คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3587/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยคดีว่าพฤติการณ์ของจำเลยร่วมที่ถูกอ.ภรรยาข.ครูร่วมโรงเรียนใช้ถุงกระดาษใส่ผ้าปาในบริเวรโรงเรียนและถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้กับข.นั้นคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของและผู้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงเรียนเลิกจ้างจำเลยร่วมโดยขัดต่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123หรือไม่อันเป็นการตกลงกันขอให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นเพียงว่าคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมโดยขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123ได้หรือไม่เป็นข้อแพ้ชนะเท่านั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าขณะเลิกจ้างจำเลยร่วมเป็นกรรมการสหภาพแรงงานและคำชี้ขาดยังมีผลใช้บังคับอยู่จำเลยร่วมจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123และแม้กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นของบทกฎหมายดังกล่าวเหตุเลิกจ้างจำเลยร่วมก็มีเหตุอันสมควรอื่นที่จะเลิกจ้างได้มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมจึงเป็นการวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากข้อตกลงของคู่ความ. ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525มาตรา78คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานไม่มีอำนาจออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเลิกจ้างครูผู้เป็นลูกจ้างได้ที่คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานได้ประชุมมีมติว่าหากเจ้าของโรงเรียนเห็นว่าพฤติการณ์ของครูทั้งสองไม่เหมาะสมที่จะให้เป็นครูของโรงเรียนต่อไปก็เป็นสิทธิของเจ้าของโรงเรียนที่จะเลิกจ้างได้เป็นเพียงข้อเสนอแนะไม่ใช่คำสั่งอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลยเช่นนี้ศาลไม่อาจพิจารณาชี้ขาดตามที่คู่ความได้ตกลงกันขอให้วินิจฉัยจึงจำต้องพิจารณาและพิพากษาต่อไปตามรูปคดี.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ โรงเรียน ดุสิตพาณิชยการ จำเลย ที่1 ถึง ที่ 13 เป็น กรรมการ ใน คณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์ เมื่อ วันที่30 เมษายน 2528 โจทก์ ได้ เลิกจ้าง นางสาว สุนี เมฆมงคลชัย ครู ในโรงเรียน ดุสิตพาณิชยการ เนื่องจาก ได้ ประพฤติ ตน ใน ทำนอง ชู้สาว กับนาย ขวัญชัย มหาคีตะ ครู ใน โรงเรียน เดียวกัน จน ถูก ภรรยา ของ นายขวัญชัย ต่อว่า และ ทำร้าย ร่างกาย ใน บริเวณ โรงเรียน ต่อหน้า นักเรียนและ ครู คนอื่น เป็น เหตุ ให้ เสื่อมเสีย แก่ ชื่อเสียง ของ โรงเรียนและ เป็น การ ฝ่าฝืน ระเบียบ ของ กระทรวง ศึกษาธิการ ต่อมา จำเลย ที่1 ถึง ที่ 13 ได้ มี คำสั่ง ให้ โจทก์ รับ นางสาว สุนี กลับ เข้า ทำงานหรือ จ่าย ค่าเสียหาย โดย อ้าง ว่า การ เลิกจ้าง นางสาว สุนี เป็น การกระทำ อัน ไม่ เป็นธรรม ซึ่ง เป็น คำสั่ง ที่ ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมายเนื่องจาก มิได้ วินิจฉัย ว่า นางสาว สุนี เป็น สมาชิก สหภาพแรงงาน ซึ่งได้ เกี่ยวข้อง กับ ข้อเรียกร้อง หรือไม่ คง วินิจฉัย เพียง ว่า โจทก์เลิกจ้าง นางสาว สุนี ใน