เป็น เรื่อง ที่นาย สุวิช กรรมการ ของ จำเลย ที่ 1 สั่งการ ให้ โอนหุ้น ของ จำเลย ที่ 1ที่ มี อยู่ ใน บริษัท อื่น ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ถึง จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็นบริษัท ใน เครือ เพื่อ วัตถุประสงค์ ให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ เสียเปรียบทั้ง มิได้ นำสืบ และ แสดง หลักฐาน แห่ง การ เป็น หนี้ แต่อย่างใด จึง ฟังไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 โอน ขาย หุ้น ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง จำเลย ที่ 4 เพื่อเป็น การ ชำระหนี้
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ประการ ที่ สี่มี ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ จำเลย ทั้ง สี่ ฎีกา ว่า นาย สัณห์ หาดอ้าน และ นาย พงษ์ศักดิ์ เด่นเพชรกุล เจ้าพนักงาน สรรพากร เขต สัมพันธ์วงศ์ ซึ่ง เป็น ตัวแทน ของ โจทก์ ได้ ตรวจค้น บริษัท จำเลย ที่ 1พบ เอกสาร และ ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 โอน ขาย หุ้น และ ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ถึง จำเลย ที่ 4 ตั้งแต่ เดือน มกราคม 2530 แต่ โจทก์ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2532 คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 นั้น ใน ข้อ นี้ โจทก์มี ฐานะ เป็น นิติบุคคล ประเภท กรม ซึ่ง มี อธิบดี เป็น ผู้แทน รับผิดชอบงาน ราชการ และ เป็น ผู้มีอำนาจ ฟ้องคดี แทน โจทก์ แม้ นาย สัณห์ และ นาย พงษ์ศักดิ์ เจ้าพนักงาน ของ โจทก์ จะ ทราบ เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1โอน ขาย หุ้น และ ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4ใน เดือน มกราคม 2530 แต่ บุคคล ทั้ง สอง ก็ ไม่ใช่ ผู้แทน โจทก์ ผู้ มีอำนาจฟ้อง คดี จึง ยัง ไม่ เริ่ม นับ อายุความ และ ข้อเท็จจริง ใน คดี นี้ปรากฏ ตาม รายงาน เอกสาร หมาย จ. 14 ว่า อธิบดี ของ โจทก์ ทราบ เหตุ ที่ จะขอให้ เพิกถอน การ โอน ใน วันที่ 28 มีนาคม 2531 โจทก์ ฟ้องคดี นี้ วันที่16 มีนาคม 2532 ไม่เกิน 1 ปี คดี โจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ ”
พิพากษายืน

Share