แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่จำเลยมิได้ระบุหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานและส่งสำเนาให้โจทก์แต่ใช้เอกสารนั้นประกอบการถามค้านโจทก์ว่า ล. เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยพยานเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงแม้จะมิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานและส่งสำเนาให้โจทก์ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังกรณีไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88,90ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้ เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่า ล. เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยย่อมนำสืบโดยอ้างหนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายให้เห็นว่าที่มีชื่อ ย. เป็นผู้ให้เช่าในสัญญาเช่าเพราะได้รับมอบอำนาจจาก ล. ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาเช่า
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ร่วม กันใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1593 พร้อม ตึกแถว เลขที่ 124/1 และ 136/3โดย รับโอน มาจาก นาง ลาวัณย์ ยอดกมล จำเลย ที่ 1 เช่า ตึกแถว เลขที่ 136/3 และ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน เช่า ตึกแถว เลขที่ 124/1กับ นาย เยี่ยม ไหลวัฒนา บิดา นาง ลาวัณย์ โดย นาง ลาวัณย์ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ เดิม ไม่ได้ รู้เห็น ยินยอม ด้วย สัญญาเช่า จึง ไม่มี ผลผูกพัน นาง ลาวัณย์ และ โจทก์ ทั้ง จำเลย ได้ ประพฤติ ปฏิบัติ ผิดสัญญา เช่า โจทก์ บอกเลิก สัญญา แล้ว ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร ขนย้ายทรัพย์สิน ออก ไป จาก ตึกแถว เลขที่ 124/1 และ 136/3 และ ให้ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 12,000 บาท และ ให้ จำเลย ที่ 1ใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 12,000 บาท กับ ค่าเสียหาย เป็น รายเดือนอีก เดือน ละ 8,000 บาท ใน ตึกแถว แต่ละ ห้อง นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร จะ ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จาก ตึกแถว ที่ เช่า
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สาม ไม่ได้ เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ที่ ฟ้อง จำเลย ได้ เช่า ตึกแถวตาม ฟ้อง มี กำหนด ระยะเวลา 30 ปี จาก นาย เยี่ยม ซึ่ง ได้รับ มอบอำนาจ จาก เจ้าของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่เคย ประพฤติ ผิดสัญญา เช่า ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ทั้ง สาม มี ว่า กรณี ที่ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ ระบุ หนังสือมอบอำนาจเอกสาร หมาย ล. 1 เป็น พยาน และ มิได้ ส่ง สำเนา เอกสาร ดังกล่าว ให้ โจทก์ทั้ง สาม นั้น ศาล จะ รับฟัง เอกสาร ดังกล่าว เป็น พยาน ได้ หรือไม่โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มิได้ ระบุ เอกสาร หมาย ล. 1 เป็น พยานและ ไม่ส่ง สำเนา เอกสาร ดังกล่าว ให้ โจทก์ ทั้ง สาม ศาล จะ รับฟังเอกสาร ดังกล่าว เป็น พยาน ไม่ได้ เห็นว่า จำเลย ทั้ง สอง ใช้ เอกสารประกอบ ใน การ ถาม ค้าน ที่ โจทก์ ที่ 1 เบิกความ ว่า นาง ลาวัณย์ ยอดกมล เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ตึกแถว ที่ ให้ เช่า ไม่ได้ มอบอำนาจ ให้ นาย เยี่ยม ไหลวัฒนา บิดา ของ นาง ลาวัณย์ ทำ สัญญาเช่า ตึกแถว พิพาท กับ จำเลย ทั้ง สอง ดังนั้น พยานเอกสาร ดังกล่าว มิใช่ เป็น พยานหลักฐานสนับสนุน ข้ออ้าง หรือ ข้อเถียง ของ จำเลย ทั้ง สอง ซึ่ง จะ ต้อง ดำเนินการตาม หลักเกณฑ์ และ ขั้นตอน ของ กฎหมาย แม้ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ ระบุ เอกสารดังกล่าว ใน บัญชีระบุพยาน และ ส่ง สำเนา ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม ก็ ไม่ต้องห้าม มิให้ รับฟัง แต่อย่างใด กรณี ดังกล่าว ไม่อยู่ ใน บังคับ แห่งบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 และ 90ดัง ที่ โจทก์ ทั้ง สาม กล่าวอ้าง ศาล จึง รับฟัง เอกสาร หมาย ล. 1เป็น พยาน ได้
ฎีกา ข้อ ต่อไป ที่ ว่า กรณี สัญญาเช่า ระบุ ว่า นาย เยี่ยม ไหลวัฒนา เป็น ผู้ให้เช่า ตึกแถว พิพาท จำเลย ทั้ง สอง จะ นำสืบ ว่า นาย เยี่ยม ไหลวัฒนา เป็น เพียง ผู้รับมอบอำนาจ นั้น ถือว่า เป็น การ นำสืบ เปลี่ยนแปลง แก้ไข สัญญาเช่า หรือไม่ โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ว่าเมื่อ สัญญาเช่า ใน เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 ระบุ ว่า นาย เยี่ยม ไหลวัฒนา เป็น ผู้ให้เช่า แล้ว จำเลย ทั้ง สอง จะ นำสืบ ว่า นาย เยี่ยม ไหลวัฒนา ได้รับ อำนาจ จาก นาง ลาวัณย์ ยอดกมล ผู้เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ตึกแถว พิพาท ตาม หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย ล. 1 หาได้ไม่เพราะ เป็น การ นำสืบ เปลี่ยนแปลง แก้ไข สัญญาเช่า เห็นว่า เมื่อ จำเลยทั้ง สอง ให้การ ต่อสู้ ไว้ ว่า เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ตึกแถว พิพาท คือนาง ลาวัณย์ ยอดกมล มอบอำนาจ ให้ นาย เยี่ยม ไหลวัฒนา ทำ สัญญาเช่า กับ จำเลย ทั้ง สอง แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ย่อม นำสืบ โดย อ้าง หนังสือมอบอำนาจเอกสาร หมาย ล. 1 เพื่อ อธิบาย ให้ เห็นว่า ที่ มี ชื่อ นาย เยี่ยม ไหลวัฒนา เป็น ผู้ให้เช่า ใน สัญญาเช่า เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 นั้น เพราะ นาง ลาวัณย์ ยอดกมล ผู้เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ตึกแถว มอบอำนาจ ให้ ทำ สัญญาเช่า ได้ การ นำสืบ ของ จำเลย ทั้ง สอง ดังกล่าวจึง ไม่ใช่ เป็น การ นำสืบ เปลี่ยนแปลง แก้ไข สัญญาเช่า ดัง ที่ โจทก์ ทั้ง สามกล่าวอ้าง แต่อย่างใด ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สามชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน