คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1แสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาทอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้นหาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจากน.ส.3ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์ที่3และท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่งกรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท.ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่1และที่2เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่3ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องนอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ.ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่3เท่านั้นมิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่1และที่2ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน ที่โจทก์ที่1และที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่3ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคนคดีจึงไม่ขาดอายุความนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่3ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่าโจทก์ที่3ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่1และที่2ยังฎีกาอีกว่า ท. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ที่1และที่2จึงต้องห้ามฎีกา ที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่3ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่โจทก์ที่3และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่1และที่2ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่พ.ศ.2519แล้วโจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองนั้นปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง ขอให้ ถอน ชื่อ นางสาว ทองดำ ออกจาก หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ทะเบียน เลขที่ 243 เลขที่ ดิน 44ตำบล บางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี พิพากษา ว่า พินัยกรรม ของ นางสาว ทองดำ ใช้ บังคับ ไม่ได้ และ ที่ดินพิพาท เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาง จูม
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า ที่ดินพิพาท มิใช่ ทรัพย์มรดก แต่ เป็น ของ นางสาว ทองดำ ซึ่ง ก่นสร้าง มา ด้วย ตนเอง และ ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ ตลอดมา โจทก์ ทั้ง สาม ไม่เคย เกี่ยวข้องขณะที่ นางสาว ทองดำ ขอ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )ไม่มี ผู้ใด คัดค้าน พินัยกรรม ใช้ บังคับ ได้ โดย สมบูรณ์ คดี โจทก์ ทั้ง สามขาดอายุความ มรดก ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ทรัพย์มรดกของ นาง จูม นางสาว ทองดำ ครอบครองแทน ทายาท ทุกคน พินัยกรรม ของ นางสาว ทองดำ ใช้ บังคับ ได้ เฉพาะ ส่วน ที่ นางสาว ทองดำ จะ พึง ได้รับ ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม คนหนึ่ง ของ นาง จูม ค่าฤชาธรรมเนียม ให้ เป็น พับ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ยกฟ้อง โจทก์ ที่ 1 และที่ 2 ยก คำขอ โจทก์ ที่ 3 ที่ ขอให้ พิพากษา ว่า พินัยกรรม ของนางสาว ทองดำ ใช้ บังคับ ไม่ได้ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นอุทธรณ์ ให้ เป็น พับ
โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า โจทก์ ที่ 3 และนางสาว ทองดำ มีสิทธิ ใน ที่ดินพิพาท คน ละ ครึ่ง เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น เพราะ คดี นี้ มี ประเด็น ข้อพิพาท เพียง ว่า ที่ดินพิพาท เป็นทรัพย์มรดก ของ นาง จูม หรือไม่ และ คำขอ ท้ายฟ้อง ก็ ไม่ได้ ขอให้ ศาล แบ่งปัน ที่ดินพิพาท นั้น เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม และพี่น้อง ร่วม บิดา มารดา เดียว กัน อีก 6 คน รวมทั้ง นางสาว ทองดำ ซึ่ง เป็น ทายาท ทั้งหมด ได้ ร่วมกัน ครอบครอง ที่ดิน มรดก ของ นาง จูม มารดา ตลอดมา ต่อมา วันที่ 16 มีนาคม 2519 นางสาว ทองดำ ได้ นำ ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ดังกล่าว ไป ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )แล้ว ใน วันที่ 4 มีนาคม 2529 นางสาว ทองดำ ได้ ทำ พินัยกรรม ยก ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย หลังจาก นางสาว ทองดำ ถึงแก่กรรม จำเลย ได้ ไป ขอ จดทะเบียน รับมรดก ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. นั้นแต่ โจทก์ ทั้ง สาม คัดค้าน และ บอกกล่าว ให้ จำเลย ไป เพิกถอน จำเลยเพิกเฉย ขอให้ พิพากษา ว่า พินัยกรรม ของ นางสาว ทองดำ ใช้ บังคับ ไม่ได้ ที่ดิน เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาง จูม และ ให้ เพิกถอน ชื่อ นางสาว ทองดำ ออกจาก น.ส.3 ก. ดังกล่าว เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาง จูม ทายาท ของ นาง จูม คือ โจทก์ ที่ 3 และ นางสาว ทองดำ ครอบครอง ที่ดิน พิพาท ร่วมกัน โจทก์ ที่ 3 และ นางสาว ทองดำ จึง มีสิทธิ ใน ที่ดินพิพาท คน ละ ครึ่ง ดังนั้น คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ดังกล่าว จึง เป็นการ วินิจฉัย เพื่อ แสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ ที่ 3 มิได้ มีสิทธิ แต่ ผู้เดียวใน ที่ดินพิพาท อัน จะ มีอำนาจ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน ชื่อ นางสาว ทองดำ ออกจาก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินพิพาท ตาม คำขอ ท้ายฟ้องของ โจทก์ ทั้ง สาม ได้ เท่านั้น หา ได้ เป็น การ วินิจฉัย ใน เรื่อง แบ่งปันที่ดินพิพาท ดัง ที่ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา แต่อย่างใด ไม่ จึง ไม่เป็นการ วินิจฉัย นอกประเด็น ส่วน ที่ โจทก์ ทั้ง สาม ขอให้ ถอน ชื่อนางสาว ทองดำ ออกจาก น.