แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เงินค่าปรับที่คู่กรณีกำหนดกันไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคแรกแม้มีข้อตกลงกันไว้แต่ก็มิได้กำหนดบังคับไว้เด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้นถ้าสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ของ จำเลย ที่ 1 ให้ แก่ โจทก์ สัญญา ระบุ ว่า หาก จำเลย ที่ 2ผิดสัญญา ไม่ไป โอน กรรมสิทธิ์ โจทก์ มีอำนาจ ฟ้องบังคับ ให้ เป็น ไปตาม สัญญา และ ยินยอม ชดใช้ ค่าปรับ ให้ โจทก์ อีก เป็น จำนวน 2 เท่าของ ราคา ที่ดิน การ ทำ สัญญา ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 ได้รับ เงิน ค่าที่ดินจำนวน 1,000,000 บาท ตาม สัญญาจะซื้อขาย ไป จาก จำเลย ที่ 2 แล้วต่อมา โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ไป รับ เงิน ค่าที่ดิน งวด ที่ 2 จำเลยทั้ง สอง ผิดสัญญา ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ โจทก์ และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ค่าปรับ ด้วย
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่เคย ได้รับ เงิน ค่าที่ดินจาก จำเลย ที่ 2 โจทก์ ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 มอบ เงิน ค่าที่ดิน ให้ จำเลยที่ 1 แล้ว การ ผิดสัญญา เป็น การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 โจทก์ เสียหายเพียง เท่าที่ ไม่ได้ รับ ผลประโยชน์ จาก เงิน 1,000,000 บาท เท่านั้นขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ใช้ เงิน ค่าปรับ 400,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 ชดใช้ เงินค่าปรับ จำนวน 1,000,000 บาท ให้ แก่ โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ มี ว่าโจทก์ ชอบ ที่ จะ ได้ เบี้ยปรับ จำนวน เท่าใด เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 2ไม่สามารถ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ได้ ตามสัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมาย จ. 12 ข้อ 5 ถือว่า จำเลย ที่ 2เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 2 ปฎิบัติตามสัญญา และ เรียก เอา เบี้ยปรับ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 380 วรรคสอง แต่ ที่ โจทก์ ขอให้ จำเลย ที่ 2 ชดใช้ เงิน ค่าปรับตาม สัญญา เป็น เงิน สอง เท่า ของ ราคา ที่ดิน ที่ จะซื้อขาย เป็น เงิน35,800,000 บาท นั้น เห็นว่า เงิน ค่าปรับ ที่ คู่กรณี กำหนด ไว้ ถือได้ว่าเป็น เบี้ยปรับ อย่างหนึ่ง ซึ่ง ต้อง ปรับ ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก แม้ มี ข้อตกลง กัน ไว้ แต่ ก็ มิได้ กำหนด บังคับ ไว้เด็ดขาด ว่า จะ ต้อง ให้ เป็น ไป ตาม นั้น ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า หาก โจทก์เข้า ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท โดย ทำ ทาวน์เฮาส์ขาย จะ ได้ ผล กำไรประมาณ 35,000,000 บาท นั้น ปรากฏว่า โครงการ ของ โจทก์ ดังกล่าวคง มี แต่ คำเบิกความ ของ โจทก์ ลอย ๆ ว่า ทา วน์เฮาส์ที่ จะ สร้างใน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2 นั้น กำลัง อยู่ ใน ระหว่างจัดทำ แบบแปลน รวมทั้ง อยู่ ใน ระหว่าง ติดต่อ ขอ เงิน ลงทุน จากสถาบันการเงิน ไม่มี พยานหลักฐาน อื่น มา สนับสนุน และ โจทก์ จะ ได้ กำไรจาก การ จัดสรร ขาย ทา วน์เฮาส์ ดังกล่าว มาก น้อย เพียงใด เป็น เรื่องใน อนาคต ยัง ไม่แน่ นอน เมื่อ พิเคราะห์ ถึง ทาง ได้เสีย ของ โจทก์ตาม สัญญา ดังกล่าว เห็นว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด เบี้ยปรับ ให้ จำเลย ที่ 2รับผิด ต่อ โจทก์ เป็น เงิน 1,000,000 บาท เป็น จำนวน ที่ เหมาะสม แล้วที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย
พิพากษายืน