คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ที่พิพาทซึ่งจำเลยครอบครองอยู่เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามน.ส.3ก.ที่โจทก์มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373ว่าโจทก์ซึ่งมีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติดังกล่าวรวมถึงที่ดินที่มีน.ส.3หรือน.ส.3ก.ด้วย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร รื้อถอน สิ่งปลูกสร้างออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ให้ โจทก์ ทำการ รื้อถอนแทน โดย จำเลย เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ใช้ ค่าขาดประโยชน์จาก การ ใช้ ที่ดิน นับแต่ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 ถึง วันฟ้องเป็น เงิน 4,000 บาท และ เดือน ละ 500 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่าจำเลย และ บริวาร จะ ออก ไป จาก ที่ดิน โจทก์
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ ขอ ออก น.ส.3 ก.โดย ไม่ชอบ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า ปัญหา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ครอบครอง ที่พิพาทและ จำเลย ครอบครอง ที่พิพาท โดย อาศัย สิทธิ ของ โจทก์ หรือไม่เนื่องจาก ที่พิพาท เป็น ที่ดิน มือเปล่า จำเลย ครอบครอง อยู่ จำเลยได้รับ ประโยชน์ จาก ข้อสันนิษฐาน ของ กฎหมาย ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1367, 1369 ภาระ การ พิสูจน์ ตก แก่ โจทก์ เมื่อ โจทก์ไม่สามารถ นำสืบ ให้ เห็น จริง ว่า จำเลย อาศัย โจทก์ โจทก์ จึง ต้อง แพ้ คดีพิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์ เฉพาะ ใน ข้อกฎหมาย ที่ ว่าใน ประเด็น ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ภาระ การ พิสูจน์ ตก แก่ โจทก์ หรือ จำเลย
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ จำเลย และ บริวาร รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออก ไป จาก ที่พิพาท ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์เดือน ละ 200 บาท นับแต่ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ออก ไป จาก ที่ดิน โจทก์ ส่วน คำขอ ของ โจทก์ ที่ ว่า หาก จำเลยไม่ยอม รื้อถอน ก็ ให้ โจทก์ จัดการ เอง นั้น เนื่องจาก ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้ บัญญัติ วิธี ปฏิบัติ ไว้ แล้วศาล จึง ไม่อาจ พิพากษา ให้ ตาม คำขอ ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ ได้
จำเลย ฎีกา ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย เฉพาะ ตาม ฎีกา ข้อ 2.1ซึ่ง เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษาของ ศาลล่าง ทั้ง สอง ว่า ที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 725 หมู่ ที่ 2ตำบล บางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัด พังงา เนื้อที่ ประมาณ 4 ไร่ 2 งาน 87 ตารางวา มี ชื่อ โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่พิพาทเป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าว เป็น เนื้อที่ ประมาณ90 ตารางเมตร ซึ่ง จำเลย ครอบครอง อยู่ มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า โจทก์ หรือ จำเลย เป็น ฝ่าย ได้รับ ประโยชน์ จากข้อสันนิษฐาน ของ กฎหมาย ใน ข้อ นี้ จำเลย ฎีกา ว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373บัญญัติ ว่า “ถ้า ทรัพย์สิน เป็น อสังหาริมทรัพย์ ที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ใน ทะเบียน ที่ดิน ท่าน ให้ สันนิษฐาน ไว้ ก่อน ว่า บุคคล ผู้มีชื่อใน ทะเบียน เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ” เมื่อ โจทก์ มี ชื่อ ใน ทะเบียนน.ส.3 ก. โจทก์ จึง ได้รับ ประโยชน์ จาก ข้อสันนิษฐาน ของ กฎหมายดังกล่าว นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ กรณี ที่ มี เพียง หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ จะ นำ บท สันนิษฐาน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1373 มา ใช้ บังคับ ไม่ได้ เพราะ คำ ว่า ที่ดิน ตาม มาตรา 1373เป็น เรื่อง ของ ที่ดิน ที่ มี กรรมสิทธิ์ กล่าว คือ ต้อง เป็น ที่ดินที่ มี โฉนด โฉนด แผนที่ ตรา จอง หรือ ตรา จอง ที่ ระบุ ว่า ได้ ทำประโยชน์ แล้วเท่านั้น แต่ ไม่รวม ถึง ที่ดิน ที่ มี น.ส. 3 หรือ น.ส.3 ก. เห็นว่าที่ดิน ตาม น.ส. 3 หรือ น.ส.3 ก. เป็น ที่ดิน ที่ ได้ จด ไว้ ใน ทะเบียนที่ดิน ของ สำนักงาน ที่ดิน อำเภอ จึง เป็น อสังหาริมทรัพย์ ที่ ได้ จด ไว้ ในทะเบียน ที่ดิน ดังนั้น ข้อสันนิษฐาน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1373 ที่ ว่า อสังหาริมทรัพย์ ที่ ได้ จด ไว้ ใน ทะเบียน ที่ดิน นั้นให้ สันนิษฐาน ไว้ ก่อน ว่า บุคคล ผู้มีชื่อ ใน ทะเบียน เป็น ผู้มีสิทธิครอบครอง ย่อม รวม ถึง ที่ดิน ที่ มี น.ส. 3 หรือ น.ส.3 ก. ด้วย ใน เมื่อที่พิพาท เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. ที่ ได้ จดทะเบียนต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ โดย มี โจทก์ เป็น ผู้มีชื่อ ใน ทะเบียน จึง ต้องด้วยข้อสันนิษฐาน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ว่า โจทก์ซึ่ง มี ชื่อ ใน ทะเบียน เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3วินิจฉัย ว่า จำเลย มี ภาระ ต้อง พิสูจน์ นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share