ขณะ ที่ ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง หรือคำวินิจฉัย ชี้ขาด มี ผล บังคับ ซึ่ง ความจริง นางสาว สุนี ไม่ ได้เป็น ผู้ เกี่ยวข้อง กับ ข้อเรียกร้อง แต่ ประการ ใด ค่าเสียหาย ที่กำหนด ก็ ไม่ ชอบ ด้วย หลักเกณฑ์ ตาม กฎหมาย และ มี จำนวน สูง เกินไปขอ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ที่ 39/2528 ลง วันที่ 16 สิงหาคม 2528 ของจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13 ให้การ ว่า นางสาว สุนี เมฆมงคลชัย เป็นกรรมการ สหภาพแรงงาน ครู โรงเรียน เอกชน แห่ง ประเทศไทย นางสาว สุนีได้ ประพฤติ ผิด จรรยา มารยาท วินัย ของ ครู ขณะ โจทก์ เลิกจ้าง นางสาวสุนี นั้น ยัง อยู่ ใน ระหว่าง การ วินิจฉัย ชี้ขาด ของ คณะกรรมการแรงงาน สัมพันธ์ และ รัฐมนตรี ว่าการ กระทรวง มหาดไทย ตาม ที่สหภาพแรงงาน ครู โรงเรียน เอกชน แห่ง ประเทศไทย ได้ ยื่น ข้อเรียกร้องต่อ โจทก์ ซึ่ง คำวินิจฉัย ยัง มี ผล ใช้ บังคับ นางสาว สุนี จึง ได้รับ ความ คุ้มครอง มิให้ ถูก เลิกจ้าง จำนวน ค่าเสียหาย ชอบ แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ก่อน สืบพยาน โจทก์ นางสาว สุนี เมฆมงคลชัย ร้อง ขอ เป็น จำเลยร่วมศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง อนุญาต และ ขอ ให้ ถือ เอา คำให้การ ของ จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 13 เป็น คำให้การ ของ จำเลยร่วม ด้วย ใน วันนัด สืบพยานจำเลย และ จำเลยร่วม โจทก์ แถลง ว่า โจทก์ ไม่ ทราบ ว่า จำเลยร่วม กับนาย ขวัญชัย เป็น ชู้กัน จริง หรือไม่ เหตุ ที่ โจทก์ เลิกจ้างจำเลยร่วม เพราะ นาง อรอนงค์ มหาคีตะ ภรรยา นาย ขวัญชัย ใช้ ถุงกระดาษใส่ ผ้า ปา จำเลยร่วม ใน บริเวณ โรงเรียน และ กล่าวหา ว่า เป็น ชู้ กับสามี โจทก์ จึง ขออนุญาต เลิกจ้าง จำเลยร่วม ต่อ คณะกรรมการ คุ้มครองการ ทำงาน เมื่อ ได้ รับอนุญาต แล้ว โจทก์ จึง เลิกจ้าง จำเลยร่วมและ จำเลย กับ จำเลยร่วม แถลงว่า นาง อรอนงค์ ได้ ใช้ ถุงกระดาษ ปาจำเลยร่วม และ กล่าวหา ต่อ ผู้อำนวยการ โรงเรียน ดุสิตพาณิชยการ และโจทก์ ได้ เลิกจ้าง จำเลยร่วม โดย ได้ รับอนุญาต จาก คณะกรรมการคุ้มครอง การ ทำงาน จริง โจทก์ จำเลย กับ จำเลยร่วม จึง ขอ ให้ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ตาม พฤติการณ์ ที่ นาง อรอนงค์ กระทำ การและ กล่าวหา จำเลยร่วม ดังกล่าว นั้น คณะกรรมการ คุ้มครอง การ ทำงาน มีอำนาจ อนุญาต ให้ โจทก์ เลิกจ้าง จำเลยร่วม โดย ขัด ต่อ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 หรือไม่ จึง ให้ งด สืบพยาน จำเลยและ จำเลยร่วม
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ เพิกถอน คำสั่ง ที่ 39/2528 ลง วันที่ 16สิงหาคม 2528 ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13 และ จำเลยร่วม อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนกคดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13 อุทธรณ์ว่า การ ที่ โจทก์ เลิกจ้าง จำเลยร่วม นี้ กรณี ไม่ ต้อง ด้วย มาตรา123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ มิใช่ เป็น กรณีร้ายแรง การ เลิกจ้าง ของ โจทก์ จึง ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย พิเคราะห์แล้ว ได้ ความ ว่า เมื่อ สืบพยาน โจทก์ เสร็จ แล้ว ศาลแรงงานกลาง