ส.3 ก. สำหรับ ที่ดินพิพาท นั้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า โจทก์ ที่ 3 และ นางสาว ทองดำ มีสิทธิ ใน ที่ดินพิพาท คน ละ ครึ่ง กรณี จึง ไม่อาจ เพิกถอน ชื่อ นางสาว ทองดำ ออกจาก หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ ที่ดินพิพาท ได้ ย่อม มีผล เท่ากับ ยก คำขอท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สาม แต่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 เท่านั้น มิได้ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ที่ 3 ด้วยศาลฎีกา จึง เห็นสมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง นอกจาก นี้ ที่ โจทก์ ทั้ง สามขอให้ พิพากษา ว่า พินัยกรรม นางสาว ทองดำ ใช้ บังคับ ไม่ได้ นั้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาง จูม ย่อม มีผล เท่ากับ พินัยกรรม ใช้ บังคับ ได้ แต่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1พิพากษายก คำขอ เฉพาะ โจทก์ ที่ 3 เท่านั้น มิได้ พิพากษา ให้ยก คำขอท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ด้วย ศาลฎีกา จึง เห็นสมควร แก้ไขเสีย ให้ ถูกต้อง เช่นกัน
ที่ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ ที่ 3 ครอบครอง ที่ดินพิพาท แทน ทายาท ของ นาง จูม ทุกคน คดี จึง ไม่ขาดอายุความ นั้น เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง เพื่อ นำ ไป สู่ การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ฟ้องโจทก์ ที่ 3 ขาดอายุความ หรือไม่ เพราะ ศาล ต้อง วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ให้เป็น ที่ ยุติ เสีย ก่อน ว่า โจทก์ ที่ 3 ได้ เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท แทนทายาท ของ นาง จูม หรือไม่ จึง เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง นอกจาก นี้ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ยัง ฎีกา อีก ว่า นางสาว ทองดำ ไม่มี สิทธิ ใน ที่ดินพิพาท เพียง ผู้เดียว จึง ไม่อาจ ทำ พินัยกรรม ยก ที่ดิน ทั้ง แปลง ให้ แก่ จำเลยอันเป็น การกระทำ ที่ เกินกว่า สิทธิ ของ ตน ที่ พึง จะ ได้รับ ตาม กฎหมาย ใน ฐานะทายาท ของ นาง จูม ขอให้ ศาล พิพากษากลับ และ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น นั้น ก็ เป็น ฎีกา โต้แย้ง ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1ฟัง มา ว่า นางสาว ทองดำ มีสิทธิ ใน ที่ดินพิพาท เพียง ครึ่ง หนึ่ง จึง เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง เช่นเดียวกัน ปรากฏว่า คดี นี้ ราคา ทรัพย์สิน หรือจำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ห้าม มิให้คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ข้อ ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ข้างต้นจึง ต้องห้าม ฎีกา ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ที่ดินพิพาท ไม่ใช่ ทรัพย์มรดก ของ นาง จูน การ ที่ โจทก์ ที่ 3 ได้ ร่วม ทำกิน กับ นางสาว ทองดำ ก็ ไม่อาจ ก่อ ให้ เกิด สิทธิ ใด ๆ แก่ โจทก์ ที่ 3 และ ไม่อยู่ ใน ฐานะ ที่ จะ ขอ แบ่ง ที่ดินพิพาท ได้โจทก์ ทั้ง สาม ไม่เคย เข้า เกี่ยวข้อง ใน ที่ดินพิพาท ฟ้องโจทก์ ทั้ง สามขาดอายุความ มรดก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคหนึ่งเป็น ฎีกา โต้แย้ง ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ฟัง มา จึง ต้องห้ามฎีกา เช่นเดียวกัน กับ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัยส่วน ที่ จำเลย ฎีกา อีก ว่า นางสาว ทองดำ ได้ แย่ง การ ครอบครอง ที่ดิน พิพาท มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 แล้ว โจทก์ ทั้ง สาม ไม่ได้ โต้แย้ง หรือคัดค้าน ภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่ ถูก แย่ง การ ครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลย มิได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้วโดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น เป็น ฎีกา ที่ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย เช่นกัน
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ของ โจทก์ ทั้ง สาม ที่ ขอให้ เพิกถอนชื่อ นางสาว ทองดำ ออกจาก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )ทะเบียน เลขที่ 243 เลขที่ ดิน 44 ตำบล ยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอ ม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี และ ให้ยก คำขอ ของ โจทก์ ที่ 1และ ที่ 2 ที่ ขอให้ พิพากษา ว่า พินัยกรรม ของ นางสาว ทองดำ ใช้ บังคับ ไม่ได้ เสีย ด้วย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นฎีกา ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 กับ จำเลยให้ เป็น พับ ยก ฎีกา จำเลย คืน ค่าธรรมเนียมศาล ชั้นฎีกา ทั้งหมด แก่ จำเลยค่า ทนายความ ชั้นฎีกา ระหว่าง โจทก์ ทั้ง สาม กับ จำเลย ให้ เป็น พับ

Share