คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การกระทำอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา160วรรคสองนั้นต้องเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา78จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตายแต่ตามคำฟ้องได้ความแต่เพียงว่าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อลากจูงรถพ่วงไปตามถนนด้วยความประมาทชนถูกรถจักรยานยนต์ที่ ง. ขับอยู่ล้มลงเป็นเหตุให้ ง. และ ป. ถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีโดยมิได้ให้การช่วยเหลือตามสมควรและไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีจำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา160วรรคแรกเท่านั้นและปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามป.วิ.อ.มาตรา195วรรคสองประกอบมาตรา225

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ขับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ลาก จูง รถพ่วงไป ตาม ถนน มุกดาหาร-กุฉินารายณ์ มุ่งหน้า ไป ทาง อำเภอ กุฉินารายณ์ ด้วย ความประมาท ด้วย ความ เร็ว สูง และ ขับ แซง ขึ้น ไป ข้างหน้า ทางด้านขวา มือ ของ นาง งาม แต่ แซง ไม่ พ้น รถ ที่ จำเลย ขับ เฉี่ยว ชน รถ ที่นา ง งาม ขับ อยู่ ล้ม ลง เป็นเหตุ ให้ ล้อรถ ที่ จำเลย ขับ ทับ ศีรษะ แขน ขา ของ นาง งาม และ นาง ประนิ จน ถึงแก่ความตาย รถจักรยานยนต์ ที่นา ง งาม ขับ ได้รับ ความเสียหาย จาก นั้น จำเลย ได้ หลบหนี โดย มิได้ ให้การ ช่วยเหลือ ตาม สมควร และ ไม่แสดง ตัว และ แจ้งเหตุ ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ใกล้เคียง ทันที ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291, 91 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4),78, 160 วรรคสอง พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 111, 161
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก มาตรา 111, 161 การกระทำของ จำเลย เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่ง เป็น บทหนัก จำคุก 4 ปี กระทง หนึ่ง และ มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก มาตรา 78, 160 วรรคสอง จำคุก 2 เดือนอีก กระทง หนึ่ง รวม จำคุก 4 ปี 2 เดือน จำเลย ให้การรับสารภาพเป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 2 ปี 1 เดือน
จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ รอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลชั้นต้นอนุญาต ให้ จำเลย ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นว่า จำเลย อายุ 40 ปี มี ภริยา แล้วกับ มี บุตรสาว 3 คน อายุ 13 ปี 12 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ บุตรสาว2 คน แรก เรียน อยู่ ชั้น มัธยม ศึกษา ตอนต้น ปี ที่ 1 และ ชั้น ประถม ปี ที่ 4ตามลำดับ ภริยา จำเลย เป็น แม่ บ้าน ไม่ได้ ประกอบ อาชีพ จำเลย เป็นหัวหน้า ครอบครัว หา รายได้ เลี้ยง คน ใน ครอบครัว ไม่มี ประวัติใน การกระทำ ความผิด ทางอาญา มา ก่อน หลัง เกิดเหตุ นาย ธวัชชัย สุพันธุ์ สามี นาง ประนิ นาย ประนอม เสนาพันธ์ สามี นาง งาม แถลงว่า ได้รับ ชดใช้ ค่าเสียหาย (เป็น เงิน 75,000 บาท และ 97,000 บาทตามลำดับ ) เป็น ที่ พอใจ แล้ว ขอให้ ลงโทษ จำเลย สถาน เบา และ รอการลงโทษให้ ด้วย นับ ได้ว่า เป็นเหตุ อันควร ปรานี แก่ จำเลย ซึ่ง หาก ศาลให้ โอกาส จำเลย โดย รอการลงโทษ ไว้ เชื่อ ว่า จำเลย จะ กลับ ตัวเป็น คนดี ได้ คดี นี้ ศาล ลงโทษ จำคุก จำเลย กระทง ละ ไม่เกิน สอง ปีและ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน จึง รอการลงโทษ แก่จำเลย ได้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษาลงโทษ จำคุก จำเลย โดย ไม่รอการลงโทษ นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ศาลฎีกาฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น แต่ เพื่อ ให้ จำเลย หลา บจำ จึง ลงโทษ ปรับ จำเลย ด้วย
อนึ่ง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด และ ลงโทษจำเลย ตาม มาตรา 160 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522มา นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ไม่ชอบ เพราะ ข้อเท็จจริง ตาม คำฟ้อง ประกอบคำรับสารภาพ ของ จำเลย รับฟัง ได้ เพียง ว่า จำเลย ขับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อลาก จูง รถพ่วง ไป ตาม ถนน มุกดาหาร-กุฉินารายณ์ ด้วย ความประมาท ชน ถูก รถจักรยานยนต์ ที่นา ง งาม ขับ อยู่ ล้ม ลง เป็นเหตุ ให้ นาง งาม และ นาง ประนิ ถึงแก่ความตาย รถจักรยานยนต์ ที่นา ง งาม ขับ ได้รับ ความเสียหาย หลัง เกิดเหตุ แล้ว จำเลย หลบหนี โดย มิได้ ให้การช่วยเหลือ ตาม สมควร และ ไม่แสดง ตัว และ แจ้งเหตุ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ใกล้เคียง ทันที อันเป็น การ ไม่ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ มาตรา 78 จำเลยจึง มี ความผิด ตาม มาตรา 160 วรรคแรก เท่านั้น ส่วน การกระทำ อันจะ เป็น ความผิด ตาม บทบัญญัติ มาตรา 160 วรรคสอง นั้น จะ ต้อง เป็น การไม่ปฏิบัติ ตาม มาตรา 78 เป็นเหตุ ให้ ผู้อื่น ได้รับ อันตรายสาหัส หรือ ตายแต่ คำฟ้อง ของ โจทก์ มิได้ บรรยาย ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ดังนั้นข้อเท็จจริง ที่ ศาล ต้อง รับฟัง ตาม คำฟ้อง ประกอบ คำรับสารภาพ ของจำเลย จึง ฟัง ไม่ได้ ว่าการ ที่ จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม มาตรา 78 นั้นเป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ทั้ง สอง ถึงแก่ความตาย ฉะนั้น จำเลย จึง ไม่มี ความผิดตาม มาตรา 160 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522ปัญหา ข้อ นี้ เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย แม้ คู่ความ มิได้ ยกขึ้น ฎีกาศาลฎีกา ก็ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้เอง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ ด้วย มาตรา 225”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ความผิด ฐาน ไม่หยุด รถ ช่วยเหลือ และ แจ้งเหตุต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ใกล้เคียง ทันที จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 วรรคแรก จำคุก1 เดือน และ ปรับ 2,000 บาท ส่วน ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ให้ ลงโทษ ปรับ จำเลย อีก สถาน หนึ่ง เป็น เงิน 20,000 บาทรวมกับ โทษ จำคุก 4 ปี ใน ความผิด ตาม มาตรา 291 ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1 แล้ว เป็น จำคุก 4 ปี 1 เดือน และ ปรับ 22,000 บาทลดโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้ กึ่งหนึ่ง แล้ว คง จำคุก2 ปี 15 วัน และ ปรับ 11,000 บาท โทษ จำคุก แต่ละ กระทง ให้ รอ การลงโทษ ไว้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มี กำหนด 4 ปี ค่าปรับหาก ไม่ชำระ ให้ บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share