ได้สอบ ข้อเท็จจริง จาก คู่ความ แล้ว คู่ความ ขอ ให้ ศาล วินิจฉัย คดี ว่าพฤติการณ์ ของ จำเลยร่วม ที่ ถูก นาง อรอนงค์ กระทำ ดังกล่าว และ ถูกกล่าวหา นั้น คณะกรรมการ คุ้มครอง การ ทำงาน มี อำนาจ อนุญาต ให้ โจทก์เลิกจ้าง จำเลยร่วม โดย ขัด ต่อ บทบัญญัติ ใน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 หรือไม่ จึง เห็น ได้ ว่า คู่ความต่าง ตกลง ขอ ให้ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ประเด็น เพียง ว่า คณะกรรมการคุ้มครอง การ ทำงาน ตาม พระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีอำนาจ อนุญาต ให้ โจทก์ เลิกจ้าง จำเลยร่วม โดย ขัด ต่อ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ได้ หรือ ไม่ เป็น ข้อ แพ้ ชนะเท่านั้น ดังนั้น ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ขณะ เลิกจ้างจำเลยร่วม เป็น กรรมการ สหภาพแรงงาน และ คำชี้ขาด ยัง มี ผล ใช้ บังคับอยู่ จำเลยร่วม จึง ได้รับ ความ คุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 และ แม้ กรณี ไม่ ต้อง ด้วย ข้อยกเว้น ของ บท กฎหมาย ดังกล่าว เหตุ เลิกจ้าง จำเลยร่วม ก็ มี เหตุ อันสมควร อื่น ที่ จะ เลิกจ้าง ได้ มิใช่ เป็น การ กระทำ อัน ไม่ เป็นธรรม กรณี จึง เป็น การ วินิจฉัย ที่ นอกเหนือ ไป จาก ข้อตกลง ของ คู่ความดังกล่าว มา แล้ว ปัญหา ว่า คณะกรรมการ คุ้มครอง การ ทำงาน ตามพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มี อำนาจ อนุญาต ให้ โจทก์เลิกจ้าง จำเลยร่วม โดย ขัด ต่อ พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 ได้ หรือ ไม่ ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 78 คณะกรรมการ คุ้มครอง การ ทำงาน ไม่ มีอำนาจ ออก คำสั่ง อนุญาต หรือ ไม่ อนุญาต ให้ ผู้รับ ใบอนุญาต ให้จัดตั้ง โรงเรียน เลิกจ้าง ครู ผู้ เป็น ลูกจ้าง ได้ ซึ่ง คณะกรรมการคุ้มครอง การ ทำงาน ก็ คง ได้ ทราบ ถึง อำนาจ ของ ตน ที่ มี อยู่ ตามกฎหมาย นี้ แล้ว เลขาธิการ คณะกรรมการ การศึกษา เอกชน จึง ได้ มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ศธ 1001/10333 ลง วันที่ 28 ธันวาคม 2527 เอกสารหมาย จ.1 แจ้ง มติ คณะกรรมการ คุ้มครอง การ ทำงาน ว่า คณะกรรมการคุ้มครอง การ ทำงาน ได้ ประชุม มี มติ ว่า หาก เจ้าของ โรงเรียน เห็นว่า พฤติการณ์ ของ ครู ทั้ง สอง (คือ จำเลยร่วม กับ นาย ขวัญชัย มหาคีตะ)ไม่ เหมาะสม ที่ จะ ให้ เป็น ครู ของ โรงเรียน ต่อไป ก็ เป็น สิทธิของ เจ้าของ โรงเรียน ที่ จะ เลิกจ้าง ได้ ซึ่ง เป็น ข้อเสนอแนะ ดังนั้น คณะกรรมการ คุ้มครอง การ ทำงาน จึง หา ได้ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ โจทก์เลิกจ้าง จำเลย แต่ ประการ ใด ไม่ เมื่อ กรณี เป็น เช่นนี้ ศาล ก็ ไม่อาจ พิจารณา ชี้ขาด ตาม ที่ คู่ความ ได้ ตกลง กัน ขอ ให้ วินิจฉัย ในประเด็น ที่ ว่า คณะกรรมการ คุ้มครอง การ ทำงาน มี อำนาจ อนุญาต สั่งให้ โจทก์ เลิกจ้าง จำเลยร่วม โดย ขัด ต่อ พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ได้ หรือ ไม่ นั้น ได้ จึง จำต้อง พิจารณา และพิพากษา ต่อไป ตาม รูปคดี
พิพากษา ยก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ให้ ศาลแรงงานกลาง พิจารณา ต่อไปตาม นัย ดังกล่าว แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี

Share